พระพุทธศาสนากับการแก้ปัญหาข่าวปลอมในสังคมไทย

ผู้แต่ง

  • พระมหาสาทร บุญชูยะ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี

คำสำคัญ:

fake news

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในการแก้ปัญหาข่าวปลอมในสังคมไทย 2) เพื่อจัดกระบวนการเรียนรู้ การบูรณาการพระพุทธศาสนาในการแก้ปัญหาข่าวปลอม และ 3) เพื่อพัฒนารูปแบบการแก้ไขปัญหาข่าวปลอมตามหลักพระพุทธศาสนา การศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยใช้วิธีการวิจัยแบบผสมวิธี และการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากตัวแทนผู้เข้าอบรมหลักสูตรเครือข่ายพระสงฆ์เฝ้าระวังสื่อชวนเชื่อทางศาสนา มุ่งศึกษาหลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในการแก้ปัญหาข่าวปลอม และการจัดกระบวนการเรียนรู้ การบูรณาการพระพุทธศาสนาในการแก้ปัญหาข่าวปลอม จนนำมาพัฒนารูปแบบการแก้ไขปัญหาข่าวปลอมตามหลักพระพุทธศาสนา ผลการวิจัยพบว่า ข่าวปลอมที่เผยแพร่ออกไปสร้างความบิดเบือน ความเข้าใจผิดแก่คนทั่วไปทำให้เกิดความคิดและความเชื่อที่ผิดจนเกิดความสูญเสียทั้งด้านการเงิน สุขภาพ อารมณ์ความรู้สึก หน้าที่การงาน เกิดความขัดแย้งขึ้นในสังคม หลักธรรมทางพระพุทธศาสนาในการแก้ปัญหาข่าวปลอมในสังคมไทยนั้นประกอบด้วยหลักกาลามสูตร 10 หลักโอวาทปาฏิโมกข์ หลักโยนิโสมนสิการ และหลักมุสาวาท เป็นต้น ผู้เสพข่าวควรรู้เท่าทันสื่อก่อนจะช่วยให้ผู้รับมีความเข้าใจในชีวิตและความต้องการของตนที่มีต่อสื่อ ต้องสร้างกระบวนการเรียนรู้ที่จะเกิดสัมฤทธิผลที่ประกอบด้วยสิ่งเร้า เกิดความคิดรวบยอด เกิดกระบวนการเรียนรู้ที่มีการบูรณาการในการแก้ปัญหาข่าวปลอม โดยสรุปได้ 2 ประเด็น คือ 1) สร้างเครื่องมือตรวจสอบข่าวปลอมตามหลักพุทธธรรม และ 2) จัดกิจกรรมสร้างภูมิคุ้มกันข่าวปลอมในชุมชน จึงเกิดศูนย์ประสานงานพระสงฆ์นักสร้างสื่อสร้างสรรค์เพื่อสันติขึ้น วิธีการของศูนย์ประสานงานเพื่อผลิตสื่อธรรมะที่ชาวบ้านอ่านง่าย เข้าใจง่ายเผยแพร่ให้แก่ชาวบ้านได้ทราบจนเป็นอาวุธที่สำคัญที่พระสงฆ์สามารถนำไปเผยแผ่ให้แก่ชาวบ้านให้ความรู้เกี่ยวกับข่าวปลอมได้เป็นอย่างดี

References

เกรียงศักดิ์ เจริญวงศ์ศักดิ์. (2562). ลายแทงนักคิด. พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ : ซัคเซส, 2562.
ผู้ช่วยศาสตราจาร์รัตนา วงศ์คำสิงห์. (2561). พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษาคณะศิลปศาสตร์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชัยภูมิ. งานวิจัย. บัณฑิตวิทยาลัย : สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตชัยภูมิ.
พิชิต วิจิตรบุญยรักษ์. สื่อสังคมออนไลน์ : สื่อแห่งอนาคต. วารสารนักบริหาร เล่มที่ 4. (2554) : 99.
สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา. (2561). กลยุทธ์การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อสังคมออนไลน์ด้วยการใช้เฟซบุ๊ก (Facebook). วารสารสำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภาตามแนวทางการจัดการความรู้ของสำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา ประจำปีงบประมาณ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-09-2021

ฉบับ

บท

บทความวิจัย