ผลการให้คำปรึกษาตามหลักไตรสิกขาที่มีต่อระดับความวิตกกังวลจากการแพร่ระบาดโรคโควิด-๑๙ ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสิริรัตนาธร กรุงเทพมหานคร
EFFECTS OF TRISIKKHA COUNSELING TOWARDS ANXIETY LEVEL DUE TO THE IMPACT OF THE COVID-19 OUTBREAK OF LOWER SECONDARY SCHOOL STUDENTS IN SIRIRATTANATHORN SCHOOL BANGKOK
คำสำคัญ:
การให้คำปรึกษา, หลักไตรสิกขา, ความวิตกกังวล, โรคโควิด-19บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพความวิตกกังวลจากผลกระทบการแพร่ระบาดโควิด-19 ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสิริรัตนาธร กรุงเทพมหานคร เพื่อพัฒนาโปรแกรมการให้คำปรึกษาตามหลักไตรสิกขา และเพื่อเปรียบเทียบระดับความวิตกกังวลจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ก่อนและหลังการใช้โปรแกรมให้คำปรึกษาตามหลักไตรสิกขา โดยใช้การวิจัยแบบผสมวิธี ใช้วิธีการเชิงปริมาณเพื่อขยายผลการวิจัยเชิงคุณภาพ ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ได้แก่ นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้น โรงเรียนสิริรัตนาธร ที่ไม่ได้อยู่ในกลุ่มทดลอง โดยกลุ่มตัวอย่าง ใช้การสุ่มอย่างง่ายโดยการจับฉลาก ได้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/9 จำนวน 40 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสัมภาษณ์เชิงลึก 2) โปรแกรมการให้คำปรึกษาตามหลักไตรสิกขา 3) แบบสอบถามวัดระดับความวิตกกังวล สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐาน โดยใช้ t-test ผลการวิจัย พบว่า 1. มีความเปลี่ยนแปลงในการดำเนินชีวิต การเงิน ความวิตกกังวลและความเบื่อจากการได้พบปะผู้คนหรือออกจากบ้านที่น้อยลง และความกังวลด้านสุขภาพ ส่วนในด้านแนวทางการดำเนินชีวิต พบว่า ใช้ชีวิตอยู่ในที่พักเป็นหลัก ออกจากที่พักเมื่อจำเป็นและสวมหน้ากากอนามัยทุกครั้ง วางแผนชีวิตและทำกิจกรรมเพื่อลดความวิตกกังวล 2. โปรแกรมการให้คำปรึกษาตามหลักไตรสิกขา ประกอบด้วย การให้คำปรึกษาตามหลักอธิศีลสิกขา อธิจิตสิกขา และอธิปัญญาสิกขา และผลระดับความวิตกกังวลจากการแพร่ระบาดโควิด-19 ก่อนการใช้โปรแกรมให้คำปรึกษาตามหลักไตรสิกขา พบว่า ด้านความวิตกกังวลที่แสดงออกทางกาย มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก ( = 4.08 S.D. = 0.43) ด้านความวิตกกังวลที่แสดงออกทางอารมณ์ มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( = 3.45 S.D. = 0.57 ด้านการเผชิญสถานการณ์อย่างมีเหตุผล มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง ( = 2.82 S.D. = 0.99) 3. หลังการให้คำปรึกษาผู้เรียน มีระดับความวิตกกังวลที่แสดงออกทางกายลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีระดับความวิตกกังวลที่แสดงออกทางอารมณ์ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และมีระดับการเผชิญสถานการณ์อย่างมีเหตุผลสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
References
Department of Disease Control, Ministry of Public Health. (2020). “Corona Virus Infection 2019 Coronavirus Disease 2019(COVID-19)”, [Online]. Accessed 1 September 2020. From
https://ddc.moph.go.th/viralpneumonia/file/g_km/handout001_12032020.pdf
Department of Disease Control, Ministry of Public Health. Knowledge media about coronavirus disease 2019 for the public. [Online]. Accessed
September 2020. From https://ddc.moph.go.th/ viralpneumonia/info.php
Nongluck Wiratchai. (2009). Research and Statistics: Questions and Answers. Bangkok: Department of Research and Educational Psychology, Faculty of Education, Chulalongkorn University.
Somdej Phra Buddhakosachan. (2001). Buddha Dharma (original version); Trisikkha: the education system, which improves the whole system of life. (10th ed.). Bangkok: Dharma Council.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2022 วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.