การบริหารจัดการชุมชนสัมพันธ์ของวัดศรีษะทอง จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • พระมหากาเหว่า แป้นคุ้มญาติ วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, ชุมชนสัมพันธ์

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีเป็นการศึกษาวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) ใช้แนวคิดเกี่ยวกับบทบาทและความต้องการของชุมชน กลไกความสัมพันธ์วัดและชุมชน และแนวคิดเกี่ยวกับการบริหารจัดการชุมชนสัมพันธ์เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ บ้านศรีษะทอง ตำบลศรีษะทอง อำเภอนครชัยศรี จังหวัดนครปฐม ผู้ให้ข้อมูลที่สำคัญ คือ พระสังฆาธิการและพระสงฆ์นักพัฒนาและฝ่ายรัฐและประชาชน จำนวน 15 รูป/คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง แบบสนทนากลุ่มเฉพาะ การสังเกต และเครื่องมือการบันทึก วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า

          (1) บทบาทและความต้องการของชุมชนในการบริหารจัดการชุมชนสัมพันธ์ ความต้องการด้านปากท้องของชาวบ้านส่งเสริมให้มีการจัดทำบัญชีครัวเรือน ส่งเสริมการก่อตั้งกลุ่มอาชีพกลุ่มสัจจะออมทรัพย์หรือสหกรณ์ชุมชน และสร้างเครือข่ายชุมชนภายนอกแล้วนำความรู้และประสบการณ์จากภายนอกมาปรับใช้กับชุมชนของตนเอง ความต้องการด้านอาชีพศึกษาและวิเคราะห์ศักยภาพของชุมชนที่เอื้อต่อการประกอบอาชีพของประชาชน กำหนดกรอบในการรวมกลุ่มอาชีพอย่างเป็นระบบโดยเน้นการมีส่วนร่วมของสมาชิกกลุ่ม การแลกเปลี่ยนความรู้ความสามารถและประสบการณ์ ความต้องการด้านรายได้ประชาชนส่วนใหญ่ไม่มีเงินออมหรือมีเงินออมน้อยและปัญหาลูกนี้ ความต้องการมีแหล่งสร้างรายได้คือการจัดการท่องเที่ยวชุมชน ตลาดนัดชุมชน ตลาดชุมชนหรือร้านค้าชุมชน และศูนย์แสดงสินค้าชุมชนหรือ OTOP

          (2) ปัจจัยที่เสริมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างวัดและชุมชนในการบริหารจัดการชุมชนสัมพันธ์ ได้แก่งานพิธีกรรมทางศาสนา แบ่งออกได้ 3 ด้าน คือ 1) ด้านศาสนา 2) ไสยศาสตร์ 3) โหราศาสตร์ งานประเพณีประจำปี โดยเทศกาลงานบุญหลัก ๆ ได้แก่ เทศกาลสงกรานต์ เทศกาลเข้าพรรษา เทศกาลสารท เทศกาลออกพรรษา งานพัฒนาวัดและชุมชน การให้บริการที่ส่งเสริมและพัฒนาการเรียนรู้สารสนเทศให้แก่ประชาชน และการดำเนินการด้านการศาสน งานสาธารณะสงเคราะห์ พัฒนารูปแบบการสงเคราะห์ที่เน้นจิตใจแนวหนึ่ง และการพัฒนารูปแบบงานการสงเคราะห์ที่เน้นด้านวัตถุอีกแนวทางหนึ่ง

          (3) การบริหารจัดการชุมชนสัมพันธ์ของวัดศรีษะทอง จังหวัดนครปฐม ความสัมพันธ์ระดับเครือข่าย สามารถแบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ (1) ปัจเจกบุคคล (2) สถาบันภายในชุมชน (3) เครือข่ายนอกชุมชน ความสัมพันธ์เชิงโครงสร้างชุมชน การทำกิจกรรมใดพระสงฆ์ ครูอาจารย์ และผู้นำชุมชน เป็นผู้นำในการตัดสินและควบคุมการปฏิบัติงาน ในขณะที่ชาวบ้านจะเป็นผู้ลงความเห็นในลักษณะผู้ตาม ความสัมพันธ์ตามช่วงเวลาการเปลี่ยนแปลง มีสิ่งที่น่าสนใจอยู่ 3 ปรากฏการณ์ ได้แก่ วิถีชีวิตของเกษตรกร การเปลี่ยนแปลงของวัด และการขยายและเคลื่อนย้ายประชากร ความยั่งยืนทางความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับชุมชน ถือเป็นสิ่งหนึ่งที่สำคัญมากต่อการทำให้ความสัมพันธ์ดํารงอยู่สืบไปข้างหน้า โดยมี 2 ปัจจัย ได้แก่ ความเชื่อที่ชุมชนแห่งนี้ยึดถือร่วมกัน อีกทั้งยังมีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ประจำชุมชนที่ถือเป็นปัจจัยหนึ่งที่สามารถสร้างความสามัคคีต่อชาวบ้านได้เป็นอย่างมาก และลักษณะนิสัยชุมชนซึ่งการมีส่วนร่วมนี้ชาวบ้านมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่กันอย่างอบอุ่น แบ่งปัน ถ้อยที่ถ้อยอาศัยกัน ซึ่งพฤติกรรมแบบนี้จะเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยทำให้ความสัมพันธ์ในชุมชนเกิดความยั่งยืนได้ในระยะยาว

References

พระมหาทนงชัย บูรณพิสุทธิ. 2545. บทบาทของวัดกับชุมชนเมืองในเขตบางรัก กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยมหิดล.
พระมหาพีระพงษ์ พยัคกาฬ. 2549. ความสัมพันธ์ระหว่างวัดกับชุมชนในการจัดการการเทศน์มหาชาติของล้านนา. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
พระมหาสุระพงษ์ สุรวํโส. 2555. ภาวะผ้นําของพระสงฆ์ในการบริหารการพัฒนาชุมชน กรณีศึกษาพระครูโพธิวีรคุณวัดโพธิการาม ตําบลโพนสูง อําเภอปทุมรัตต์ จังหวัดร้อยเอ็ด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
พิชาย รัตนดิลก ณ ภูเก็ต. (2552). องค์การและการบริหารจัดการ. นนทบุรี: ธิงค์บียินด์.
ภัททิยา ยิมเรวัต. (2540). ประวัติศาสตร์สิบสองจุไท. กรุงเทพมหานคร: สํานักพิมพ์สร้างสรรค์.
สถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา. (2539). ราหูในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: ไอเดียนสโตร์.
อมรา พงศาพิชญ์. (2533). วัฒนธรรม ศาสนา และชาติพันธ์ : วิเคราะห์สังคมไทยแนวมานุษยวิทยา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
เอกรินทร์ พึ่งประชา. (2545). พระราหูประเพณีประดิษฐ์แห่งวัดศรีษะทอง. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาสังคมวิทยาและมานุษวิทยา. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2022

ฉบับ

บท

บทความวิจัย