การศึกษาคุณภาพชีวิตการทำงานและวัฒนธรรมในสถานศึกษาที่ส่งผลต่อความผูกของบุคลากรในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา นครสวรรค์เขต 2

ผู้แต่ง

  • ทศพล ธีฆะพร รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันรัชต์ภาคย์
  • ประดิษฐ์ ดีวัฒนกุล
  • เยาวลักษณ์ ชาวบ้านโพธิ์

คำสำคัญ:

คุณภาพชีวิตการทำงาน, วัฒนธรรมในสถานศึกษา, ความผูกพันของบุคลากรในโรงเรียน

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับวัฒนธรรมโรงเรียน และระดับความผูกพันต่อโรงเรียนของครูและบุคลากรทางการศึกษา 2) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อโรงเรียนของ ครูและบุคลากรทางการศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่  ผู้บริหาร และครูผู้สอนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 จำนวน 260 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามการวิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์ค่าความถี่ (frequency) ค่าร้อยละ                                                                                                 (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson Product Moment Correlation) และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน (stepwise multiple regression analysis)

            ผลการวิจัยพบว่า

            1) ระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของครูและบุคลากรทางการศึกษาโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2 พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก วัฒนธรรมโรงเรียนของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา  พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  2) ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานของครูและบุคลากรทางการศึกษากับความผูกพันต่อโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครสวรรค์ เขต 2  พบว่า ตัวแปรคุณภาพชีวิตการทำงานของครูและบุคลากรทางการศึกษา มีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ในภาพรวมทุกตัวแปรอยู่ในระดับสูง  และความสัมพันธ์ระหว่างวัฒนธรรมโรงเรียนกับความผูกพันต่อโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา พบว่า ตัวแปรวัฒนธรรมโรงเรียนมีความสัมพันธ์กับความผูกพันต่อโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา  ในภาพรวมทุกตัวแปรอยู่ในระดับสูง และผลการสร้างสมการพยากรณ์ที่เกิดจากคุณภาพชีวิตการทำงานของครูและบุคลากรทางการศึกษากับความและวัฒนธรรมโรงเรียนที่ส่งผลต่อความผูกพันของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา พบว่า ความผูกพันของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ .01 สามารถอธิบายการผันแปรของความผูกพันของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา ร้อยละ 99.9 (R2 = .999)

