การบริหารจัดการวัฒนธรรมในการส่งเสริมประเพณีสงกรานต์ของกลุ่มชนพหุวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • พระครูปลัดสาธุวัฒน์ มหาวิทยาลัยปทุมธานี

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการวัฒนธรรม,, การส่งเสริมประเพณีสงกรานต์, , กลุ่มชนพหุวัฒนธรรม

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพความเป็นมา การเปลี่ยนแปลง และนำเสนอแนวทางการบริหารจัดการวัฒนธรรมในการส่งเสริมประเพณีสงกรานต์ของกลุ่มชนพหุวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดนครปฐม เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยมีผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ คือ พระสังฆาธิการ ข้าราชการ ผู้นำท้องถิ่น และประชาชน จำนวน 15 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบสนทนากลุ่มเฉพาะ การสังเกต และเครื่องมือการบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยการตีความหมายเชิงพรรณนา

ผลการวิจัย พบว่า (1) ประเพณีสงกรานต์เริ่มจากวัฒนธรรมชาวมอญซึ่งนับถือศาสนาพุทธสะท้อนออกมาในรูปของวิถีชีวิต โดยจัดขึ้นตามความเชื่อทางศาสนาและความเชื่อการกตัญญูต่อบุพพการี ซึ่งศาสนาพุทธเกี่ยวข้องกับการเป็นที่มาของประเพณีต่าง ๆ ในวันสงกรานต์ ศาสนาคริสต์และศาสนาอิสลามสามารถร่วมกิจกรรมแต่ไม่ได้ร่วมพิธีการทางศาสนา (2) งานประเพณีสงกรานต์เปลี่ยนไปภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์ ซึ่งในปัจจุบันนักท่องเที่ยวคิดถึงความสนุกสนานที่ได้มาเล่นน้ำสงกรานต์ มีการเล่นน้ำที่เลยเถิด มีการกระทําอนาจาร มีการปล่อยปละละเลยเรื่องจําหน่ายสุรา มีการทะเลาะวิวาท และปัญหาการจราจร วิธีการเล่นก็เปลี่ยนไปภายใต้ปฏิสัมพันธ์ของความหลากหลายทางวัฒนธรรม (3) การบริหารจัดการควรใช้จุดเด่นซึ่งเป็นเอกลักษณ์ประจำท้องถิ่นเป็นสื่อในการประชาสัมพันธ์ประเพณีอันดีงาม สอดแทรกความรู้และคงเอกลักษณ์ดั้งเดิม องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเป็นหลักในการสนับสนุนและจัดหางบประมาณ ปลูกฝังเยาวชนให้รู้และภูมิใจในประเพณี จัดแสดงกิจกรรมที่เป็นต้นแบบอันแท้จริงให้นักท่องเที่ยวได้รับชม และประชาชนเข้ามามีบทบาทสําคัญและมีการทํางานร่วมกันโดยการจัดให้มีการสอนในหลักสูตรท้องถิ่นและโรงเรียน

References

Office of the National Culture Commission. (2007). A Decade of Sustaining Culture for Development. Bangkok.

Pichai Sukwoon. (2003). Participation in Preserving Local Arts and Culture of Members of Tambon Administrative Organizations and People in Surat Thani Province. Master of Education Thesis Department of Art Education. Graduate School: Srinakharinwirot University.

Srisak Walliphodom. (2011). Social-Cultural Development in Thailand. Bangkok: Sutha Printing.

Sudjai Kaewwaew. (2008). A Comparative Study of Songkran Festival of Mon Community, Chet Riew Subdistrict, Ban Phaeo District. Samut Sakhon Province with Mon community, Ko Kred Subdistrict Pak Kret District Nonthaburi Province. Master of Arts Thesis Thai case study branch. Graduate School: Sukhothai Thammathirat Open University.

Supaporn Nakabanlang and Manaruthai Chaiwiset. (2003). Adaptation and cultural management of communities surrounding the temple. for the existence of Lanna culture. Research report. Chiang Mai: Faculty of Social Sciences, Chiang Mai University.

Suwilai Premsrirat (2005). Strategies for collaborative cultural practices with communities. Bangkok: Ek Phimthai.

Thawat Punnotok. Supporting Lectures on Thai Studies: Mekong Basin Local History Course (No. 1). Maha Sarakham: Faculty of Humanities and Social Sciences. Mahasarakham University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-04-2023

How to Cite

พระครูปลัดสาธุวัฒน์. (2023). การบริหารจัดการวัฒนธรรมในการส่งเสริมประเพณีสงกรานต์ของกลุ่มชนพหุวัฒนธรรมในพื้นที่จังหวัดนครปฐม. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 8(2), 273–284. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/257035

ฉบับ

บท

บทความวิจัย