พุทธวิธีการสอนเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ของผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษา

ผู้แต่ง

  • จักรกฤษณ์ ศักดิ์สุวรรณ พุทธศาสตรมหาบัณฑิต มจร.วัดไร่ขิง
  • กฤติยา ถ้ำทอง
  • พระมหาวีรธิษณ์ วรินฺโท

คำสำคัญ:

พุทธวิธีการสอน, คุณลักษณะอันพึงประสงค์, จริต ๖, จิตวิทยาซาเทียร์, กิจกรรมแนะแนว

บทคัดย่อ

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “พุทธวิธีการสอนเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนในระดับมัธยมศึกษา” มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมเชิงลบ ข้อบกพร่องหรือนิสัยที่ควรปรับปรุงของคนแต่ละจริต, เพื่อสร้างรูปแบบการสอนเชิงพุทธบูรณาการที่สอดคล้องกับลักษณะนิสัย หรือลักษณะการเรียนรู้ของผู้เรียนที่ตามแนวการสอนสมัยใหม่ และเพื่อนำเสนอผลวิเคราะห์คุณลักษณะที่ไม่พึงประสงค์ และการประยุกต์กับรูปแบบการสอนเชิงพุทธบูรณาการเข้ากับศาสตร์การสอนสมัยใหม่ 

            ศึกษาวิจัยโดยใช้การวิจัยแบบผสมผสาน (Mixed Method Research) โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพที่เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างในโรงเรียนอุบลรัตนราชกัญญาราชวิทยาลัย กทม. โดยมีนักเรียน จำนวน ๕๐๐ คน และคณะครูจำนวน ๕ คน โดย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามวัดบุคลิกภาพตามแนวคิดจริต ๖ กับจิตวิทยาซาเทียร์ มีลักษณะเป็นแบบสอบถามปลายปิด และแบบสัมภาษณ์ สถิติ ค่าความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) เปรียบเทียบความแตกต่างโดยการทดสอบสมมติฐานเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่างวิธีการสอนตามแนวทางพุทธวิธีการสอน (Correlations) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้

            ๑.ผลการวิจัยด้านพฤติกรรมเชิงลบ ข้อบกพร่องหรือนิสัยที่ควรปรับปรุงของคนแต่ละจริตโดยใช้แบบทดสอบเพื่อวิเคราะห์และประเมินผล บ่งชี้ลักษณะ อาการ บุคลิกภาพ จากการวิเคราะห์พบว่า พฤติกรรมเชิงลบมีอยู่ในแต่ละบุคคลของคน ๖ จริต โดยที่หากบุคคลใดมีจริตนำที่โดดเด่น ก็มักจะมีพฤติกรรมเชิงลบที่ชัดเจน มีอัตตามาก ส่วนบุคคลใดที่มีจริตหลักกับจริตรอง ในอัตราไล่เลี่ยกัน ก็จะมีพฤติกรรมเชิงลบทั้ง ๒ จริตที่ไม่สุดโต่งชัดเจนมากนัก โดยในแต่ละจริต ยังมีพฤติกรรมเชิงลบที่ฝังลึกลงไปในระดับจิตใต้สำนึกตามโมเดลภูเขาน้ำแข็งของซาเทียร์ด้วย โดยมีความลุ่มลึกที่แตกต่างกันไป

            ๒.ผลการวิจัยด้านลักษณะการเรียนรู้ของผู้เรียนที่มีความแตกต่างกันตามแนวการสอนสมัยใหม่ จากการวิเคราะห์พบว่า รูปแบบการสอนเชิงพุทธบูรณาการคือการผสมผสานพุทธวิธีการสอนเข้ากับลักษณะการเรียนรู้หรือ Learning Type ของคน ๖ จริต มีความพอใจในการเรียนรู้ เปิดใจ รับฟังที่แตกต่างกันไปตามรสนิยม จะเห็นได้ว่าการสอนเชิงพุทธบูรณาการ สามารถออกแบบการสอนให้สอดคล้องกับปริมาณนักเรียนส่วนใหญ่ก่อนได้

            ๓.ผลการวิจัยด้านการนำเสนอผลวิเคราะห์คุณลักษณะที่ไม่พึงประสงค์ และการประยุกต์สอดคล้องกับรูปแบบการสอนเชิงพุทธบูรณาการเข้ากับศาสตร์การสอนสมัยใหม่ พบว่าโปรแกรมการวิเคราะห์ลักษณะนิสัยตามแนวคิดของจิตวิทยาซาเทียร์กับจริต ๖ มุ่งหวังเพื่อสะท้อนตัวตนด้านดีและข้อควรปรับปรุง เพื่อสร้างแบบแผนการพัฒนานิสัยและแนวทางการสอนที่เหมาะสม พัฒนาเป็นองค์ความรู้ใหม่เชิงพุทธบูรณาการและกิจกรรมรูปแบบใหม่ ซึ่งได้จากงานวิจัยนี้ คือ “HABITS โมเดล”

References

บรรณานุกรม

๑. ภาษาไทย
ก. ข้อมูลปฐมภูมิ
มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. พระไตรปิฎกภาษาไทย. ฉบับมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ๒๕๓๙.

