พุทธนวัตกรรมในการพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน

ผู้แต่ง

  • โยตะ ชัยวรมันกุล วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี
  • สุพัฒน์ ชัยวรรณ์, พระมหาวีรธิษณ์ วรินฺโท, ผจญ คำชูสงข์ และ ธวัช หอมทวนลม

คำสำคัญ:

พุทธนวัตกรรม, การพัฒนาการเรียนรู้, เด็กและเยาวชน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อศึกษารูปแบบพุทธนวัตกรรมในพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนในสังคมไทย 2)  เพื่อพัฒนารูปแบบพุทธนวัตกรรมในพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชนมัธยมศึกษาทั้ง IQ และ EQ ปัญญาและอารมณ์ ในจังหวัดนครปฐม 3)  เพื่อสร้างรูปแบบพุทธนวัตกรรมในพัฒนาการเรียนรู้ของเด็กและเยาวชน สำหรับพระธรรมทายาท ในจังหวัดนครปฐม คณะผู้วิจัยได้กำหนดใช้วิธีวิจัยแบบผสานวิธี ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จำนวนนักเรียนในแต่ละโรงเรียนทั้งหมด 5 โรงเรียน มีดังนี้ 1) โรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา 2) โรงเรียนปรีดารามวิทยาคม 3) โรงเรียนนาคประสิทธิ์ 4) โรงเรียนหอมเกร็ด และ 5) โรงเรียนวัดท่าพูด นครผลประชานุกูล รวมทั้งสิ้น 5,703 คน และสุ่มตัวอย่างด้วยตาราง สุ่มตัวอย่างของ Taro Yamane ได้กลุ่มตัวอย่าง 375 คน, การวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการร่วมกิจกรรมกับฝ่ายสงฆ์, ฝ่ายฆราวาส และกลุ่มเป้าหมาย ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก กับผู้ให้ข้อมูลผ่ายพระสงฆ์ที่ทำหน้าที่พระสอนศีลธรรม พระวิปัสสนาจารย์ และผู้ช่วยเจ้าอาวาส, ฝ่ายครูที่ทำหน้าที่เกี่ยวข้อง ประธานนักเรียนที่เป็นตัวแทนนักเรียน จำนวน 20 คน/รูป และการประชุมกลุ่มเฉพาะกับกลุ่มผ่ายพระสงฆ์ กลุ่มประธานนักเรียน และกลุ่มนักกิจกรรม get up teacher ทั้งสิ้นจำนวน 11 คน/รูป และการวิจัยเชิงปฏิบัติการ ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้ชุดกิจกรรม การฝึกอบรมเด็กและเยาวชน 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน จากโรงเรียนวัดไร่ขิงวิทยา โดยคัดเลือกจาก 1 ใน 5 โรงเรียน โดยวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานได้ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และการหาสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) สำหรับอธิบายข้อมูลในกิจกรรมก่อนและหลังด้วยสถิติ paired-t test โดยใช้วิธีวัดผลกิจกรรมก่อนและหลัง

References

Phra Wanchai Paripuñño. (2013). “Students’ Viewpoints towards the Dharmic Instructions: a case study of Secondary Schools, Muang District, Samut Prakan Province.” Master Thesis of Buddhism. Program of Education Administration, Graduate Schools: Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Phramaha Kraison Sotipanyo. (2009). “Training and Development of the School Risky Youth for a Proper Living in Line with the Buddha Dhamma.” Research Report. Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Lamphun Buddhist College Campus.

Roongthip Klaharn and Banchorn Klaharn. (2013). “Moral-vested Youth Leadership Development in the Cohesively Future-Creation Processes.” Research Report. Mahachulalongkornrajavidyalaya University: Chiangmai Campus.

Sanae Sikawee and Banjob Bannaruj. (2017). The Buddhist Integrated of Education Learning Process. Journal of MCU Peace Studies Vol.5 No.3 (September-December 2017), pp. 278-289.

Sod Daeng-iad. (2011). Opening Ceremony of 230 Dhamma Speakers in Mahachulalongkornrajavidyalaya University, Wangnoi District, Phranakhon Si Ayudhya. Copied handouts.

Statement of the National Council for Peace and Order (NCPO): in June 3, 2013 at 16.20 Hrs.

Suchon Prawatdee. (2014). “The Application of Buddhist Ethics in Child Development in Multicultural-Society Community.” Research Report. Mahachulalongkornrajavid- yalaya University, 2014.

Suphachai Thongchan. (2016). “Home-Church-School engagement development to address youth issues in Phanom Sub-district municipality: Surat Thani.” Research Report. Suratthani Rajabhat University.

Theerawat Bamphenboonbaramee. (2007). Dharma Research Project. On Teach in Buddhist Way: Investigation from the Tepiṭaka, Atthagatthã, Tikã and the Buddhist Scriptures. Bangkok: The Beñcanikãya Foundation.

Virotch Phromsud. (2016). The Buddhist-based Youth Training Processes on Leadership Attributes. Research Report. Nakhon Si Thammarat Buddhist College Mahachulalongkornrajavidyalaya University.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-05-2022

ฉบับ

บท

บทความวิจัย