งานด้านการจราจรของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ : โครงสร้างการบริหารงานในยุคแห่งการเปลี่ยนแปลง
TRAFFIC MISSION OF ROYAL THAI POLICE : THE ADMINISTRATIVE STRUCTURE IN THE AGE OF CHANGE.
คำสำคัญ:
งานจราจร, การบริหาร, ตำรวจจราจร, โครงสร้างองค์การบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงโครงสร้างระบบการบริหารงานการจราจรของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และเสนอแนะแนวทางการบริหารงานด้านการจราจร ใช้แนวคิดเรื่องการบริหารจัดการและแนวคิดเกี่ยวกับโครงสร้างและการออกแบบองค์การเป็นแนวทางในการศึกษา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ดำเนินการวิจัยในพื้นที่กรุงเทพมหานคร จังหวัดขอนแก่น จังหวัดเชียงใหม่ จังหวัดพิษณุโลก จังหวัดภูเก็ต และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มผู้ให้ข้อมูลสำคัญได้แก่ข้าราชการตำรวจซึ่งปฏิบัติงานในสายงานที่เกี่ยวข้องกับการจราจร ทั้งในระดับผู้บริหารและระดับผู้ปฏิบัติการจำนวน 42 คน คัดเลือกด้วยวิธีการแบบเจาะจง ใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกสำหรับผู้บริหารและการสนทนากลุ่มย่อยสำหรับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติการ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
1. สำนักงานตำรวจแห่งชาติ(สตช.)แบ่งหน่วยงานซึ่งรับผิดชอบภารกิจในการดูแลงานด้านการจราจรของออกเป็น 3 ระดับ คือในส่วนกลาง ระดับภูมิภาค และระดับจังหวัด โดยมีความเชื่อมโยงกันตามโครงสร้างหลักในการบริหารงานของ สตช. นโยบายด้านงานจราจรจากส่วนกลางถูกดำเนินการผ่านตำรวจภูธรภาคไปยังตำรวจภูธรจังหวัดและสถานีตำรวจภูธรในสังกัด กลไกที่สำคัญในการขับเคลื่อนนโยบายคือสายการบังคับบัญชาและการมีรูปแบบองค์การในแบบแบ่งตามพื้นที่ มีการกำหนดหน่วยงานรับผิดชอบ แม้จะมีสำนักงานกำลังพลและฝ่ายอำนวยการดูแลการพัฒนาบุคลากร แต่ไม่มีหน่วยงานที่ดูแลเรื่องของการผลิตและพัฒนาบุคลากรด้านงานจราจรอย่างมืออาชีพเป็นการเฉพาะ สตช. ให้ความสำคัญกับการนำข้อมูลและองค์ความรู้ด้านวิชาการที่เกี่ยวข้องมาใช้ประโยชน์ในการปฏิบัติงาน การสื่อสารสารสนเทศเพื่อการจัดการงานจราจรดำเนินการในหลายส่วนหลายรูปแบบ ในการบริหารพบปัญหาขาดความเป็นเอกภาพและการบูรณาการในการดำเนินงาน กำลังพลที่ไม่เพียงพอ ขาดการเตรียมและพัฒนาบุคลากรอย่างเป็นระบบ งบประมาณ อุปกรณ์ปฏิบัติงานมีไม่เพียงพอ ขาดการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ
2. ข้อเสนอแนวทางในการปรับปรุงโครงสร้างการบริหารงานคือให้มีหน่วยงานที่เป็นศูนย์กลางในการบริหารจัดการงานด้านการจราจรและลดอุบัติเหตุทางถนนของประเทศ บริหารจัดการทั้งด้านนโยบาย ยุทธศาสตร์ แผนงานและการดำเนินงานต่างๆ ตั้งแต่ระดับนโยบายจนถึงระดับปฏิบัติการ ประสานการดำเนินนโยบายและการปฏิบัติในทุกระดับกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง
References
Sinloyma, P. et al. (2013). The Development of Efficient Technology for Using in the Practice of Police Officers at The Police Station. (Research report). Bangkok: Thailand Science Research and Innovation.
. (2014). The Development of Human Resource Management System for Traffic Police in The Jurisdiction Metropolitan Police. (Research report). Bangkok: Thailand Science Research and Innovation.
Strategy and Planning Division. (2018). Public Health Statistics A.D. 2017. Bangkok: Ministry of Public Health.
Mechat, W. (2016). Organization Administration. (8th ed.). Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Office of Transport and Traffic Policy and Planning. (2017). Road Accident Situation Analysis
Report 2017. Bangkok: Ministry of Transportation.
Rutchatorn, B. et al. (2008). The Study of Law Enforcement Structure of Traffic Police for Preventing and Solving Traffic Accident Problem. (Research report). Bangkok: Thai Health Promotion Foundation.
Tamronglak, A. (2013). Organization: Theory, Structure and Design. (3rd ed). Bangkok: Thammasat University Press.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.