กระบวนการดูแลผู้เสียหายคดีถูกล่วงละเมิดทางเพศในโรงพยาบาลที่ไม่มีแพทย์นิติเวช กรณีศึกษาโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17
คำสำคัญ:
กระบวนการดูแล ,ผู้เสียหายคดีถูกล่วงละเมิดทางเพศ,ข่มขืนกระทำชำเราบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการจำเป็น และนำเสนอกระบวนการดูแลผู้เสียหายคดีถูกล่วงละเมิดทางเพศในโรงพยาบาลที่ไม่มีแพทย์นิติเวช กรณีศึกษาโรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 17 เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ประชากรที่ศึกษาคือบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการ จำนวน 100 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 7 คน เครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติบรรยาย ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ดัชนีความสำคัญของลำดับความต้องการ(PNI Modified) และการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
- สภาพปัญหาของกระบวนการ 6 ขั้นตอนคือ งาน OSCC เปิดบริการเฉพาะในเวลาราชการ ขาดผู้เชี่ยวชาญในสาขาที่เกี่ยวข้อง ขาดการเชื่อมโยงด้านกฎหมาย บุคลากรขาดความรู้และแนวทางปฏิบัติ ทัศนคติในด้านลบของครอบครัวและชุมชน ปัญหาทรัพยากรพื้นฐานในการบริหาร คือ การทำงานไม่เป็นสหสาขาวิชาชีพ มีงบประมาณที่จำกัด ขาดแคลนเครื่องมือที่ทันสมัย และขาดระบบการบริการแบบบูรณาการ
- การประเมินความต้องการจำเป็นของกระบวนการอยู่ในระดับมาก ในสภาพที่ควรจะเป็นพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด(PNI Modified 0.222) ขั้นตอนที่ต้องการมากที่สุดคือ ขั้นตอนการวางแผนการดูแลผู้ป่วยหรือผู้รับบริการ(PNI Modified 0.347)
- กระบวนการดูแลผู้เสียหายคดีถูกล่วงละเมิดทางเพศ 6 ขั้นตอนคือ 1)การเข้าถึงและเข้ารับบริการ คือส่วนกลางควรมีการเปิดศูนย์บริการนิติเวชมากขึ้น 2)การประเมิน คือมีแนวทางการทำงานที่เป็นระบบ 3)การวางแผนการดูแลและการจำหน่ายคือส่งบุคลากรอบรมเฉพาะทาง 4)การดูแลทั่วไป และการดูแลที่มีความเสี่ยงสูงคือมีการทำงานของสหสาขาวิชาชีพ 5)การให้ข้อมูลและเสริมคือจัดทำคลินิกเฉพาะ 6) การดูแลต่อเนื่อง คือการบริการเชิงรุก
References
จินตนา บริบูรณ์. (2554). “การศึกษาสมรรถนะของบุคลากรที่ปฏิบัติงานศูนย์พึ่งได้ของโรงพยาบาลตำรวจ.” วารสารโรงพยาบาลตำรวจ, 4, 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม):บทคัดย่อ.
ปราณี อัศวรัตน์. (2555) “บันทึกทางการพยาบาล หลักการบันทึกเพื่อการใช้ประโยชน์ทางกฎหมาย.”วารสารพยาบาลสภากาชาดไทย, 5, 2 (กรกฎาคม – ธันวาคม): บทคัดย่อ.
ปัจจิกาล สุวรรณชาศรี. (2559). “ความเข้าใจของพยาบาลห้องอุบัติเหตุและฉุกเฉิน โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าเกี่ยวกับหลักฐานทางนิติเวชและนิติวิทยาศาสตร์.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
พรรณวิไล ตั้งสุลพานิชย์. (2559). “หลักการซักประวัติและตรวจร่างกายในภาวะฉุกเฉิน”กรุงเทพฯ: บจก.ปัญญมิตร การพิมพ์.
แพทยสภา. (2563). สถิติแพทย์เฉพาะทาง.เข้าถึงเมื่อ พฤศจิกายน.เข้าถึงได้จาก https://tmc.or.th/statics.php.
วราภรณ์ ช่างสมบุญ. (2558) “การสร้างรูปแบบแบบบันทึกการตรวจร่างกายผู้เสียหายทีถูกข่มขืนกระทำชำเราในงานนิติเวช ของโรงพยาบาล” วิทยานิพนธ์ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชานิติวิทยาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ศิริชัย กาญจนวาสี. (2541). ทฤษฏีการประเมิน. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศุภกานต์ ไชยนวล. (2562). “โครงการเสนอแนะ “การออกแบบระบบบริการและภาพลักษณ์ของศูนย์พึ่งได้และชันสูตร โรงพยาบาลตำรวจ (OSCC) เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการให้บริการ.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาศิลปะการออกแบบ คณะมัณฑนศิลป์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล(องค์การมหาชน). (2561) มาตรฐานโรงพยาบาลและบริการสุขภาพ ฉบับที่ 4.นนทบุรี : สถาบันรับรองคุณภาพสถานพยาบาล(องค์การมหาชน).
สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุข.(2555). คู่มือคำแนะนำการบันทึกเวชระเบียนสำหรับแพทย์. นนทบุรี: สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
สำนักบริหารการสาธารณสุข สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข.(2557). คู่มือการปฏิบัติงานนิติเวช (สำหรับแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์) กระทรวงสาธารณสุข.นนทบุรี:สำนักงานกิจการโรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2550). การวิจัยประเมินความต้องการจำเป็น.กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
แสวง บุญเฉลิมวิภาส. (2546). กฎหมายและข้อควรระวังของผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์-พยาบาล. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสำนักพิมพ์วิญญูชน จำกัด.
อำภารัตน์ อ่อนเปรี้ยว. (2559). “ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติงานของพยาบาลวิชาชีพในการเก็บพยานหลักฐาน.” วารสาร มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา,9 ,2 (กรกฎาคม – ธันวาคม): บทคัดย่อ
Grisso, T. (2009). “Police-Induced Confessions: Risk Factors and Recommendations.” American Psychology-Law Society/Division 41 of the American Psychological Association.
Nazarloo, L. F. (2015). “Emergency Department Nurses' Knowledge about Forensic Nursing.” J Holist Nurse Midwifery,27, 3: 27-36.
Aktas, N. (2017). “Characteristics of the Traumatic Forensic Cases Admitted To Emergency Department and Errors in the Forensic Report Writing.” Bull Emergency Trauma, 6,1: 64-70.
Mette L. B. G., (2018). “The significance of the forensic clinical examination on the judicial assessment of rape complaints – developments and trends.” Forensic Science International, 297: 90–99. Doi:https://doi.org/10.1016/j.forsciint.2019.01.031