การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุในจังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • พระเทพปริยัติโสภณ วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี

คำสำคัญ:

หลักพุทธธรรม, การส่งเสริมพฤติกรรม, การบริโภคอาหาร

บทคัดย่อ

 บทความวิจัยเป็นการศึกษาวิจัยแบบผสานวิธี (Mixed Methods Research) ระหว่างการวิจัยเชิงคุณภาพและการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แนวคิดเกี่ยวกับหลักพุทธธรรม และพฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ จังหวัดกาญจนบุรี กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สูงอายุในจังหวัดกาญจนบุรี จำนวน 432 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบแบ่งชั้นอย่างเป็นสัดส่วน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) แบบสัมภาษณ์ 2) แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยส่วนการวิจัยเชิงปริมาณ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วยค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า
หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุในจังหวัดกาญจนบุรี พบว่า มีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉี่ยเท่ากับ 3.41 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการบริโภคอาหารด้านกัลยาณมิตตตา มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด มีค่าเฉี่ยเท่ากับ 3.45 ในขณะที่หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการบริโภคอาหารด้านอินทรียสังวร มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด มีค่าเฉี่ยเท่ากับ 3.34 พฤติกรรมการบริโภคอาหารของผู้สูงอายุในจังหวัดกาญจนบุรี พบว่า มีความคิดเห็นในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉี่ยเท่ากับ 3.36 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการเข้าถึงแหล่งขายอาหาร มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด มีค่าเฉี่ยเท่ากับ 3.40 ในขณะที่ด้านความเชื่อเกี่ยวกับพฤติกรรมการบริโภคอาหาร มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด มีค่าเฉี่ยเท่ากับ 3.27 ทัศนะเกี่ยวกับข้อเสนอแนะโดยการเน้นย้ำในการให้ความรู้ทางด้านความเชื่อในเรื่องการกินสมุนไพรหรืออาหารป่าบางประเภทเพื่อการบำรุงร่างกาย มีการสร้างกิจกรรมร่วมกันภายในครอบครัว และให้ความรู้แก่บุตรหลานในการซื้ออาหารที่มีสีสันน่ารับประทานมาฝากผู้สูงอายุ

References

Sunthornthada, K. (1996). Changing point of population policy in Thailand. Bangkok: Research Support Fund.

Sirasamphan, N. (1984). Consumption Behavior of Population in Chonburi Municipality: Workshop Report on Eating Behavior of Thai People. Bangkok: Prayurawong Company Limited.

Phrakhru Baidika Sopha Kitjasaro. (2010). Application of Buddhist principles in Buddhism in daily life of the elderly in Ban Wa Subdistrict, Mueang District, Khon Kaen Province. (Research report). Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Phra Surachai Yusako. (2007). Self-care behaviors of the elderly in the Tha Ruea-Phrathan District Municipality Elderly Club Tha Maka, Kanchanaburi Province. (Master of Education Thesis Department of Development Studies). Graduate School: Silpakorn University.

Siriboon, S. et al. (1998). Assessment of a pilot project for establishing a service center for the elderly. Institute of Demography Chulalongkorn University.

Office of Policy and Strategy Ministry of Public Health. (2009). “Information on the elderly”. (reproduce).

Nillert, N. (1996). The relationship between child support and quality of life of the Thai elderly in rural areas. Suphanburi Province. (Research report). Mahidol University.

Lazarus, R.S. and S.Folkman. (1984). Stress Appraisal and Coping. New York: Spring Publishing Company.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

30-09-2022

ฉบับ

บท

บทความวิจัย