รูปแบบการจัดทำบัญชีของวัดพระอารามหลวงในเขตพื้นที่จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • พระครูปฐมสุตากร วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี

คำสำคัญ:

การจัดทำบัญชี, วัดพระอารามหลวง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีเป็นการศึกษาวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แนวคิดเกี่ยวกับหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุ และแนวคิดเกี่ยวกับระดับพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่าง คือ พระภิกษุสงฆ์วัดพระอารามหลวงในเขตพื้นที่จังหวัดนครปฐม จำนวน 231 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบแบ่งชั้นอย่างเป็นสัดส่วน (Proportional Stratified Random Sampling) โดยเบื้องต้นทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง โดยการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling)  จากนั้นจึงทำการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างเป็นระบบ (Systematic Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) แบบสัมภาษณ์ 2) แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า

          การจัดทำบัญชีและรายงานทางบัญชีของวัดพระอารามหลวงในเขตพื้นที่จังหวัดนครปฐม พบว่า ส่วนใหญ่มีหลักเกณฑ์ในการจัดทำบัญชีของพระอารามหลวงคือปฏิบัติตามกฎระเบียบของวัด คิดเป็นร้อยละ 58.0 ผู้ที่จัดทำบัญชีและออกรายงานของพระอารามหลวงคือพระสงฆ์ คิดเป็นร้อยละ 77.5 ผู้ตรวจสอบความถูกต้องของบัญชีภายในพระอารามหลวงคือเจ้าอาวาส คิดเป็นร้อยละ 85.7 และไม่มีมีการตรวจสอบบัญชีของพระอารามหลวงจากหน่วยงานภายนอก คิดเป็นร้อยละ 93.9

ระบบการควบคุมภายในการจัดทำบัญชีของวัดพระอารามหลวงในเขตพื้นที่จังหวัดนครปฐม พบว่า มีความคิดเห็นในภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.92 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การได้มาซึ่งรายได้ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.16 ในขณะที่การกำกับดูแลทรัพย์สิน มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.49

การพัฒนาระบบการจัดทำบัญชีของวัดพระอารามหลวงในเขตพื้นที่จังหวัดนครปฐม พบว่า ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.07 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า การบริหารและการควบคุม มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.10 ในขณะที่การจัดเก็บเอกสาร มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.04

References

MGR Online. (2560). เปิดตัวอย่าง “รูปแบบบัญชีวัด” แบบใหม่ฉบับ ก.พ.ร.หลัง มส.ไฟเขียว 6 บัญชี “เงินรายวัน-เงินฝาก-รายรับ-รายจ่าย-งบประจำปี-รายงานประจำปี”. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://mgronline.com/politics/detail/9600000103668.
เดลินิวส์. (2562). พศ.ขอ ก.พ.ร.ขยายเวลาวัดผลบัญชีวัดปี 64-65. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : https://www.dailynews.co.th/education/678541.
กฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ. 2511) ออกตามความในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505. (2553). กฎหมายสงฆ์ในพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ปรับปรุง พ.ศ. 2547. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์สูตรไพศาล.
กนก แสนประเสริฐ และคณะผู้วิจัย. (2555). การจัดการดูแลทรัพย์สินและศาสนสมบัติของวัด. รายงานวิจัยสัมมนาเชิงปฏิบัติการเกี่ยวกับการจัดการสำหรับนักบริหาร หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. คณะรัฐประศาสนศาสตร์. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.
ขวัญสุราง ขำแจง. (2553). การจัดทําบัญชีของวัดในอําเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต. สาขาการบัญชี. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
มนต์ชัย ปั้นงาม. (2557). การจัดการงบประมาณของวัดในจังหวัดอุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์. สาขาวิชานโยบายสาธารณะ. บัณฑิตวิทยาลัย: มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.
สภาวิชาชีพบัญชี. (2555). แม่บทการบัญชีและการนำเสนองบการเงิน. [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.fap.or.th/st_accounting.php.
สุโขทยัธรรมาธิราช. (2553). การบัญชีขั้นต้นและหลักเบื้องต้นเกี่ยวกับระบบสารสนเทศ. นนทบุรี: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
Lazarus, R.S. and S.Folkman. (1984). Stress Appraisal and Coping. New York: Spring Publishing Company.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2022

ฉบับ

บท

บทความวิจัย