แนวทางในการจัดการมูลฝอยของชุมชนแคมป์สน อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยเน้นการมีส่วนรวมของชุมชน

ผู้แต่ง

  • อรรถนันท์ คำยิ่ง เทศบาลตำบลแคมส์สน
  • โชติ บดีรัฐ

คำสำคัญ:

การจัดการมูลฝอย, ชุมชนแคมป์สน, การมีส่วนรวมของชุมชน

บทคัดย่อ

การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการกำจัดมูลฝอยในชุมชนแคมป์ เพื่อศึกษาความคาดหวังการจัดการมูลฝอยของชุมชนแคมป์สน และเพื่อศึกษาแนวทางในการจัดการมูลฝอยของชุมชนแคมป์สน อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี ระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ ประชาชนที่อาศัยอยู่ในตำบลแคมป์สน อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ รวมทั้งสิ้น 353 หลังคาเรือน และผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้เพื่อหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) การมีส่วนร่วมของชุมชนต่อการกำจัดมูลฝอยในชุมชนแคมป์สน อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ความคาดหวังการจัดการมูลฝอยของชุมชนแคมป์สน อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ พบว่า ความคาดหวังการจัดการมูลฝอยของชุมชนแคมป์สน อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3) แนวทางในการจัดการมูลฝอยของชุมชนแคมป์สน อำเภอเขาค้อ จังหวัดเพชรบูรณ์ มีดังนี้ 1. การจัดทำข้อมูลพื้นฐานของชุมชนและสำรวจแหล่งกำเนิดขยะมูลฝอย     2. วิเคราะห์องค์ประกอบมูลฝอยเพื่อได้ข้อมูลด้านลักษณะขยะมูลฝอยที่เกิดขึ้นในชุมชน       3. สร้างการมีส่วนร่วมของชุมชน สร้างเครือข่ายชุมชน โดยเน้นการให้ชุมชน มีส่วนร่วมในการเสนอแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมที่ต้องการดำเนินงานในพื้นที่ 4. องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินงานร่วมกับชุมชน ในการจัดทำแผนงาน/โครงการและดำเนินกิจกรรมตามแผนงาน/โครงการฯ 5. ติดตามและประเมินผลในการดำเนินแผนงาน/โครงการ/กิจกรรรม 6. การสรุปผลการดำเนินงานและขยายผลการดำเนินงานสู่ชุมชนใกล้เคียง

References

กมล ชัยรัตน์. (2558). การปรับปรุงประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานระบบการจัดเก็บขยะมูลฝอยชุมชนโดยวิธีปัญหาการจัดเส้นทางเดินรถกรณีศึกษาเทศบาลตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ดจังหวัดเชียงใหม่. วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต (สาขาวิชาวิศวกรรมและการบริหารการก่อสร้าง). เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
กรมควบคุมมลพิษ. (2551). สรุปสถานการณ์มลพิษของประเทศไทย ปี 2551. กรุงเทพฯ : กรมควบคุมมลพิษ.
ณัฐชนันท์ เชียงพฤกษ์ และคนอื่นๆ. (2558). สภาพการจัดการขยะมูลฝอยชุมชนชนบทบ้านโคกม่วงอำเภอโนนสังจังหวัดหนองบัวลำภู. รายงานการวิจัยคณะสิ่งแวดล้อมและทรัพยากรศาสตร์. มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
เทศบาลตำบลแคมป์สน. (2560). แผนพัฒนาตำบล พ.ศ. 2560-2564. เพชรบูรณ์ : เทศบาลตำบลแคมป์สน.
นรินทร์ชัย พัฒนพงศา. (2547). การมีส่วนร่วมหลักการพื้นฐานเทคนิคและกรณีตัวอย่าง. เชียงใหม่ : สิริลักษณ์การพิมพ์.
นัยนา เดชะ. (2557). การมีส่วนรวมของประชาชนในการจัดการขยะมูลฝอยของชุมชนตำบลเลม็ด อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎรธานี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการสิ่งแวดลอม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร.
ประชาสรรณ์ แสนภักดี. (2552). เทคนิคกระบวนการวางแผนแบบมีส่วนร่วม [ออนไลน์]. แหล่งที่มา:http://www.prachasan.com/mindmapknowledge/aic.html [26 มิถุนายน 2551]
พรีมาดา ฉลองชัยสิทธิ์. (2558).พฤติกรรมและความรู้ความเข้าใจของประชาชนในการจัดการขยะกรณีศึกษาคอนโดมิเนียมเขตห้วยขวาง. การคันคว้าอิสระรัฐศาสตรมหาบัณฑิต (การบริหารจัดการสาธารณะ). กรุงเทพมหานคร : มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

31-12-2021

ฉบับ

บท

บทความวิจัย