การนำมาตรการเชิงรุกในการป้องกันและปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิตไปปฏิบัติ
คำสำคัญ:
การนำไปปฏิบัติ, มาตรการเชิงรุก, การป้องกันและปราบปราม, กฎหมายสรรพสามิตบทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของการนำมาตรการเชิงรุกในการป้องกันและปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิตไปปฏิบัติ 2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการนำมาตรการเชิงรุกในการป้องกันและปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิตไปปฏิบัติ และ 3) ศึกษาแนวทางการปรับปรุงการนำมาตรการเชิงรุกในการป้องกันและปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิตไปปฏิบัติ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่กลุ่มผู้บริหารของกรมสรรพสามิต กลุ่มส่วนป้องกันและปราบปราม และกลุ่มประชาชนทั่วไป จำนวน 25 คนโดยการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยการสรุปพรรณนาความ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ปัญหาและอุปสรรคของการนำมาตรการเชิงรุกในการป้องกันและปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิตไปปฏิบัติ ได้แก่ การปรับโครงสร้างอัตราภาษีสูงขึ้นทำให้ประชาชนไม่ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามกฎหมาย โครงสร้างขององค์กรและกฎระเบียบของทางราชการมีช่องโหว่การขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับกฎหมายสรรพสามิตบุคลากรกระทำการทุจริตหรือประพฤติมิชอบ ขาดความร่วมมือและสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องผู้ประกอบการไม่ให้ความร่วมมือ การแสดงพฤติกรรมด่าท้อ ขัดขวาง การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่สรรพสามิตการถูกกลั่นแกล้งกล่าวหา ร้องเรียน บุคลากรที่ปฏิบัติงานขาดองค์ความรู้ และการประชาสัมพันธ์ด้านข้อมูลข่าวสารยังไม่ทั่วถึง 2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการนำมาตรการเชิงรุกในการป้องกันและปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิตไปปฏิบัติได้แก่ นโยบาย ทรัพยากรในการปฏิบัติงาน บุคลากรผู้ปฏิบัติงานหน่วยงานที่ปฏิบัติ ความร่วมมือของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สภาพแวดล้อม ความร่วมมือจากประชาชน การขัดขวางของกลุ่มผลประโยชน์ และ การใช้ช่องโหว่ทางกฎหมาย และ 3) แนวทางการปรับปรุงการนำมาตรการเชิงรุกในการป้องกันและปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิตไปปฏิบัติ ได้แก่ ควรปรับปรุงการทำงานอย่างต่อเนื่อง ควรจัดสรรงบประมาณ เครื่องมือ เจ้าหน้าที่ให้เพียงพอ ควรพัฒนาบุคลากรทุกระดับให้มีความรู้ สร้างความร่วมมือหรือประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภายในและภายนอกสร้างแรงจูงใจในการทำงานของบุคลากร และประชาสัมพันธ์การกระทำผิดกฎหมายแก่ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
References
กรมสรรพสามิต. (2563). โครงการพัฒนาระบบปราบปรามสินค้าผิดกฎหมายผ่านเครือข่ายออนไลน์ของศูนย์ปราบปรามสินค้าออนไลน์. กรุงเทพฯ: กรมสรรพสามิต.
เจนจิรา ศิลาโคตร และคณะ. (2561). อัตราภาษีสรรพสามิตที่เหมาะสมของบุหรี่ซิกาแรตสําหรับประเทศไทย. วารสารสุโขทัยธรรมาธิราช, 31(1), 108-125.
ณัฐกร อุเทนสุต. (2564). มาตรการเชิงรุกในการป้องกันและปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายสรรพสามิตตามพระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: กรมสรรพสามิต.
ธนพัต อุทยานกร. (2562). ประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีสรรพสามิต: กรณีศึกษาสำนักงานสรรพสามิตพื้นที่นครนายก. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ธีระพล เจริญสุข. (2564). การพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรกรมสรรพสามิตในเขตกรุงเทพมหานคร. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา.
บุนโฮม สุวันนะลาด. (2562). การจัดเก็บรายได้ของรัฐแผนกสรรพากรในภาคกลางสาธารณรัฐ ประชาธิปไตยประชาชนลาว. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 6(4), 661-669.
ปภังกรนิษฐ์ วงษ์ธัญญกรณ์ พระเทพปริยัติเมธี และอมลวรรณ อบสิน. (2563). การพัฒนาประสิทธิภาพการจัดเก็บภาษีสรรพสามิตตามหลักอิทธิบาท 4 ของ สํานักงานสรรพสามิตพื้นที่พิจิตร สาขาบางมูลนาก จังหวัดพิจิตร. วารสารวิจัยวิชาการ, 3(1), 85-96.
เรืองวิทย์ เกษสุวรรณ. (2557). การพัฒนาองค์การ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์บพิธการพิมพ์.
ศศิน พริ้งพงษ์. (2565). ปัจจัยที่ทำให้(ไม่)อยากเลี่ยงภาษี. สืบค้นเมื่อ 21 มิถุนายน 2565, จาก http://www.fpojournal.com/tax-avoidance-problem/
สุประวีณ์ มั่งมีทรัพย์. (2562). การบริหารงานด้านสืบสวนและปราบปรามผู้ลักลอบสินค้าหนีศุลกากร ของส่วนสืบสวนปราบปราม 2 กองสืบสวนและปราบปราม กรมศุลกากร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2560). พระราชบัญญัติภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2560. กรุงเทพฯ: สํานักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
Bardach, E. (1980). Implementation Studies and the Study of Implements, Presented at the 1980 American Policy Science Association meeting, University of California, Berkeley.
Organization for Economic Co-operation and Development (OECD). (2011). Revenue Statistics 19652010: 2011. Paris: OECD Publishing.
Van Meter, D. S. and Van Horn, C. E. (1975). The Policy Implementation Process: A Conceptual Framework. Administration & Society, 6(4), 477.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.