ข. ข้อมูลทุติยภูมิ
(๑) หนังสือ :
หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๕๑. กรุงเทพมหานคร : ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย, ๒๕๕๒
กิตติชัย สุธาสิโนบล. การจัดการเรียนการสอนแบบพุทธะเพื่อพัฒนาคุณธรรมจริยธรรมสำหรับนักเรียน. กรุงเทพมหานคร : บริษัท คอมเมอร์เชียล เวิลด์ มีเดีย จำกัด, ๒๕๕๘.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตโต), พุทธวิธีในการสอน, พิมพ์ครั้งที่ ๑๘, กรุงเทพมหานคร : บริษัทพิมพ์สวย จำกัด, ๒๔๔๖,
(๒) วิทยานิพนธ์ / สารนิพนธ์ / บทความวิจัย
ศรีไพร จันทร์เขียว. “การจัดการเรียนรู้พระพุทธศาสนาโดยพุทธวิธีบูรณาการ” วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๘.
พระครูสิริปัญญาภรณ์ (สุธีร์ วิสุทฺโธ/ตันโห). “การศึกษาวิเคราะห์พุทธวิธีการสอนพระราหุล”, สารนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๗.
พระทะนง ชยาภรโณ (วงค์สายะ). “การเรียนการสอนตามแนววิถีพุทธชั้นมัธยมศึกษาปั้ ๑ โรงเรียนน้ำดิบวิทยาคม อำเภอป่าซาง จังหวัดลำพูน”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๔.
พิเชษฐ ยังตรง. “กลยุทธ์การพัฒนาคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในศตวรรษที่ ๒๑”. วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต. วิทยาลัยครุศาสตร์ : มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต, ๒๕๖๐
พระดิฐวัฒน์ อภิวฑฺฒนธมฺโม (ทิพคุณ). “พุทธวิธีการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระสังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ระดับชั้นมัธยมศึกษาของโรงเรียนสังกัดเทศบาลนครขอนแก่น”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๖๑.
พระสรพงณ์ ปญฺญาธโร (จุลละโพธิ). “ศึกษาบุคลิกภาพตามแนวจริต ๖ ของนิสิตคณะพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ห้องเรียนวัดไชยชุมพลชนะสงคราม จังหวัดกาญจนบุรี”. วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๖๑.

(๓) ออนไลน์
โกศล อนุสิ, จริต ๖ ว่าด้วยนิสัยของคน, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.prosofthcm.com/Article/Detail/๑๖๗๓๕.
ดร. เมธา หริมเทพาธิป, นิสัยคืออะไร, [ออนไลน์], แหล่งที่มา: https://www.gotoknow.org/posts/๖๓๗๓๑๕.
กระทรวงศึกษาธิการ. นโยบายการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : สำนักนโยบายและแผนการศึกษาขั้นพื้นฐาน, ๒๕๕๖.
ภิญโญ สาธร. หลักการบริหารการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : วัฒนาพาณิช, ๒๕๒๖.
รัตนะ บัวสนธ์. การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมการศึกษา. กรุงเทพมหานคร : คําสมัย, ๒๕๕๒.
ราชบัณฑิตสถาน. พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒. กรุงเทพมหานคร :
นานมีบุ๊คพับลิเคชั่น, ๒๕๔๖.
Tosi & Carroll. อ้างใน อัมพร เรืองศรี. “การพัฒนารูปแบบการพัฒนาคุณลักษณะของนักเรียนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง”. วิทยานิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาและการพัฒนาสังคม. บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยบูรพา, ๒๕๕๔.

๒. ภาษาอังกฤษ

Cohen Michael. “Effective School” Accumlating Research Finding America Education. (๑๘ January-February , ๑๙๘๒), pp. ๑๓–๑๖.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2021

ฉบับ

บท

บทความวิจัย