การปรับตัวของผู้สูงอายุภายใต้สถานการณ์โควิด -19

ผู้แต่ง

  • เพ็ชรัตน์ ไสยสมบัติ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • ดลฤดี สุวรรณคีรี

คำสำคัญ:

การปรับตัว, ผู้สูงอายุ, โควิด-19

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาเปรียบเทียบวิธีการปรับตัวของผู้สูงอายุภายใต้สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยและต่างประเทศ และศึกษาปัญหาอุปสรรคของผู้สูงอายุในการปรับตัวภายใต้สถานการณ์ดังกล่าวในประเทศไทย เป็นการวิจัยแบบผสาน โดยการวิจัยเชิงปริมาณเป็นการเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามและวิเคราะห์ด้วยการถดถอยโลจิสติกทวิภาคเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างการปรับตัวกับปัจจัยส่วนบุคคล ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลผ่านการวิจัยเอกสารเพื่อทำความเข้าใจการปรับตัวของผู้สูงอายุในต่างประเทศ และสัมภาษณ์ผู้สูงอายุในประเทศจำนวน 5 คน เพื่อดูการปรับตัวในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรค
ผลการศึกษาพบว่า ผู้สูงอายุร้อยละ 99 รับทราบถึงการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ครั้งล่าสุด (ระลอกที่ 3 จากสื่อโทรทัศน์และข้อมูลข่าวสารรอบตัว อาจกล่าวได้ว่าการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารผ่านสื่อโทรทัศน์อาจเป็นช่องทางการสื่อสารและการกระจายข้อมูลที่ดีและเหมาะสมให้กับผู้สูงอายุ และเมื่อวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยต่าง ๆ กับการปรับตัวพบว่า อายุ ระดับการศึกษา และผลกระทบจากมาตรการมีผลต่อการปรับตัวของผู้สูงอายุอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ในเชิงคุณภาพ จากการศึกษาเอกสารพบว่าการปรับตัวของผู้สูงอายุในประเทศญี่ปุ่น เกาหลี สิงคโปร์ เวียดนาม และไทย มีความแตกต่างกันตามบริบททางสังคม วัฒนธรรม การเมือง เศรษฐกิจ และเทคโนโลยี โดยทุกประเทศมีการนำเทคโนโลยีมาเป็นสื่อกลางในการลดช่องทางในการติดต่อและลดการแพร่กระจายของเชื้อ และมีนโยบายเยียวยาด้านเศรษฐกิจเพื่อชดเชยรายได้และการดูแลสุขภาพ สำหรับข้อมูลจากการสัมภาษณ์พบว่า ผู้สูงอายุในไทยประสบปัญหาด้านการทำงานและรายได้ที่สูญเสีย ซึ่งต้องการให้ภาครัฐช่วยเหลือด้านการทำงานและเงินสนับสนุน

References

Channel news asia. (2020). The Big Read: Digitally estranged, seniors struggle with sense of

displacement in pandemic-hit offline world. Retrieved August 29, 2021, from

https://www.channelnewsasia.com/singapore/big-read-covid-19-pandemic-senior-

citizens-935416

Help Age International. (2020). The impact of COVID-19 on older persons. Retrieved August

, 2021, from https://ageingasia.org/wp-content/uploads/2020/08/Japan-Analytical-

Brief-July-2020.docx

International Labour Organization (ILO). (2020). COVID-19 employment and labour market impact in Thailand. Retrieved August 25, 2021, from https://www.ilo.org/wcmsp5

/groups/public/---asia/---ro-bangkok/documents/briefingnote/wcms_747944.pdf

Ministry Of Health Singapore. (2021). UPDATE ON LOCAL COVID-19 SITUATION AND

VACCINATION PROGRESS (7 SEP 2021). Retrieved August 30, 2021, from

https://www.moh.gov.sg/news-highlights/details/update-on-local-covid-19-situation- and-vaccination-progress-(7-sep)

Phuangprayong. (2021). THE SITUATION OF IMPACT, SUPPORT NEEDS AND ADAPTATION OF WORKING AGE POPULATION DURING THE COVID-19 PANDEMIC: EMPIRICAL STUDY IN BANGKOK. Suthiparithat Journal, 35(1), 266-286. Retrieved August 29, 2021, from https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/249546

Sanghoon, L. (2020). COVID-19: Smart Management System (SMS) in the Republic of Korea.

Retrieved August 29, 2021, from https://events.development.asia/system/files/

materials/2020/04/202004-covid-19-smart-management-system-sms-republic-korea.pdf

Shi, C., Guo, Z., Luo, C., Lei, C., & Li, P. (2020). The Psychological Impact and Associated Factors of COVID-19 on the General Public in Hunan, China. Risk Manag Healthc Policy, 13, 3187-3199. doi:10.2147/rmhp.S280289

Somchai Jitsuchon. (2021). The social impact of the COVID-19 outbreak New ripples and measures that should be taken. TDRI. Retrieved from https://tdri.or.th/2021/01/impact- of-new-covid-19-wave/

Suratana, S., Tamornpark, R., Apidechkul, T., Srichan, P., Mulikaburt, T., Wongnuch, P., . . . Udplong, A. (2021). Impacts of and survival adaptations to the COVID-19 pandemic among the hill tribe population of northern Thailand: A qualitative study. PLoS One, 16(6), e0252326. doi:10.1371/journal.pone.0252326

TDRI. (2021). The 3rd wave of pandemic, situation, impact, and policy solution. NRCT-TDRI. Retrieved from https://tdri.or.th/2021/05/covid-119/

The Asia Foundation. (2020). Enduring the pandemic surveys of the impact of covid-19 on the livelihoods of Thai people. Retrieved August 30, 2021, from https://asiafoundation.org/wp-content/uploads/2020/09/Enduring-the-Pandemic-Covid-19-Impact-on-Thailand-Livlihoods-Sept-2020.pdf

Terziev, V. (2018). BUILDING A MODEL OF SOCIAL AND PSHYCHOLOGICAL ADAPTATION.

Tung, L. T. (2020). Social Responses for Older People in COVID-19 Pandemic: Experience from Vietnam. J Gerontol Soc Work, 63(6-7), 682-687. doi:10.1080/01634372.2020.1773596

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-09-2022

How to Cite

ไสยสมบัติ เ. ., & สุวรรณคีรี ด. . (2022). การปรับตัวของผู้สูงอายุภายใต้สถานการณ์โควิด -19. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 7(3), 100–114. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/256999

ฉบับ

บท

บทความวิจัย