แนวทางการพัฒนางานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรีและพระนครศรีอยุธยา

ผู้แต่ง

  • ชนกมณฐ์ แสงสี
  • ทินกฤตพัชร์ รุ่งเมือง

คำสำคัญ:

ระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน, แนวทางการพัฒนา, การสนทนากลุ่ม

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีการศึกษาวิจัยด้วยวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรีและพระนครศรีอยุธยา 2) เพื่อศึกษาสภาพที่พึงประสงค์ในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรีและพระนครศรีอยุธยา 3) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรีและพระนครศรีอยุธยา ด้วยกระบวนการพัฒนาคุณภาพและการสนทนากลุ่มในการสร้างแนวทางการพัฒนางานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรีและพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่างแบ่งเป็น กลุ่มตัวอย่างที่ 1 ผู้อำนวยการสถานศึกษาหรือรองผู้อำนวยการฝ่ายกิจการนักเรียนและ ครู จำนวน 353 คน กลุ่มตัวอย่างที่ 2 ผู้เชี่ยวชาญงานด้านระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำนวน 7 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) แบบสอบถามสภาพปัจจุบัน สภาพที่พึงประสงค์ในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน 2) แบบสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าดัชนีความต้องการจำเป็น

ผลการศึกษาพบว่า

  1. สภาพปัจจุบันในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรีและพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 4.405)
  2. สภาพที่พึงประสงค์ในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรีและพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก (= 3.91 เมื่อการวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น (PNImodified) ในการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรีและพระนครศรีอยุธยา เรียงลำดับความต้องการจำเป็นจากมากไปหาน้อย โดยเรียงลำดับดังนี้ คือ ด้านที่มีค่า (PNImodified) สูงสุด 2 ด้าน คือ 1) ด้านการคัดกรองนักเรียน (PNImodified = 0.119) และ 2)  ด้านการส่งเสริมนักเรียน (PNImodified = 0.119) 3) ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหานักเรียน (PNImodified = 0.112)   4) ด้านการส่งต่อ (PNImodified = 0.112) และ 5) ด้านการรู้จักนักเรียนเป็นรายบุคคล (PNImodified = 0.096)
  3. ผลการประเมินความเหมาะสม แนวทางการพัฒนางานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษานนทบุรีและพระนครศรีอยุธยา พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.836)

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2547). การดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาสำหรับสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษาสังกัดคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน.กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์ (ร.ส.พ.).
จุฑาทิพย์ พงษา. (2558). สภาพ ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 19. (วิทยานิพนธ์ วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).
นุชรีย์ ผึ้งคุ้ม. (2560). ปัญหาและแนวทางการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนสอยดาววิทยา จังหวัดจันทบุรี สำกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยบูรพา).
ปิยะพร ป้อมเกษตร์. (2559). การนำเสนอกลยุทธ์การบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนเพื่อ เสริมสร้างคุณภาพของนักเรียนมัธยมศึกษา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย).
เพลินพิศ สิงห์คำ. (2560). การพัฒนาแนวทางการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. (วิทยานิพนธ์ศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2558). สภาพความสำเร็จและแนวทางการเสริมสร้างความเข้มแข็งระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์ชุมชนสหกรณ์ การเกษตรแห่งประเทศไทย.
อัษฎายุท โพธิ์นอก. (2558). สภาพ ปัญหาและแนวทางการพัฒนาการดำเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 20. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม).
Krejcie, R.V. & Morgan, D.W. (1986). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2021

ฉบับ

บท

บทความวิจัย