ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการป้องกันไวรัสโคโรน่า 2019 ของผู้สูงอายุ ในชุมชนเสือใหญ่อุทิศ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ

ผู้แต่ง

  • ประศักดิ์ สันติภาพ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

การป้องกัน, ไวรัสโคโรน่า 2019, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

งานวิจัยเชิงสำรวจแบบภาคตัดขวางนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจและวิเคราะห์ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ของผู้สูงอายุในชุมชนเสือใหญ่ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ ผู้สูงอายุทั้งหมด 173 คนที่ผ่านการคำนวณขนาดตัวอย่างและสุ่มตัวอย่างแบบง่ายเข้าร่วมในการวิจัยนี้จากผู้สูงอายุทั้งหมด 426 คนใน 2 ชุมชน ได้แก่ ชุมชนหลัง วค.จันทรเกษม และชุมชนนครหลวง แบบสอบถามเกี่ยวกับการปฏิบัติเพื่อป้องกันไวรัสโคโรน่า 2019, การรับรู้, การสนับสนุนทางสังคม และความรอบรู้ด้านสุขภาพ ผ่านการตรวจคุณภาพโดยทดสอบในประชาชนในชุมชนอื่น 30 คน ได้ค่าความตรงเชิงพินิจจากผู้เชี่ยวชาญ 3 คน ตั้งแต่ 0.5 ขึ้นไปและค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.84, 0.81, 0.75 และ 0.78ตามลำดับ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรนณา และเชิงอนุมานโดยการทดสอบ Chi-square test และสมการถดถอยพหุคูณ โดยใช้โปรแกรม spss ผลการศึกษาพบว่า การป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ของผู้สูงอายุอยู่ในระดับดี ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 ของผู้สูงอายุ คือ การรับรู้และความรอบรู้ด้านสุขภาพ ข้อเสนอแนะจากการวิจัยนี้ ได้แก่ องค์กรของรัฐและชุมชนควรประชาสัมพันธ์และรณรงค์การป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 เพื่อสร้างการรับรู้ และความรอบรู้ด้านสุขภาพ

