การพัฒนาห้องเรียนออนไลน์เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้วิชาธรรมวิภาค สำหรับนักเรียนธรรมศึกษาชั้นตรี

ผู้แต่ง

  • เจริญพงษ์ วิชัย สาขาพระพุทธศาสนา วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี วัดไร่ขิง พระอารามหลวง นครปฐม
  • พระมหาสาทร บุญชูยะ
  • พระมหาถนอม พิมพ์สุวรรณ์
  • สายน้ำผึ้ง รัตนงาม
  • คีตา องอาจ

คำสำคัญ:

ห้องเรียนออนไลน์, ธรรมวิภาค ธรรมศึกษาชั้นตรี

บทคัดย่อ

 

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาห้องเรียนออนไลน์เพื่อกระตุ้นการเรียนรู้วิชาธรรมวิภาคสำหรับนักเรียนธรรมศึกษาชั้นตรี 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาธรรมวิภาค ธรรมศึกษาชั้นตรี ระหว่างการสอนโดยใช้ห้องเรียนออนไลน์วิชาธรรมวิภาค ธรรมศึกษาชั้นตรี กับการสอนแบบปกติ 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาธรรมวิภาค ธรรมศึกษาชั้นตรี ก่อนเรียนและหลังเรียนที่สอนโดยใช้ห้องเรียนออนไลน์วิชาธรรมวิภาค ธรรมศึกษาชั้นตรี โดยดำเนินการตามระเบียบวิธีวิจัยเชิงทดลอง (Experimental Research) กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนวัดเวฬุวนาราม ตำบลลำพญา อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม ปีการศึกษา 2563 จำนวน 50 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มทดลอง 25 คน และกลุ่มควบคุม 25 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้, ห้องเรียนออนไลน์วิชาธรรมวิภาค ธรรมศึกษาชั้นตรี (Google Classroom), และแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การทดสอบค่าที (t-test for Independent Group) และการทดสอบค่าที (t-test for Dependent Group)

            ผลการวิจัย พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาธรรมวิภาค ธรรมศึกษาชั้นตรี ของนักเรียนกลุ่มทดลองที่สอนโดยใช้ห้องเรียนออนไลน์วิชาธรรมวิภาค ธรมมศึกษาชั้นตรี สูงกว่ากลุ่มควบคุมที่สอนแบบปกติ (  = 30.44 :  = 26.00) ตามลำดับ และผลการเปรียบเทียบโดยใช้ค่าทดสอบ t-test for Independent Group พบว่า คะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนกลุ่มทดลองสูงกว่ากลุ่มควบคุม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาธรรมวิภาค ธรรมศึกษาชั้นตรี ของนักเรียนที่สอนโดยใช้ห้องเรียนออนไลน์วิชาธรรมวิภาค ธรรมศึกษาชั้นตรี หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน (  = 45.75 :  = 20.75) ตามลำดับ และผลการเปรียบเทียบโดยใช้ค่าทดสอบ t-test for Dependent Group พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาธรรมวิภาค ธรรมศึกษาชั้นตรี ของนักเรียนกลุ่มทดลอง มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังทดลองสูงกว่าก่อนการทดลอง แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นักเรียนกลุ่มทดลองที่สอนโดยใช้ห้องเรียนออนไลน์วิชาธรรมวิภาค ชั้นตรี มีความพึงพอใจต่อบทเรียนสำเร็จรูป วิชาธรรมวิภาค ธรรมศึกษาชั้นตรี โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (  = 3.89) เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า อยู่ในระดับมากทุกข้อ นักเรียนพอใจที่ได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมต่าง ๆ (  = 4.25) นักเรียนเรียนรู้ด้วยความสนุกสนานเพลิดเพลิน (  = 4.07) และนักเรียนนำความรู้ไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินชีวิตได้ (  = 3.98) ตามลำดับ