References

จารุวรรณ โหรา.(2541). คุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กรของอาจารย์สถาบัน เทคโนโลยีราชมงคล ศึกษากรณีเฉพาะวิทยาเขตนนทบุรี และวิทยาเขตเพาะช่าง. วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Jaruwan Hora (1998). Quality of working life and engagement with the organization of the institute lecturers. Rajamangala Technology Study a specific case for Nonthaburi campus And campus cultivating technicians Master of Science Thesis, Kasetsart University.
ณัฎฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2551). พฤติกรรมองค์การ (Organizational Behaviors). กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น.
Natthaphan Khajornnan. (2008). Organization Behavior (Organizational Behaviors). Bangkok: SE-EDUCATION.
ปรีชา วงษาบุตร. (2553). คุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานบริษัท คาร์เปทอินเตอร์แนชั่นแนล ไทยแลนด์ จำกัด (มหาชน). การศึกษาค้นคว้าอิสระ บธ.ม. (บริหารธุรกิจ). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
Preecha Wongsabutr. (2010). Quality of working life and organizational commitment of the employees. Carpet International Thailand Public Company Limited. Independent Study, M.B.A. (Business Administration). Bangkok: Graduate School Kasetsart University.
ปวีณา กรุงพลี. (2552). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณภาพชีวิตการทำงานกับความผูกพันต่อองค์กรของ เจ้าหน้าที่สำนักกษาปณ์. วิทยานิพนธ์ บธ.ม. (บริหารธุรกิจ). ปทุมธานี: บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์.
Pavena Krung Pli. (2009). Relationship between quality of work life and commitment to the organization of Royal Mint Staff Master's Thesis (Business Administration). Pathum Thani: Graduate School Valaya Alongkorn Rajabhat University Under Royal Patronage.
พิสิฏฐ วงศ์นากนากร. (2549). คุณภาพชีวิตในการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การ ของพนักงานธนาคารนครหลวงไทย จำกัด [มหาชน] : ศึกษาเฉพาะกรณี สาขาในสังกัดสำนักงานเขต 1 /. มหาวิทยาลัยรามคำแหง,:ม.ป.ท.
Phisitthawong Nakanakorn. (2006). Quality of life in work and commitment to the organization. Of employees of Siam City Bank Public Company Limited: a case study Branches under the Office of District 1 / Ramkhamhaeng University,: PSU.
ลัดดา ดวงรัตน์ (2552). ผลกระทบของวัฒนธรรมองค์กรและคุณภาพชีวิตในการทำงานที่มีผลต่อ ความผูกพันในองค์กรของผู้สอบบัญชีสหกรณ์ในสำนักงานตรวจบัญชีสหกรณ์.วิทยานิพนธ์ บช.ม. (การบัญชี). มหาสารคาม : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
Ladda Duangrat (2009). Effects of organizational culture and quality of work life on the Organizational commitment of cooperative auditors in the Cooperative Auditing Office. Thesis, M.Sc. (Accounting). Mahasarakham: Graduate School Mahasarakham University.
สุดารัตน์ ครุฑสึก. (2557). ปัจจัยคุณภาพชีวิตในการทำงานของพนักงานความผูกพันต่อองค์กร และการสื่อสารในองค์กรส่งผลต่อการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์กรของพนักงานเอกชนใน เขตกรุงเทพมหานคร. การศึกษาค้นคว้าอิสระ บธ.ม.(บริหารธุรกิจ). กรุงเทพฯ : บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
Sudarat Khrutasud. (2014). Factors of quality of life in the work of employees, engagement with the organization. And organizational communication affect the corporate membership of the private sector in Bangkok Independent study M.B.A. (Business Administration). Bangkok: Graduate School Bangkok University.
สุพจน์ นาคสวัสดิ์. (2559). การสำรวจความผูกพันในการทำงานของพนักงาน (Employee Engagement Survey). กรุงเทพฯ : เอช อาร์ เซ็นเตอร์.
Suphot Naksawat. (2016). Employee Engagement Survey. Bangkok: HR Center.
อมรรัตน์ อ่อนนุช. (2546). คุณภาพการทำงานกับความผูกพันต่อองค์การของพนักงานระดับปฏิบัติการ กรณีศึกษาโรงงานอุตสาหกรรมแห่งหนึ่ง. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ, คณะศิลปะศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Amonrat On Nut. (2003). Quality of work and organizational commitment of operational employees. A case study of an industrial factory Master of Arts Thesis Industrial and Organizational Psychology, Faculty of Arts Thammasat University.
Buchanan, B. (December 1974). “Building Organizational Commitment: The Socialization of Managers in Work Organization,” Administrative Science Quarterly. 19 (4): 533 - 546.
Danna, K., & Griffin, R. W. (1999). Health and well-being in the workplace: A review and synthesis of the literature. Journal of Management, 25(3), pp. 357 - 384.
Daud. (2010). Investigating the Relationship between Quality of Work Life and Organizational Commitment amongst Employees in Malaysian Firms. Vol 5, No 10 (2010)
Gnanayudam, J., & Dharmasiri, A. (2007). The influence of quality of work-life on organizational commitment: A study of the apparel industry. Sri Lankan Journal of Management, 12(3, 4), 117–140.
Hanson, E.M. (1991). Educational Administration and Organizational Behavior. Boston, MA: Allyn and Bacon.
Hoy, W. K., & Miskel, C. G. (2008). Educational Administration: Theory, Research, and Practice. New York: McGraw-Hill.
Robbins, S. P. and Coulter, M. (2008). การจัดการและพฤติกรรมองค์การ แปลจากเรื่อง Management โดย วิรัช สงวนวงศ์วาน พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: เพียร์สัน เอ็ดดูเคชั่น อินโดไชน่า.
Sergiovanni, T.J. and Strarratt, R.J. (1988). Supervision Human Perspectives. 4 th ed. New York: McGraw Hill.
Sirgy, M.J. and et al. (September 2001). “A New Measure of Quality of Work Life (QWL) Based on Need Satisfaction and Spillover Theory,” Social Indicators Research. 55 (2): 241-302.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2021

ฉบับ

บท

บทความวิจัย