การเชื่อมโยงโดยใช้วิธีการของนักเรียนในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่ใช้วิธีการแบบเปิด

ผู้แต่ง

  • ลักขณา คณาศรี
  • และ สัมพันธ์ ถิ่นเวียงทอง

คำสำคัญ:

การเชื่อมโยงโดยใช้วิธีการของนักเรียน, การศึกษาชั้นเรียน, วิธีการแบบเปิด

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์การเชื่อมโยงแนวคิดโดยใช้วิธีการของนักเรียนในชั้นเรียนคณิตศาสตร์ที่ใช้วิธีการแบบเปิด กลุ่มเป้าหมายคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 จำนวน 9 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2564 โรงเรียนบ้านดงบัง (พิกุลศึกษาคาร) จังหวัดร้อยเอ็ด เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 7 แผน แบบบันทึกภาคสนาม เครื่องบันทึกเสียง เครื่องบันทึกภาพนิ่ง และเครื่องบันทึกวีดิทัศน์ วิเคราะห์ข้อมูลตามกรอบแนวคิด Inprasitha (2018a, 2018b) ผลการวิจัยพบว่า 1) การสร้างแผนการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน ทีมการศึกษาชั้นเรียนออกแบบให้มีความต่อเนื่องกัน มีการวิเคราะห์แนวคิดที่นักเรียนมีอยู่ก่อนหน้านี้ และมีการคาดการณ์แนวคิดที่นักเรียนจะใช้ในการแก้ปัญหา 2) การสังเกตการสอนร่วมกัน การจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการแบบเปิดทั้ง 4 ขั้นตอน พบว่า นักเรียนสามารถระลึกถึงแนวคิดที่เคยใช้ในการแก้ปัญหาได้ ใช้แนวคิดจากคาบเรียนก่อนหน้ามาเป็นจุดเริ่มต้นในการวิเคราะห์ปัญหา อธิบายแนวคิดที่ใช้แก้ปัญหาด้วยแนวคิดที่ได้เรียนรู้จากคาบเรียนก่อนหน้า อภิปรายร่วมกันทั้งชั้นเรียนโดยหาความเกี่ยวข้องระหว่างแนวคิดจากคาบเรียนก่อนหน้ากับแนวคิดที่เกิดขึ้นจากการแก้ปัญหาในคาบเรียนปัจจุบัน และสรุปร่วมกันถึงวิธีการที่ใช้ในการแก้ปัญหา 3) การสะท้อนผลบทเรียนหลังการสอนร่วมกัน ทีมการศึกษาชั้นเรียนร่วมกันสะท้อนผลในประเด็นที่นักเรียนนำแนวคิดจากคาบเรียนก่อนหน้ามาใช้ในการแก้ปัญหาในคาบเรียนปัจจุบันจนเกิดเป็นแนวคิดใหม่ การนำการศึกษาชั้นเรียนและวิธีการแบบเปิดมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ ทำให้นักเรียนสามารถนำแนวคิดจากคาบเรียนก่อนหน้ามาแก้ปัญหาในคาบเรียนปัจจุบันจนเกิดเป็นแนวคิดใหม่ที่สามารถนำไปแก้ปัญหาในคาบเรียนถัดไปได้

References

Academic Affairs Administration of Dongbang Pikulsuksakan School. (2020). Individual Student Analysis. Roi-et: Dongbang Pikulsuksakan school. (Mimeographed)

Chiengkul, W. (2016). Report on Thai Education Situation 2014/2015 How We Develop Thai Education to Modernize in the 21st Century?. Bangkok: ONEC. [in Thai]

Hiebert, J. & Carpenter, T.P. (1992). Learning and Teaching with Understanding. New York: Macmillan.

Hodgson, T.R. (1995). Connections as Problem-Solving Tools. In Peggy, A.P. and Coxford, A.F. (Ed.), Connecting Mathematics Across the Curriculum. (p.13-21). Reston: National Council of Teachers of Mathematics.

Inprasitha, M. (2010). One Feature of Adaptive Lesson Study in Thailand: Designing a Learning Unit. Journal of Science and Mathematics Education in Southeast Asia 2011. 34(1): 47-66.

________. (2014). Processes of Problem Solving in School Mathematics. Khonkaen: Penprinting. [in Thai]

________. (2018a). Seminar About the Curriculum for Developing Teachers and Educational Staff [Recording]. Chiang Mai: Program in Mathematics Education, Faculty of Education, Khon Kaen University. [in Thai]

________. (2018b). Teaching Thinking Skill in the 21st Century: Flow of Lesson Design. [Recording]. Bangkok: EDUCA 2019. [in Thai]

Isoda, M. (2010). Lesson Study: Problem Solving Approaches in Mathematics Education as a Japanese E×perience. Procedia Social and Behavioral Sciences, 8: 17–27.

Jaisook, S. (2012). The Development of Instructional Model by Integrating Problem-Based Learning and Collaborative Learning Approach to Enhance Mathematical Problem Solving. Communication and Connection Abilities of Sixth Grade Students. (Doctoral Dissertation). Chulalongkorn University. Bangkok. [in Thai]

Lampert, M. (2001). Teaching Problems and the Problems of Teaching. London: Yale University Press.

National Council of Teachers of Mathematics. (2000). Principles and Standards for school Mathematics. Reston: NCTM.

Nohda, N. (2000). Teaching by Open-approach Method in Japanese Mathematics classroom. Proceedings of the Conference of the International Group for the Psychology of Mathematics Education, 1: 1-16. Hiroshima: Hiroshima University.

Suriyon, A. (2013). The Development of Students’ Metacognitive Strategies During Problem Solving in Mathematics Classroom Using Open Approach in Lesson Study Context. (Doctoral Dissertation). Khon Kaen University. Khonkaen. [in Thai]

Tall, D. (2008). Using Japanese Lesson Study in Teaching Mathematics. The Scottish Mathematical Council Journal, 38: 45-50.

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2007). Mathematical Skills and Processes. Bangkok: Kurusapa Printing Ladphrao. [in Thai]

Thinwiangthong, S. & Inprasitha, M. (2018). The New Model of Teaching Measurement In the School Level Mathematics Course. Nakhon Phanom University Journal, 8(3): 118-127.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-05-2022

ฉบับ

บท

บทความวิจัย