References

กิตติศักดิ์ สิงห์สูงเนิน และณมน จีรังสุวรรณ. (2558). Google for Education กับการปฏิรูปการศึกษาไทย. วารสารพัฒนาเทคนิคการศึกษา, ปีที่ 28 ฉบับที่ 96.
จีรารัตน์ ชิรเวทย์. (2542). บทเรียนสำเร็จรูป. นครปฐม : คณะครุศาสตร์ สถาบันราชภัฏนครปฐม.
ชม ภูมิภาค. (2542). เทคโนโลยทีางการสอนและการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สํานักพิมพประสานมิตร.
ทิศนา แขมมณี. (2544). 14 การสอนสำหรับครูมืออาชีพ. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย.
บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2530). นวัตกรรมทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพเจริญ วิทยการพิมพ.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร : สุวีริยาสาส์น.
ประหยัด จิระวรพงษ์. (2529). หลักการและทฤษฎีเทคโนโลยีทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : ชุมนุม สหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2542). การศึกษากับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร : มูลนิธิ พุทธธรรม.
พระพิศาล ปภสฺสโร (อนัตย์). (2556). “ศึกษาสภาพปัญหาการจัดการเรียนรู้ธรรมศึกษาทุกระดับชั้น อำเภอ บรรพตพิสัย จังหวัดนครสวรรค์”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระวันชัย ปริปุณฺโณ (เสมแจ้ง). (2555). “ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนการสอนธรรม ศึกษาโรงเรียน มัธยมศึกษา อำเภอเมือง จังหวัดสมุทรปราการ”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตร มหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
เพ็ญศรี สร้อยเพชร. (2542). บทเรียนสำเร็จรูป. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2542.
มาเรียม นิลพันธุ์. (2547). เอกสารประกอบการสอน, รายวิชา 464 460 วิธีวิจัยทางพฤติกรรมศาสตร์ และสังคมศาสตร์ (Research Methodology in Behavioral and Social Sciences). นครปฐม : คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วสมน มณีดำ. อ้างใน, พเยาว์ ตัณฑ์เจริญรัตน์. (2549). “การเปรียบเทียบความเข้าใจในการอ่านและเจตคติที่ มีต่อการอ่านภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 โรงเรียนอนุบาลโพธาราม สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ราชบุรี เขต 2 ที่ได้รับการสอนโดยใช้บทเรียนสำเร็จรูปกับการสอน แบบปกติ”. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้าน จอมบึง.
วัฒนาพร ระงับทุกข์. (2544). เทคนิคและกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญตามหลักสูตรการศึกษา ขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2544. กรุงเทพมหานคร : พริกหวานกราฟฟิค.
สุชาติ บุษย์ชญานนท์. (2555). “การปรับเปลี่ยนทัศนคติและพฤติกรรมของนักศึกษาผู้ผ่านการสอบธรรม ศึกษาในมหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี”. รายงานการวิจัย. คณะมนุษยศาสตร์และ สังคมศาสตร์ : มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี,.
สำนักงานเลขาธิการมหาเถรสมาคม, มติมหาเถรสมาคม เรื่อง บันทึกข้อตกลงความร่วมมือในการจัดการ เรียนการสอนธรรมศึกษาในสถานศึกษา. สืบค้น 13 เมษายน 2558. จาก
http://www.vitheebuddha.com/files/news/afca24485dfd99769a8109e1f7486 bab.pdf
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษากระทรวงศึกษาธิการ. (2552). “รายงานการประเมินสถานภาพการมีส่วน ร่วมของสถาบันพระพุทธศาสนาในการส่งเสริมการจัดการศึกษา”. รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : บริษัท เพลิน สตูดิโอ จำกัด, 2552.
สำนักงานแม่กองธรรมสนามหลวง. (2556). เรื่องสอบธรรมของสนามหลวงแผนกธรรม พ.ศ.2556. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาการจัดการศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรม และแผนกบาลี พ.ศ. 2558–2562. สืบค้นเมื่อ 17 เมษายน 2558. จาก
http://www.onab.go.th/index.php?option=com_content&view=article&id=9680: 2014-10-06-14-58-07&catid=91:e-book-&Itemid=338
สำนักพัฒนาคุณธรรมจริยธรรม กรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม. (2549). “การศึกษารูปแบบและแนว ทางการพัฒนาการเรียนการสอนธรรมศึกษาในสังคมไทย : ศึกษาสภาพความเป็นจริงและความ คาดหวังของผู้เรียนธรรมศึกษาทุกระดับช่วงชั้นปีงบประมาณ 2549”. รายงานการวิจัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศ ไทย จำกัด.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2021

ฉบับ

บท

บทความวิจัย