การศึกษาความคิดเห็นของประชาชนต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม ของเทศบาลตำบลบางกระทุ่ม อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • ชัยเดชปกรณ์ รองมี มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
  • กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์

คำสำคัญ:

ความคิดเห็นของประชาชน, การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว, วัฒนธรรม

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยเรื่องนี้วัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาความคิดเห็นของประชาชนต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม เพื่อเปรียบเทียบปัจจัยส่วนบุคคลกับความคิดเห็นของประชาชนที่มีต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และเพื่อศึกษาปัญหา อุปสรรค ข้อเสนอแนะในการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของเทศบาลตำบล บางกระทุ่ม อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากประชาชนในเขตเทศบาลตำบลบางกระทุ่ม อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก จำนวน 316 คน เครื่องมือที่ใช้เก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม ใช้สถิติ การแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า t-test ค่า F-test (One-Way ANOVA) จากการทดสอบรายคู่ (Least Significant Difference : LSD.) ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นของประชาชนต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของเทศบาลตำบลบางกระทุ่ม อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) การเปรียบเทียบ พบว่า ประชาชนที่มีอายุ อาชีพ รายได้ต่อเดือนต่างกัน มีความคิดเห็นต่อการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของเทศบาลตำบลบางกระทุ่ม อำเภอบางกระทุ่ม จังหวัดพิษณุโลก โดยภาพรวมแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จึงยอมรับสมมติฐานที่ตั้งไว้ส่วนด้านอื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน 3) ปัญหา อุปสรรค พบว่า ในการพัฒนาแหล่งการท่องเที่ยวนั้นขาดการบูรณาการระหว่างหน่วยงานในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในพื้นที่ คือ ที่ว่าการอำเภอหลังเก่า รวมทั้งขาดการะประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนในพื้นที่รับรู้และรับทราบถึงแผนหรือขั้นตอนในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่ ข้อเสนอแนะ พบว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องควรเข้ามาดำเนินการเพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินการเพื่อพัฒนาที่ว่าการอำเภอหลังเก่าให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งควรประชาสัมพันธ์ ประชุม ประชาคม ชี้แจ้งการดำเนินของทางเทศบาลให้ประชาชนในพื้นที่รับรู้และรับทราบถึงแผนหรือขั้นตอนในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในพื้นที่

References

กมลพิพัฒน์ ชนะสิทธิ์ และนรินทร์ สังข์รักษา. (2561). แนวทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเชิง วัฒนธรรมตลาดน้ำคลองแดน อำเภอระโนด จังหวัดสงขลา. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยธนบุรี, 12(28), 163-176.
เทศบาลตำบลทางกระทุ่ม. แผนพัฒนาท้องถิ่น พ.ศ.2561-2565. พิษณุโลก
บุญพา คำวิเศษณ. (2557). “ข้อมูลพื้นฐานที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศแบบมีส่วนร่วม: กรณีศึกษาชุมชนหมู่บ้านวัดเขา ตำบลโคกกลอย อำเภอตะกั่วท่ง จังหวัดพังงา”. รายงานการวิจัย. ได้รับเงินทุนการวิจัยจากวิทยาลัยราชพฤกษ์.
บุญเลิศ จิตตั้งวัฒนา. (2548). การพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน. กรุงเทพมหานคร: เพรสแอนด์ ดีไซน์.
พระครูภาวนา เจติยานุกิจ. (2559). “การมีส่วนร่วมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมในจังหวัดแพร่”. รายงานการวิจัย. ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยจากสถาบันวิจัยพุทธศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วงศ์ธีรา สุวรรณิน และคณะ. (2557) .“การศึกษาศักยภาพการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมของวัดในจังหวัดปทุมธานี”. วารสารบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏวไลยอลงกรณ์ ปีที่ 8 ฉบับที่ 3 กันยายน-ธันวาคม 2557 : 65-82.
วิไลพร เสถียรอุดร. (2561). ความคิดเห็นของนักท่องเที่ยวชาวไทยที่มีต่อการจัดการการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. การค้นคว้าอิสระศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาการจัดการอุตสาหกรรมการบริการและการท่องเที่ยว). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2021

ฉบับ

บท

บทความวิจัย