Covid-2019 : โอกาสและวิธีการพัฒนาตนเองตามแนวพระพุทธศาสนา

ผู้แต่ง

  • พระครูสุภัทรวชิรานุกูล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่
  • เยื้อง ปั้นเหน่งเพชร มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตเชียงใหม่

คำสำคัญ:

Covid-2019, วิธีการพัฒนาตนเอง, พระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

Covid-2019 เป็นภัยคุกคามร้ายต่อมวลมนุษยชาติที่เป็นอันตรายถึงชีวิตหากตั้งอยู่ในความประมาทในการดำเนินชีวิตอย่างมาก แม้ว่าจะทางกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุขระบุวิธีป้องกัน Covid-2019 ว่า การใส่หน้ากากอนามัย ล้างมือหรือเช็ดด้วยแอลกอฮอล์ ไม่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยที่ไอ จาม หลีกเลี่ยงการอยู่ในสถานที่แออัด งดเดินทางไปยังพื้นที่เสี่ยง ไม่นำมือมาสัมผัสตา จมูก ปาก ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น เป็นต้น แต่ก็ยังมีการระบาดของโรคดังกล่าวอย่างมาก ถึงอย่างไรก็ตามทัศนะทางพระพุทธศาสนาถือว่าเป็นโอกาสของชาวพุทธที่สามารถจะพัฒนาตนเองได้ในสถานการณ์ดังกล่าว ได้แก่ 1.การดำรงตนอยู่ในความไม่ประมาท 2.การอาศัยอยู่ในพื้นที่สมควร 3.การใช้ทรัพยากรให้น้อยลง 4.การหลีกเร้นเพื่อค้นหาตนเอง และ5.การรักษาความสะอาด แนวคิดทั้ง 5 ประการดังกล่าวสามารถลดการเชื้อโรคระบาด Covid-2019  ไม่ให้แพร่กระจายไปยังผู้อื่นและก่อให้เกิดการพัฒนาตนเองตามแนวพระพุทธศาสนาให้เจริญยิ่งๆขึ้นไป

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2535). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาเตปิฏกํ 2500. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,
________. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย,
กองโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม.(2563). แนวทางการดำเนินการเรื่องโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 สำหรับสถานประกอบการ. กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข.
จำนง ทองประเสริฐ. (2547). รวมบทความสารคดี เชิงศาสนา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ ดวงแก้ว.
จิตติมา สุนทรรสและ และ พระมหามิตร ฐิตปญฺโญ. (2563). การพัฒนาตนเพื่อการบรรลุเป้าหมายสูงสุดของชีวิตตามหลักพุทธธรรม. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น. ปีที่ 7. ฉบับที่ 4. (เดือนตุลาคม – ธันวาคม) : 68-69.
ธนพล วิยาสิงห์. (2557). พระพุทธศาสนากับการพัฒนาที่ยั่งยืน. วารสารครุศาสตร์ปริทรรศน์. ปีที่ 1. ฉบับที่ 2. (กันยายน-ธันวาคม) : 35.
พระเด่น ชิตมาโร. (2559). การบำเพ็ญบารมีและการบรรลุธรรมของพระองคุลิมาลเถระ. วารสาร มจร บาฬีศึกษาพุทธโฆสปริทรรศน์. ปีที่ 2. ฉบับที่ 2. (กรกฎาคม – ธันวาคม) : 89.
พระอนุสรณ์ ปรกฺกโม (ยิ่งยง). (2558). ศึกษาการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามแนวพุทธปรัชญาเถรวาท. วารสารมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตร้อยเอ็ด. ปีที่ 4. ฉบับที่ 2. (กรกฎาคม-ธันวาคม) : 311.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ.ปยุตโต). (2539). การพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิโกมลคีมทอง.
_______. (2545). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 10. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
_______. (2546). พุทธธรรม (ฉบับเดิม). พิมพ์ครั้ง 10. กรุงเทพมหานคร : บริษัท เอส. อาร์ พริ้นเตอร์ แมส โปรดักส์ จำกัด.
พีรพัฒน์ พันศิริ, ศานติกร พินยงค์. การพัฒนาตนเองเพื่อความเป็นผู้มีจิตอาสา. [ออนไลน์]. แหล่งข้อมูล : http://pws.npru.ac.th/pheerathano/data/files/บทที่%203%20การพัฒนาตนเองเพื่อความเป็นผู้มีจิตอาสา.pdf [3 พฤษภาคม 2564].
ว.วชิรเมธี ผู้อำนวยการสถาบันวิมุตตยาลัย, ความไม่ประมาท. [ออนไลน์]. : แหล่งข้อมูล https://www.posttoday.com/life/healthy/73099 [3 พฤษภาคม 2564].
สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส, (2477). พุทธศาสนสุภาษิต ธรรมศึกษาชั้นตรี. มูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย.
สุภีร์ ทุมทอง. (2559). ความไม่ประมาท. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัด ภาพพิมพ์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-09-2021

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