รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของครูผู้สอน ในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบุรี

THE INSTITUTIONAL ADMINISTRATIVE MODEL FOR TEACHER QUALITY DEVELOPMENT IN THE 21ST CENTURY AT THE PHETCHABURI SECONDARY EDUCATIONAL SERVICE AREA OFFICE

ผู้แต่ง

  • สราวุฒิ นิ่มนวล คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ
  • สิทธิพร ประวัติรุ่งเรือง
  • ขวัญหญิง ศรีประเสริฐภาพ

คำสำคัญ:

รูปแบบการบริหารสถานศึกษา, การพัฒนา, คุณภาพของครูผู้สอนในศตวรรษที่ 21

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของครูผู้สอนในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบุรี โดยดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาสภาพ ความต้องการและแนวทางการดำเนินงานการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของครูผู้สอนในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเพชรบุรี ด้วยการศึกษาเอกสาร ศึกษาสภาพ ความต้องการและแนวทางการดำเนินงานการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของครูผู้สอนในศตวรรษที่ 21 โดยสัมภาษณ์เชิงลึก กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครู และผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 16 คน ขั้นตอนที่ 2 พัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของครูผู้สอนในศตวรรษที่ 21 โดยนำข้อมูลขั้นตอน ที่ 1 มายกร่างและตรวจสอบ ความเหมาะสม ความถูกต้อง ครอบคลุม ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาคุณภาพของครูผู้สอนในศตวรรษที่ 21 จำนวน 5 คน ขั้นตอนที่ 3 ทดลองใช้และประเมินรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของครูผู้สอนในศตวรรษที่ 21 ทดลองใช้กับสถานศึกษา 1 แห่ง และประเมินตรวจสอบความเป็นประโยชน์และความเป็นไปได้ ในการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษา ที่พัฒนาขึ้น ด้วยแบบตรวจสอบรายการ ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพของครูผู้สอนในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 1)กระบวนการบริหารสถานศึกษามี 5 ขั้นตอน ได้แก่ การบริหารจัดการ การพัฒนาทักษะของครู การนำไปใช้ การสร้างเครือข่าย และนิเทศ ติดตามต่อเนื่อง 2)องค์ประกอบการพัฒนาคุณภาพของครูผู้สอนในศตวรรษที่ 21 ประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ การจัดการเรียนรู้และนวัตกรรม สื่อ เทคโนโลยี และสารสนเทศ จิตวิญญาณความเป็นครูและการปรับตัว ภาวะผู้นำของครูและความรับผิดชอบ และการวัดและประเมินผล ผลการทดลองใช้และประเมินรูปแบบที่พัฒนาขึ้น พบว่ามีความเหมาะสม ความถูกต้อง ครอบคลุม ความเป็นประโยชน์ และความเป็นไปได้ อยู่ในระดับมาก

References

Akarabuaworn, P., Sinlarat, P., & Srihaset, K. (2010). Network Building and Participatory. Bangkok: Chulalongkorn University Printing House.

Bryman, A. (1986). Leadership and Organization. London: Routledge & Kegan Paul.

Buason, R. (2009). Research and Developing Educational Innovation. Bangkok : Kham Samai.

Karnthang, C., & Noibuatip, M. (2018). The Development of Creating Cooperation Guidelines of Group work. Journal of Educational Administration and Supervisor, Mahasarakham University, 9(1), 83-94.

Suppakarn, P., & Intarak, P. (2015). A Model of The Educational Supervision Management For The 21st Century. Veridian E-Journal Slipakorn University, 8(2), 1126-1143.

Deming, W. Edwards. (1986). Out of the Crisis. Massachusetts: Institute of Technology, Center for Advanced Engineering Study.

kumvang, W., & Jaichalad, N. (2017). Guideline of 21st Century Skills for Phitsanulok Secondary Educational Service Area Office. Lampang Rajabhat University Journal, 6 (1), 129-138.

Likert, R. (1967). The Method of Constructing and Attitude Scale. In Reading in Fishbeic, M. (Ed.), Attitude Theory and Measurement (pp. 90-95), New York: Wiley & Son.

Phongaksorn, S., Sikkhabandit, S., & Sithiamon, P. (2018). A Quality Management Model of Basic Education Institution Management towards to International Standard. Academic Journal Of North Bangkok University, 7(2), 198-212.

Phetchaburi Provincial Education Office (2560). Education Strategic Plan 2019-22. Phetchaburi: Group Policy and Plan Phetchaburi Provincial Education Office.

Sowhasun, E., Sikkhabandit, S., & Teerawitthayalert, P. (2017). Corporative Management Model on Diploma in aircraft maintenance, Civil Aviation Training Center. Journal of Industrial Education Srinakharinwirot University, 11(1), 148-163.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-03-2022

ฉบับ

บท

บทความวิจัย