แนวคิดทางจริยธรรมที่ปรากฏในเพลงโคราช

ผู้แต่ง

  • ธารริน คงฤทธิ์ คณะพยาบาลศาสตร์
  • กนกรัตน์ ยศไกร
  • บุญวดี มนตรีกุล ณ อยุธยา
  • อาชว์ภูริชญ์ น้อมเนียน

คำสำคัญ:

จริยธรรม/ เพลงโคราช/ วัฒนธรรม

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาบริบททางสังคมและวัฒนธรรมที่มีผลต่อการเปลี่ยนแปลงของเพลงโคราช  และเพื่อศึกษาแนวคิดทางจริยธรรมที่ปรากฏในเพลงโคราช  ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ  โดยศึกษาวิเคราะห์จากเอกสารในลักษณะของการพรรณนาจริยธรรมที่ปรากฏในเพลงโคราช  เก็บข้อมูลหลักฐานจากเพลงโคราชที่ได้รวบรวมโดยสมาคมเพลงโคราชเพื่อนำมาวิเคราะห์ เพลง  ประกอบกับการสัมภาษณ์จากหมอเพลงโคราช  ผู้ติดตามฟังเพลงโคราช และผู้มีส่วนร่วมในการอนุรักษ์เพลงโคราช

ผลการศึกษาพบว่า  เพลงโคราชที่ได้ถ่ายทอดผ่านหมอเพลงโคราชนั้น  ผู้ประพันธ์เพลงได้สอดแทรกคติสอนใจหรือจริยธรรมไว้ในเพลงนั้นๆ ซึ่งจริยธรรมที่ปรากฏในเพลงโคราช  ในงานวิจัยนี้ ได้แก่  ความรัก  ความเมตตา          การให้ความเคารพ  ความกตัญญูกตเวที  ความเสียสละ  เป็นต้น  แม้ว่าวันเวลาเปลี่ยนแปลงไป  เพลงโคราช วัฒนธรรมโคราชก็ได้เปลี่ยนไปตามยุคสมัย  เพลงโคราชก็เช่นกันยังคงมีผู้สืบทอดและถ่ายทอดอยู่  เพราะพลังศรัทธาที่มีต่อท้าวสุรนารี  เพลงโคราชจึงยังคงอยู่คู่เมืองโคราชสืบไป

ข้อเสนอแนะจากงานวิจัยนี้  ผู้วิจัยมีความเห็นว่า  การศึกษาวิเคราะห์เนื้อเพลงโคราชเป็นงานชิ้นหนึ่งที่น่าสนใจ  ความหลากหลายของผลงานนั้นขึ้นอยู่กับความถนัดของแต่ละคน  ว่าสนใจประเด็นในเรื่องใด  และเห็นสมควรว่าควรมีการวิจัยเรื่องเพลงโคราชหลากหลายมิติต่อไป

   

References

กมลทิพย์ กสิภาร์. (2546) บทที่ 2 ความเป็นอยู่ของคนโคราช. ใน ผศ. เปรมวิทย์ ท่อแก้ว (บ.ก.), ของดีโคราช เล่ม 3 สาขาคหกรรมศิลป์ (น. 19). นครราชสีมา: สำนักศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏนครราชสีมา.
คุญช่วย ปิยวิทย์. (2541)., ตอนที่ 3 ประเพณีและความเชื่อของชาวนคราราชสีมา, บทที่ 2 ประเพณีที่เกี่ยวข้องกับชีวิตของชาวโคราช. ใน รศ. ประชา อินทร์แก้ว (บ.ก.), ของดีโคราช เล่มที่ 1 สาขามนุษยศาสตร์ (น. 223). นครราชสีมา:
ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏนครราชสีมา.
เบญจพร เจ๊กจันทึก. (2557). แนวทางการอนุรักษ์และฟื้นฟูภูมิปัญญา การแสดงเพลงโคราชแบบดั้งเดิมของจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม. มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นครปฐม.
ปัทมา บุญอินทร์. (2537). การปรับตัวของเพลงพื้นบ้าน : ศึกษากรณีเพลงโคราช จังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต (มานุษยวิทยา).คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,
กรุงเทพฯ.
พชร สุวรรณภาชน์. (2543). เพลงโคราช : การศึกษาทางมานุษยวิทยาการดนตรี. ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวัฒนธรรมศึกษา. บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยมหิดล, นครปฐม.
พชร สุวรรณภาชน์. (2544). โลกทัศน์ของกลุ่มชาติพันธุ์ในประเทศไทย : เพลงโคราช. นครปฐม: สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท มหาวิทยาลัยมหิดล.
เรขา อินทรกำแหง. (2559). ความเปลี่ยนแปลงที่ส่งอิทธิพลต่ออัตลักษณ์การแสดงเพลงโคราช. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวทิยาลัยศรีนครินทรวิโรฒม, 20 (1), 57.
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม. (2555). เพลงโคราช เล่ม 1 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554.
นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
สำนักศิลปะและวัฒนธรรม. (2555). เพลงโคราช เล่ม 2 เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 7 รอบ 5 ธันวาคม 2554. นครราชสีมา: มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2021

ฉบับ

บท

บทความวิจัย