การสังเคราะห์งานวิจัยโครงการยกระดับชีวิตและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย ของชุมชนพระยาประสิทธิ์ เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • วิจิตรา ศรีสอน
  • สัณฐาน ชยนนท์
  • ทิฆัมพร พันลึกเดช College of Politics and Government, Suan Sunandha Rajabhat University

คำสำคัญ:

การยกระดับชีวิต,, การส่งเสริมสุขภาพ, , ผู้สูงวัย,, ชุมชนพระยาประสิทธิ์

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1.ศึกษาการส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพผู้สูงอายุตามหลัก 3 อ ของชุมชนพระยาประสิทธิ์ เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 2. ศึกษาการอยู่ร่วมหลากหลายวัยบ้านอบอุ่น ของชุมชนพระยาประสิทธิ์ เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร 3. ศึกษาการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุของชุมชนชุมชนพระยาประสิทธิ์ เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร และ 4. ศึกษาแนวทางที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุชุมชนพระยาประสิทธิ์ เขตดุสิตกรุงเทพมหานคร การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นงานวิจัยเชิงคุณภาพ  โดยใช้การสังเคราะห์งานวิจัย จากโครงการวิจัย 4 โครงการ วิเคราะห์ข้อมูลด้านเนื้อหา จัดกลุ่มข้อมูล และตรวจสอบข้อมูลด้วยวิธีสามเส้า ผลการวิจัยพบว่า (1) โครงการยกระดับชีวิตและส่งเสริมสุขภาพผู้สูงวัย ของชุมชนพระยาประสิทธิ์ เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร มีการส่งเสริมและพัฒนาสุขภาพผู้สูงอายุในเขตพื้นที่ชุมชนพระยาประสิทธิ์ เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ด้วยการส่งเสริมตามหลัก 3 อ และควรมีการพัฒนาให้เกิดความต่อเนื่อง โดยเฉพาะด้านการออกกำลังกาย เช่น การเดินในน้ำ เป็นต้น และควรมีเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้ในการบริหารอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ (2) การอยู่ร่วมกันหลากหลายวัย บ้านอบอุ่น ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก (3) การจัดสวัสดิการผู้สูงอายุภาพรวมอยู่ระดับปานกลาง โดยเฉพาะด้านสุขภาพอนามัย ในภาพรวมอยู่ระดับน้อย และ (4) แนวทางในการดูแลผู้สูงอายุตลอดจนการพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในชุมชนพระยาประสิทธิ์ เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร พบว่า ผู้สูงอายุมีความต้องการความรู้ วิธีการหารายได้และส่งเสริมอาชีพ เพื่อให้มีรายได้เลี้ยงชีพนอกเหนือจากเงินรายได้จากภาครัฐ เงินบำเหน็จ บำนาญ และเงินที่ได้จากลูกหลาน หรือประกอบอาชีพที่มีรายได้ในชุมชน ควรมีการนำเทคโนโลยีถ่ายทอดองค์ความรู้จากภาครัฐสื่อสารสู่ประชาชน เช่น Line Application ต่างๆ ผู้สูงอายุควรได้รับอาหารที่เหมาะสม และควรออกกำลังกายที่ถูกต้องเพื่อการส่งเสริมสุขภาพให้แข็งแรง

References

Arunkamol Sukanek. (2011). Giving meaning and a pattern of living a happy life in making merit together among the elderly. Master of Business Administration Thesis Entrepreneurship Silpakorn University

Cabinet Secretariat. (1997). Constitution of the Kingdom of Thailand. Bangkok: Welfare Secretariat of the Cabinet.

Chomchai Lertamornrat. (2021). Guidelines affecting the quality of life of the elderly in Phraya Prasit Community, Dusit District. Bangkok. Bangkok: Suan Sunandha Rajabhat University

Dance-Drama Costumes of the Elderly of Khian Niwat Community Enterprise,

Ferrel, B. R. (1995). The quality of lives: 1,525 voices of cancer. Oncology nursing Forum. 23(6), 906-916.

Foundation of the Thai Poor Elderly Research and Development Institute. (2016). Situation of the Thai Elderly 2016. Bangkok: Foundation of Thai Poor Elderly Research and Development Institute.

Komkrit Compiled. (2013). Problems and processes for implementing policies to promote the quality of life of the elderly in Bangkok. Doctor of Philosophy Thesis (Political Science Department) Ramkhamhaeng University. Management and Applied Science (IJMAS). 4(10), 43-47.

National Committee on Older Persons. (2015). Promotion and expansion of career opportunities and work for the elderly. Bangkok: Office of the Permanent Secretary for Labor Ministry of Labor

Patcharapong Chuanchom, Teerawat, Chantuk and Pitak Siriwong. (2018). Job characteristics suitable for elderly workers. Walaya Alongkorn Research and Development Journal under the royal patronage Humanities and Social Sciences, 13(1), 57.

Pongchai Sukhahut, Moron Chayanon and Wichitra Srisorn. (2019). Models of economic development based on the principles of sufficiency economy philosophy. in Kho Wang District Yasothon Province. Journal of MCU Social Science Review, 8(4), 252-264.

Rata Suwandara. (2011). The potential of the elderly in community development. of Tambon Administrative Organization, Yaring District, Pattani Province. Master of Public Administration thesis Department of Local Administration Khon Kaen University

Royal Academy. (1996). The Honorable Dictionary. Bangkok: Thai Wattana Panich.

Siriwan Siriboon. (2000). Response to problems and needs of the elderly: a case of setting up a social service center for the elderly. Bangkok: Chulalongkorn University Printing

Sompoch Aneksuk and Kotchakorn Sangchat. (2005). Lifestyles of the elderly over 100 years old, Chonburi Province. Journal of Education, 17(1), 95-107. the Self-Reliant Occupation on the Embroidery of Pantomime and Thai

Tikhamporn Punluekdej, Wijittra Srisorn, and Sunthan Chayanon. (2018). Maintaining Trok Kai Chae, Phranakorn District, Bangkok. International Journal of Management and Applied Science (IJMAS). 4(10): 43-47.

Tuwathida Suwannarat. (2021). Promotion of social participation of the elderly. Bangkok: Suan Sunandha Rajabhat University.

UNFPA. (2017). Aging in the 21st Decade: Celebrations and Challenges. Bangkok: United Nations Population Fund. and the Help El International.

Valentine, J.C and Cooper, H. (2009). The Handbook of Research Synthesis and Meta-Analysis. New York: Russell Sage Foundation.

Wijittra Srisorn, Morphon Chayanon, Tikamporn Panluekdech and Ong-On Sanguanyat. (2021). Quality of Life Development for the Elderly in Kho Wang District, Yasothon Province. Journal of Corporate Management and Local Innovation. 7(2), 15-31.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

28-02-2023

ฉบับ

บท

บทความวิจัย