การสร้างความร่วมมือของภาครัฐพัฒนาระบบป้องกันและลดอาการป่วยซ้ำซ้อน พระสงฆ์ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ในจังหวัดนครราชสีมา

FORMATION OF PUBLIC SECTOR TO DEVELOP THE SYSTEM AND REDUCE THE REPETITIVE ILLNESS OF MONKS WITH DIABETES AND HYPERTENSION IN NAKHON RATCHASIMA PROVINCE

ผู้แต่ง

  • พิชิต ปุริมาตร วิทยาเขตนครราชสีมา

คำสำคัญ:

ภาครัฐ, เบาหวาน, ความดันโลหิตสูง

บทคัดย่อ

การสร้างความร่วมมือของภาครัฐพัฒนาระบบป้องกันและลดอาการป่วยซ้ำซ้อน พระสงฆ์ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ในจังหวัดนครราชสีมา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. สร้างความร่วมมือของภาครัฐ คณะสงฆ์ป้องกันและลดอาการป่วยซ้ำซ้อน พระสงฆ์ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง 2. พัฒนาระบบป้องกันและลดอาการป่วยซ้ำซ้อนพระสงฆ์ป่วยโรคเบาหวาน  โรคความดันโลหิตสูง 3. สร้างโมเดลป้องกันและลดการป่วยซ้ำซ้อนพระสงฆ์ป่วยโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูงแบบพึ่งพาตนเอง รองรับการลดภาระงบประมาณภาครัฐ การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ด้วยการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 160 รูปหรือคน ด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยจำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิธีการวิจัยเชิงคุณภาพจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 30 รูปหรือคน ใช้แบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลแบบอรรถาธิบาย พรรณนา ผลการวิจัยพบว่า 1. การสร้างความร่วมมือของภาครัฐ  คณะสงฆ์ป้องกันและลดอาการป่วยซ้ำซ้อน พระสงฆ์ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ด้วยการ ร่วมริเริ่ม ร่วมคิดวางวิสัยทัศน์ ร่วมปฏิบัติตามแนวทาง ร่วมประเมิน ร่วมแก้ไขปรับปรุงวิธีการทำงาน การสร้างความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่สาธารณสุข องค์การบริหารส่วนตำบล เทศบาล คณะสงฆ์และวัด 2. พัฒนาระบบป้องกันและลดอาการป่วยซ้ำซ้อนพระสงฆ์ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง ด้วยการพัฒนาปฏิทิน ยาเบาหวาน ความดันโลหิตสูง มีความเหมาะสมที่จะนำไปใช้กับพระสงฆ์ป่วยโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตมีความสับสนในการรับประทานยาเบาหวาน และไม่มีผู้ดูแลกำกับการรับประทานยา ทำให้รับประทานยาผิดวิธี 3. สร้างโมเดลป้องกันและลดการป่วยซ้ำซ้อนพระสงฆ์ป่วยโรคเบาหวานโรคความดันโลหิตสูงแบบพึ่งพาตนเอง รองรับการลดภาระงบประมาณภาครัฐ พระสงฆ์มีแนวทางการดูแลตนเอง การจัดทำฐานข้อมูล ด้วยการดูแลสุขภาพพระสงฆ์เกิดเป็นโมเดลต้นแบบ P  PAT

References

Department of Disease Control, Ministry of Public Health. (2008). A Report of Special Illness. Nonthaburi: Department of Disease Control, Ministry of Public Health

Division of Agricultural Community Enterprise Development, Department of Agriculture Extension. (2016) Community Enterprises: An Approach for Sustainable Self-Reliance. Bangkok: Department of Agriculture Extension.

Kanittar Nantabut. (2016). Community Health Care System – Concept, Instrument and Design. Khon Kaen: Khon Kaen University.

Ministry of Public Health. (2017). A Guideline of Community Health Services for Community Health Centers. Nonthaburi: Ministry of Public Health.

Ministry of Public Health. (2519). Community Development Plan and Health Management. Nonthaburi: Ministry of Public Health.

National Health Commission Office. (2019). National Health Act B.E. 2560 (2017). 3rd ed. Bangkok: JS Printing House

Nuntawan Yimprasert et al. (2016). The Development of Nursing Practice Guideline on Behavior Management of Diet and Exercise for Blood Glucose Control of Type II Diabetes. Kasem Bundit Journal. Volume 16 No. 2 (July – December)

Pender, N.J., (1996). Health Promotion in Nursing Practice. 2nd ed. Connecticut: Appleton and Lange.

Phra Kru Suvithanpatthanabandit et al. (2015). Model Development of Monk’s Holistic Health Care in Khon Kaen Province through the Network Participation. Khon Kaen: The Office of Disease Prevention and Control 6.

Phra Kru Suvithanpatthanabandit. (2014). Model Development of Monk’s Holistic Health Care in Khon Kaen Province through the Network Participation. Research Report. Buddhist Research Institute, Mahachulalongkornrajavidyala University.

Somjit Hanucharoenkul. (1993). Self-Care: Sciences and Arts of Nursing. 2nd ed. Bangkok: VJ Printing.

Somphant Techaatik and Winai Wong-asa. (2012). Community Health for Well-Being. Humanities and Social Sciences Journal. Volume 29 No. 2 (May – August).

Sukanya Athip-anan et al. (2007). Strategic Development for Self-Reliance of Community Enterprises. Research Report. Department of Agriculture Extension

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-03-2022

ฉบับ

บท

บทความวิจัย