การสร้างความปรองดองระหว่างวัดกับชุมชนในพื้นที่อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม
คำสำคัญ:
การสร้างความปรองดอง, , วัดกับชุมชนบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีเป็นการศึกษาวิจัยแบบผสานวิธี ใช้แนวคิดเกี่ยวกับการสร้างความปรองดองระหว่างวัดกับชุมชน และแนวคิดเกี่ยวกับรูปแบบความสัมพันธ์ระหว่างวัดและชุมชนเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในอำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม จำนวน 401 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบแบ่งชั้นอย่างเป็นสัดส่วน โดยเบื้องต้นทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง โดยการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จากนั้นจึงทำการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างเป็นระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) แบบสัมภาษณ์ 2) แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า
ความปรองดองในพื้นที่อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม พบว่า มีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.10 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า หลักความถูกต้อง มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.15 ในขณะที่หลักความเหมาะสม มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.06
การพัฒนาความปรองดองระหว่างวัดกับชุมชนในพื้นที่อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม พบว่า มีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.11 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการตัดสินใจ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.15 ในขณะที่การด้านการปฏิบัติการ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.04
การสร้างความปรองดองระหว่างวัดกับชุมชนในพื้นที่อำเภอดอนตูม จังหวัดนครปฐม พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นในภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.04 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความสัมพันธ์เชิงโครงสร้าง มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.12 ในขณะที่ระดับเครือข่ายทางความสัมพันธ์ มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.99
References
Jumniannoi Singharak. (2012). "Study the unity in Theravada Buddhism". Research report. Faculty of Humanities and Social Sciences: Kamphaeng Phet Rajabhat University.
Phra Maha Thanongchai Buranasutthi. (2002). The role of temples and urban communities in Bang Rak District Bangkok. Master's thesis Mahidol University
Pichai Rattanadilok Na Phuket. (2009). Organization and Management. Nonthaburi: Think Beyin.
Boranmoon, P. (2013). A Model of Northeastern Thais’ unity Reinforcement through Sanghavatthu (Fourfold Principle of Kindly Treatmen) 4. The Research report of the Research Institute in the rich. Study and develop National Research University Office of the Higher Education Commission. The Institute of Wisdom: Mahamakut Buddhist University.
Cohen, John M. and Uphoff, Norman T. (1977). Rural Participation:Concepts and Measures for Project Design, Implementation and Evaluation. In Rural Development Monograph No.2 The Rural Development Committee Center for International Studies. Cornell University, January.
Masrungson, P. (2015). Family Violence Management in Integrative Buddhist Perspective. Journal of MCU Peace Studies, 4(1), 221-242.
Phra Brahmagunabhorn (P. A. Payutto). (2009). Buddhadhamma. (15th ed). Bangkok: Sahadhammika.
Phramaha Kritsada Sobhanasilo. (2016). Reconciliation Building By Five Precepts Observing Village Project In Ayutthaya Province. Journal of MCU Social Science Review, 5(3), 45-62.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2023 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.