รูปแบบการจัดการความขัดแย้งในองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • พระครูอดุลประชารักษ์ วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี

คำสำคัญ:

รูปแบบ, การจัดการความขัดแย้ง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีเป็นการศึกษาวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แนวคิดเกี่ยวกับระดับความขัดแย้ง และแนวทางการจัดการความขัดแย้งเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ องค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรในสังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครปฐม จำนวน 382 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบแบ่งชั้นอย่างเป็นสัดส่วน (Proportional Stratified Random Sampling) โดยเบื้องต้นทำการสุ่มกลุ่มตัวอย่าง โดยการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling)  จากนั้นจึงทำการสุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการสุ่มอย่างเป็นระบบ (Systematic Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) แบบสัมภาษณ์ 2) แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า

ระดับความขัดแย้งในองค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครปฐม พบว่า มีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.96)  เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ระดับความขัดแย้งในองค์การบริหารส่วนตำบลด้านข้อมูลข่าวสารมีค่าเฉลี่ยมากที่สุด ( =3.04) ในขณะที่ระดับความขัดแย้งในองค์การบริหารส่วนตำบลด้านโครงสร้างมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ( = 2.91)

ระดับของความขัดแย้ง มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับแนวทางการจัดการความขัดแย้งในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครปฐม โดยภาพรวมอยู่ในระดับสูง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 โดยมีค่าสหสัมพันธ์ระหว่าง 0.924 – 0.975  

รูปแบบการจัดการความขัดแย้งในการบริหารงานขององค์การบริหารส่วนตำบลในจังหวัดนครปฐม จากความขัดแย้งด้านบุคลากร ส่วนใหญ่ใช้วิธีการประนีประนอม ร้อยละ 40.3 รองลงมาใช้วิธีการใช้อำนาจวินิจฉัยร้อยละ 28.0 ส่วนวิธีการที่เลือกใช้น้อยที่สุดคือการเผชิญหน้า มีเพียงร้อยละ 5.5 ด้านการเงิน ส่วนใหญ่ใช้วิธีการใช้อำนาจวินิจฉัยร้อยละ 42.8 รองลงมาใช้วิธีการประนีประนอมร้อยละ 23.8 ส่วนวิธีการที่เลือกใช้น้อยที่สุดคือการเพิกเฉย มีเพียงร้อยละ 0.5 ด้านวัสดุอุปกรณ์ ส่วนใหญ่ใช้วิธีการใช้อำนาจวินิจฉัยร้อยละ 45.9 รองลงมาใช้วิธีการประนีประนอมร้อยละ 27.2 ส่วนวิธีการที่เลือกใช้น้อยที่สุดคือการเพิกเฉย มีเพียงร้อยละ 1.8 ด้านการจัดการ ส่วนใหญ่ใช้วิธีการประนีประนอมร้อยละ 36.7 รองลงมาใช้วิธีการใช้อำนาจวินิจฉัยร้อยละ 27.0 ส่วนวิธีการที่เลือกใช้น้อยที่สุดคือการเพิกเฉย มีเพียงร้อยละ 4.4

References

กีรติ ยศยิ่งยง. (2552). องค์กรแห่งนวัตกรรม แนวคิด และกระบวนการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
โกวิทย์ พวงงาม. (2549). อบต.ในกระบวนทัศน์ใหม่ พัฒนาสร้างเครือข่ายและเสริมความเข้มแข็ง. กรุงเทพมหานคร: วิญูชน.
จิรประภา อัครบวร และประยูร อัครบวร. (2552). การบริหารงานภาครัฐในรูปแบบเครือข่าย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ ก.พลพิมพ์
ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษา: ยุคปฏิรูปการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ธนบรรณปิ่นเกล้า.
วิวัฒน์ เอี่ยมไพรวัน. (2550). เอกสารการสอนชุดวิชาสถาบันและกระบวนการทางการเมืองไทยหน่วยที่ 3. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ. (2551). แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบราชการไทย (พ.ศ. 2551 - พ.ศ.2555). กรุงเทพมหานคร: ภารกิจการเผยแพร่และสนับสนุนการมีส่วนร่วมในการพัฒนาระบบราชการ สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2022

ฉบับ

บท

บทความวิจัย