แนวทางพัฒนาศักยภาพการสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ตลาดท่องเที่ยวสปาเพื่อสุขภาพในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลตะวันออกเพื่อเตรียมเข้าสู่การเป็นศูนย์กลางส่งเสริมสุขภาพแห่งเอเชีย

ผู้แต่ง

  • กฤติยา รุจิโชค มหาวิทยาลัยราชภัฎนครปฐม

คำสำคัญ:

การสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ การสื่อสารการตลาด กลยุทธ์ทางการตลาด

บทคัดย่อ

บทความวิจัยเป็นการผสมผสานการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพใช้แนวคิด กลยุทธ์ทางการตลาด  การสื่อสารการตลาดเชิงบูรณาการ การตลาดผ่านช่องทางดิจิทัล เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัยคือ พัทยา กลุ่มตัวอย่างการสำรวจคือ ผู้มาใช้บริการ  222 คน คัดเลือกจากตารางทาโร่ยามาเน่ วิเคราะห์ข้อมูลปริมาณโดยโปรแกรม SPSS ในค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  กลุ่มสัมภาษณ์เชิงลึกและระดมความคิดเห็นคือ
ผู้ให้บริการสปาฯ 20 แห่ง เลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ 1.แบบสอบถาม 2.แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างเชิงคุณภาพใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า

ผลวิจัยตามวัตถุประสงค์ที่ 1 พบนักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจในส่วน 7 P เรียงความสำคัญ 1. ผลิตภัณฑ์ที่บริการ 2.ราคา 3.สถานที่ให้บริการ 4.การให้บริการ 5.การจัดการพนักงาน 6.สิ่งแวดล้อม 7.การส่งเสริมการขาย

ผลวิจัยตามวัตถุประสงค์ที่ 2 พบปัจจัยที่สร้างการพัฒนาฯนอกเหนือจากส่วนประสมทางการตลาด  คือ 1.สร้างเครือข่ายสปาฯกับธุรกิจอื่น 2.การรวมกลุ่มของสปาฯขนาดกลางและเล็กมีรัฐเป็นผู้นำ 3.รัฐและเอกชนร่วมกันสร้าง“สปาสีขาว” 4. องค์ความรู้ด้านการบริการ การตลาดและการประชาสัมพันธ์  5. สร้างอัตลักษณ์สปาฯในพื้นที่  6.สร้างกิจกรรมการท่องเที่ยว

ผลวิจัยวัตถุประสงค์ที่ 3 พบแนวทางการพัฒนาศักยภาพ 3 แนวทาง คือ ความร่วมมือภาครัฐกับเอกชน(สปาเพื่อสุขภาพ)  2. การรวมกลุ่มของธุรกิจสปาขนาดกลางและขนาดย่อม 3. การสร้างเครือข่ายสปาและธุรกิจบริการอื่น

          องค์ความรู้ที่ได้จากการการวิจัยนี้คือ ทางหน่วยงานรัฐ ธุรกิจสปาจะนำไปพัฒนาศักยภาพการสื่อสารเพื่อการประชาสัมพันธ์ตลาดท่องเที่ยวสปาเพื่อสุขภาพในเขตพัฒนาการท่องเที่ยวชายฝั่งทะเลตะวันออกเพื่อเตรียมเข้าสู่การเป็นศูนย์กลางส่งเสริมสุขภาพแห่งเอเชีย

References

Allsop, D.T., Bassett, B.R. and Hoskins, J.A. (2007). “Word of mouth research: principles and applications”. Journal of Advertising Research. 47(4) : 398-411.

Bickart, B. and Schindler, R.M. (2002). “Expanding the scope of word-of-mouth: consumer-to-consumer information on the internet”. Advances in Consumer Research. Vol. 29: 428.

Ducoffe, R.H., Sandler, D., Second, E. (1996). "A survey of senior agency, advertiser, and media executives on the future of advertising". Journal of Current Issues and Research in Advertising. 18(1): 1-19.

Godin, S. (1999). Permission Marketing: Turning Strangers into Friends, and Friends into Customers. New York: Simon & Schuster.

National Tourism Policy Committee. (2018). National Tourism Development Plan No.2 (2016-2020). Retrieved 20 July 2018.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-05-2022

ฉบับ

บท

บทความวิจัย