แนวทางในการจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลทับคล้อ อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร

ผู้แต่ง

  • บุญโชค บุญมี มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
  • ธนัสถา โรจนตระกูล

คำสำคัญ:

การพัฒนา, ชุมชนเข้มแข็ง, เทศบาลตำบลบ้านกล้วย

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์ คือ  เพื่อศึกษาการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน และ 3. เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืนของเทศบาลตำบลบ้านกล้วย อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ เทศบาลตำบลบ้านกล้วย อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย จำนวน 400 คน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t-test และค่า F-test (One Way ANOVA) ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน : กรณีศึกษาเทศบาลตำบลบ้านกล้วย อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ผลเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน พบว่า ประชาชนที่มี อายุ การศึกษา อาชีพ ระยะเวลาที่อยู่อาศัย ต่างกันมีความคิดเห็นต่อการพัฒนาชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน ของเทศบาลตำบลบ้านกล้วย อำเภอเมืองสุโขทัย จังหวัดสุโขทัย แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ส่วนด้านอื่นไม่แตกต่างกัน     3) แนวทางการจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่นใน 5 มิติ คือ การจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่นด้านแผนชุมชน ด้านการเกษตร ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านการเงินชุมชน และด้านเศรษฐกิจพอเพียง เป็นมิติการจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่นที่ขึ้นอยู่กับบริบทของแต่ละพื้นที่ และความเป็นตัวตนของชุมชนแต่ละแห่ง ซึ่งการจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่นทั้ง 5 ด้านที่เสนอมาโดยสังเขปนั้น เพื่อให้เห็นความสัมพันธ์ของการรวมตัวกันของบุคคล กลุ่ม องค์กร และชุมชนท้องถิ่นในการจัดการตนเองของชุมชนท้องถิ่น โดยอาศัยพลังจากกระบวนการกลุ่มในการผลักดันจนพัฒนาไปสู่ความเป็น “ประชาสังคม” ซึ่งที่ผ่านกระบวนการเรียนรู้ กระบวนการมีส่วนร่วม เพื่อก่อให้เกิดความรู้สึกในความเป็นเจ้าของชุมชนท้องถิ่นร่วมกัน ซึ่งจะเป็นการพัฒนาชุมชนให้มีความเข็มแข็งอย่างแท้จริง

References

กลุ่มงานยุทธศาสตร์และข้อมูลเพื่อการพัฒนาจังหวัด. (2562). แผนพัฒนาจังหวัดสุโขทัย (พ.ศ. 2561- 2565) ฉบับทบทวน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. สุโขทัย : สำนักงานจังหวัดสุโขทัย.
ธนิศร ยืนยง. (2560). การมีส่วนร่วมของประชาชนที่ส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่นในจังหวัดนครนายก. Journal of MCU Nakhondhat Vol.5 No.2 (May – August 2018). มหาวิทยาลัยปทุมธานี.
กรมสำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชม. (2562). การส่งเสริมสัมมาชีพชุมชนสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน. กรุงเทพฯ : กรมการพัฒนาชุมชน.
ศรัณย์ เจริญศิริ, คณะ. (2562). การพัฒนาชุมชนเข้มแข็งอย่างยั่งยืน กรณีเทศบาลตำบลหัวนา อำเภอเมืองหนองบัวลำภู จังหวัดหนองบัวลำภู. บทความวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี. ปีที่ 8 ฉบับที่1 (2019): มกราคม – มิถุนายน
วิสิทธิ์ ยิ้มแย้ม. (2561). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้มแข็งของชุมชนหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงต้นแบบ อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี. วารสารศิลปศาสตร์ประยุกต์, 11(1), 39 -50.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2021

ฉบับ

บท

บทความวิจัย