การประเมินโครงการบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง กรณีศึกษา อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • ณัฐวิภา ทองรุ่ง มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
  • กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์

คำสำคัญ:

การประเมินโครงการ, การบริการดูแล, ผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง

บทคัดย่อ

งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เพื่อประเมินประสิทธิผลโครงการบริการดูแลระยะยาว สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง โดยการประเมินการใช้รูปแบบจำลอง CIPP MODEL และเพื่อศึกษาปัญหา และอุปสรรคในการดำเนินโครงการบริการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงกรณีศึกษาอำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ จากการแจกแบบสอบถาม กับผู้ประชากรจำนวน 237 คน ใช้สถิติเชิงพรรณนา คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินโครงการบริการดูแลระยะยาว สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง ในเขตพื้นที่อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ โดยภาพรวมอยู่ระดับมาก และความคิดเห็นเกี่ยวกับปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะ คือ ความเข้าใจคลาดเคลื่อนเรื่องของกองทุนเป็นเรื่องของท้องถิ่น เรื่องของการจัดบริการสาธารณสุขเป็นเรื่องของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ทำให้เกิดความล่าช้าในการดูแลกลุ่มเป้าหมายซึ่งส่งผลเสียต่อระบบสุขภาพจึงสนับสนุนให้มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการดำเนินงานของหน่วยงานระดับพื้นที่เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ผลการดำเนินงานระหว่างพื้นที่ที่การดำเนินงานในระดับดีเด่นพื้นที่ที่มีปัญหาเพื่อการปรับวิธีการดำเนินงานที่มีประสิทธิภาพ

References

กระทรวงสาธารณสุข. (2559). เอกสารประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องบูรณาการระบบสุขภาพเขตเมือง. 30 มีนาคม 2559. (อัดสำเนา)
Ministry of Public Health. (2016). Workshop document on urban health system integration. 30 March 2016. (Copy)
ยศ วัชระคุปต์, วรรณภา คุณากรวงศ์, พสิษฐ์ พัจนา,สาวิณี สุริยันรัตก. (2561). ประสิทธิผลของบริการการดูแลระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิง กรณีศึกษาจังหวัดอุดรธานี. วารสารวิจัยระบบสาธารณสุข 12,4 (ต.ค.-ธ.ค. 2561) : 608-624
รวีวรรณ ศิริสมบูรณ์,และณภัทรกฤตจันทวงศ์. (2558). การวิจัยประเมินผลโครงการระบบการดูแลระยะยาว สำหรับผู้สูงอายุทีมีภาวะพึ่งพิง ตำบลบ้านลำ อำเภอวิหารแดง จังหวัดสระบุรี. วารสารวิชาการ สาธารณสุข, 24(6), 1075-1085
Yosawatrakupt, Wanapa Kunakornwong, Pasit Phajana, Sawinee Suriyanrat K. (2018). Effectiveness of Long-Term Care Service for Elderly Dependent Case study of Udon Thani Province. Journal of Public Health System Research 12,4 (Oct-Dec 2018): 608-624
สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์, ไพบูลย์ สุริยะวงศ์ไพศาล,วิชช์ เกษมทรัพย์, วิชัย เอกพลากร และบวรศม ลีระพันธ์. (2561). รายงานฉบับสมบูรณ์: โครงการวิจัยเพื่อพัฒนาระบบการดูแลระยะยาว (Longterm care) สำหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงภายใต้ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. นนทบุรี: สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข.
Sumrit Srithamrongsawat, Paiboon Suriya Wongphaisan, Witch Kasemsap, Wichai Ekaphalakorn, and Borwornsamleiraphan. (2018). Complete report: Research project to develop a longterm care system for people Elderly with dependent conditions under the National Health Security System. Nonthaburi: Health System Research Institute
สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. 2559. คู่มือสนับสนุนการบริหารจัดการระบบบริการดูแลระยะยาวด้านสาธารณสุขสาหรับผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ. กรุงเทพฯ: สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ.
National Health Security Office. 2016. Manual to support the management of public health long-term care system for the dependent elderly in the National Health Security System. Bangkok: National Health Security Office.
Best, J.W. (1970). Research In Education. (2 nd ed). Englewood Cliffs, New Jersey : Prentice Hall.
Stufflebeam, Daniel L., and others. (1971). Educational evaluation and Decision Making. Iilinois : F. E. Peacock Publishing

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-09-2021

ฉบับ

บท

บทความวิจัย