References

Abdollahi, E., et al. (2020). Simulating the effect of school closure during COVID-19 outbreaks in Ontario, Canada. BMC Med, 18, 230-238.
Centers for Disease Control and Prevention. (2020). Novel coronavirus, Wuhan, China. 2019. https://www.cdc.gov/ coronavirus/2019-nCoV/summary.html. Accessed August, 1, 2020.
Chen, X., et al. (2020). Hand hygiene, mask-wearing behaviors and its associated factors during the COVID-19 epidemic: a cross-sectional study among primary school students in Wuhan, China. Int. J. Environ. Res. Public Health, 17. 2893-2899.
Gielen, A.C., & McDonald, E.M. (1997). The PRECEDE-PROCEED planning model. In: K. Glanz, F.M Lewis, & B.K. Rimmer, Health Behavior and Education (2nd ed.). San Francisco, CA: Jossey-Bass.
Glanz, K., Rimer, B.K., Viswanath, K. (2008). Using the PRECEDE-PROCEED Model to Apply Health Behavior Theories. (4th ed). Toronto, Ontario: Wiley & Son.
Green, L. W., & Kreuter, M. W. (2005). Health program planning: An educational and ecological approach. (4nd ed.). Boston: MacGraw Hill.
Koo, J.R., et al. (2020). Interventions to mitigate early spread of SARS-CoV-2 in Singapore: a modelling study. Lancet Infect. Dis, 20, 678–688.
Prentice-Dunn, S., Rogers, R.W. (1986). Protection Motivation Theory and Preventive Health: Beyond the Health Belief Model. Health Education Research, 1 (3), 153-161.
Szepietowski, J.C., et al. (2020). Face mask-induced itch: a self-questionnaire study of 2,315 responders during the COVID-19 pandemic. Acta Dermato Venereologica, 100, 152-160.
Walsh, B., Redmond, P., Roantree, B. (2020). Difference in Risk of severe Outcomes from COVID-19 across Occupation in Ireland. ESRI: Dublin. Ireland.
WHO. (2020). WHO Coronavirus Disease (COVID-19) Dashboard.2020. From https://www.who. int/emergencies/diseases/novel-coronavirus-2019. Accessed 21 June 2020.
Zhang, J., et al. (2020). Changes in contact patterns shape the dynamics of the COVID-19 outbreak in China. Science, 368, 1481–1486.
Zhu, N., et al. (2020). A novel coronavirus from patients with pneumonia in China, 2019. N Engl J Med, 20 (1), 54-66.
กชกร สมมัง. (2557). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ของผู้รับบริการงาน ผู้ป่วยนอก โรงพยาบาลพระนารายณ์มหาราช. วารสารสุขศึกษา, 37(126), 8-21.
กรมควบคุมโรค. (2563). ข้อมูลสำหรับการป้องกันตนเองจากไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ 2019. [อินเทอร์เน็ต]. นนทบุรี: กระทรวงสาธารณสุข; [เข้าถึงเมื่อ 25 มิ.ย. 2564]. เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/introduction/introduction01.pdf
กู้เกียรติ ก้อนแก้ว ฐิติวรดา สังเกตุ และ ศยามล ภูพิศ (2562). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการป้องกัน โรคไวรัสซิกาในหญิงตั้งครรภ์อำเภอไทรงาม จังหวัดกำแพงเพชร. วารสารวิชาการสาธารณสุข, 28(2), 255-262.
ฉันทพิชญา โพธิสาจันทร์ นาตยา เกรียงชัยพฤกษ์ บุญตา เจนสุขอุดม (2551). พฤติกรรมการป้องกันโรค ไข้หวัดนกของเครือข่ายแกนนำสุขภาพ. ประมวลผลงานวิชาการสุขศึกษาและพฤติกรรมสุขภาพ. กองสุขศึกษา กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ: นนทบุรี.
ณัฎฐวรรณ คำแสน (2564). ความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรมในการป้องกันตนเองจากการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ของประชาชนในเขตอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารวิทยาลัยพยาบาลพระจอมเกล้า จังหวัดเพชรบุรี, ปีที่ 4 ฉบับที่ 1 มกราคม – เมษายน, 33-48.
ประทานพร อารีราชการัณย์ กรพินท์ มหาทุมะรัตน์ ณัชชา มหาทุมะรัตน์ กีรติกา วงษ์ทิม และ ชนิศา หวงวงษ์ (2561). การสำรวจความรู้ทัศนคติและการปฏิบัติเกี่ยวกับสุขอนามัยมือของทันตแพทย์ไทย. J DENT ASSOC THAI, 68(3), 218-229
วรรษมน จันทรเบ็ญจกุล (2563). การป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19). เอกสาร ประกอบการบรรยายเวทีจุฬาเสวนาครั้งที่ 23 เรื่อง ตระหนักดีกว่าตระหนก เรียนรู้และป้องกัน ไวรัสโคโรน่า 2019: ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศูนย์ปฏิบัติการด้านข่าวโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 กรมควบคุมโรค (2564). รายงานข่าวกรณีติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 วันที่ 30 สิงหาคม 2564.กระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2564 จาก https://www.moph.go.th.
ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค (2563). ข้อมูลสำหรับการป้องกันตนเองจากโรค COVID-19. เอกสารเผยแพร่สำหรับประชาชน . กระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นเมื่อ 9 ตุลาคม 2563. จาก ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/int-pretection 03.pdf. .
สัญญา สุปัญญาบุตร (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติตนเพื่อป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ชนิดA (2009 H1N1) ของประชาชน อำเภอนามน จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารสำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่6 ขอนแก่น, 18(2), 1-10.
สถาบันวิจัยและประเมินเทคโนโลยีทางการแพทย์ (2564). การประเมินความเสี่ยงการติดเชื้อ Coronavirus Disease 2019 (COVID-2019) ในโรงพยาบาลชายขอบของไทย. กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข. สืบค้นเมื่อ 31 สิงหาคม 2564 จาก https://www.dms.go.th/backend//Content/Content_File/Research/Attach/25640705131821PM

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-09-2022

How to Cite

สันติภาพ ป. (2022). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการป้องกันไวรัสโคโรน่า 2019 ของผู้สูงอายุ ในชุมชนเสือใหญ่อุทิศ เขตจตุจักร กรุงเทพฯ. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 7(3), 72–84. สืบค้น จาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/256422

ฉบับ

บท

บทความวิจัย