การประเมินการนำนโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษ สู่การปฏิบัติในโรงเรียนมัธยมศึกษา ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน
คำสำคัญ:
การประเมิน, นโยบาย, การปฏิรูป, การเรียนการสอนภาษาอังกฤษบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อประเมินนโยบายด้านความชัดเจน ด้านการสื่อสารสู่ผู้ปฏิบัติและด้านการจัดสรรทรัพยากร 2) เพื่อประเมินการบริหารนโยบายระดับโรงเรียนในรูปแบบของโครงการครอบคลุมด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ และการมีอิทธิพลต่อด้านผลผลิตของโครงการในระยะที่ผ่านมาและแนวทางพัฒนา และ 3) เพื่อถอดบทเรียนความสำเร็จในการนำนโยบายสู่การปฏิบัติของโรงเรียนที่มีผลงานโดดเด่นต่างระดับกันด้านความเหมือนและความแตกต่างกัน เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ใช้ทฤษฎี CIPP model เป็นกรอบการวิจัย กลุ่มตัวอย่าง คือ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19-23 รวม 168 แห่ง สุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ เก็บข้อมูลด้วยแบบประเมินจากกลุ่มเป้าหมาย 974 คน และแบบสัมภาษณ์แนวทางพัฒนาจากผู้เชี่ยวชาญ 10 คน ใช้สถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณและการวิเคราะห์เนื้อหา ผู้ให้ข้อมูลหลักเชิงคุณภาพจากโรงเรียนขนาดกลาง 2 แห่ง เลือกแบบเจาะจงจากกลุ่มตัวอย่างเชิงปริมาณ ใช้แบบสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์เอกสาร การสังเกต และการสนทนากลุ่มย่อย นำมาวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า 1) นโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอนภาษาอังกฤษมีความชัดเจน สามารถสื่อสารสู่ผู้ปฏิบัติได้ และมีการจัดสรรทรัพยากร ในระดับมาก 2) การบริหารนโยบายระดับโรงเรียนมีการดำเนินงานสอดคล้องกันด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ในระดับมาก มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ตัวพยากรณ์ที่ดีของผลผลิตได้แก่ ปัจจัยนำเข้าและกระบวนการ แนวทางพัฒนาปัจจัยนำเข้า ควรมุ่งพัฒนางานตามบทบาทหน้าที่ของตนด้วยงบประมาณและอุปกรณ์ที่เพียงพอและตรงกับงาน ด้านกระบวนการต้องปฏิบัติตามขั้นตอน มีการกำกับติดตามและสรุปรายงานผล 3) การถอดบทเรียนการนำนโยบายสู่การปฏิบัติของโรงเรียนที่มีผลการปฏิบัติโดดเด่นและไม่โดดเด่นมีทั้งความเหมือนและความแตกต่างกันในด้านบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต ผู้บริหารและครูผู้สอนควรใส่ใจด้านปัจจัยนำเข้าและด้านกระบวนการในการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาอังกฤษเนื่องจากมีอิทธิพลต่อผลผลิตในระดับมากและควรนำแนวทางพัฒนาจากผู้เชี่ยวชาญมาปรับใช้
References
Jariya Koment, Chalermchai Panyadee, Bongkochmas Ekiem, and Suriyajaras Techatunminasaku. (2020). Community Based Tourism Promotion Policy and Tourism Communities Solidarity in Upper Northern Thailand. Journal of MCU Buddhapanya Review. 8(2), 608–620.
Pisan Banchusuwan. (2015). Policy Implementation of Basic Education Curriculum in the
Education Service Area of Surat Thani Province. A Dissertation of Doctor. Bangkok:
Thammasat University.
Wilaiporn Sereewatana. (2012). A Systematic Evaluation of World-Class Standard School
Project. A Dissertation of Doctor. Khon Kaen: Khon Kaen University.
Sanya Kenaphoom. (2017). The Public Policy Evaluation: Principle Form and Method. Rajabhat Maha Sarakham University Journal. 11(1), 33-48.
Office of the Basic Education Commission. (2014). Guidelines for the Notification of the Ministry of Education: English Teaching Reform Policy. Bangkok.
Belardo, J. M., & Thienpermpool, P. (2018). Teachers’ Readiness to Promote Learner
Autonomy in Government Universities in the Northeast of Thailand. Journal of MCU
Buddhapanya Review. 3(3), 267–280. Available from https://so03.tci-thaijo.org/
index.php/jmbr/article/view/140611.
Stufflebeam, Daniel L. (1971). The Relevance of the CIPP Evaluation Model for Educational
Accountability. Atlantic City, N.J.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.