แนวทางในการจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลทับคล้อ อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร

ผู้แต่ง

  • ทาริตา แตงเส็ง มหาวิทยาลัยราชภัฎพิบูลสงคราม
  • กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์

คำสำคัญ:

แนวทาง, การจัดสวัสดิการสังคม, ผู้สูงอายุ

บทคัดย่อ

งานวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เพื่อศึกษาความต้องการในการจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ) เพื่อศึกษาปัญหา และอุปสรรค และเพื่อศึกษาแนวทางในการจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลทับคล้อ อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร ซึ่งเป็นการศึกษาแบบเชิงปริมาณ การจากแบบสอบถาม กับผู้สูงอายุ จำนวน 332 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยพบว่า 1) ความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับแนวทางในการจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลทับคล้อ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ปัญหา และอุปสรรค พบว่า การจัดสวัสดิการสังคมที่เป็นไปตามแนวทางของการให้บริการทางสังคมทั่วไป มีการจัดสวัสดิการสังคมตามกำหนดหลักเกณฑ์ คำสั่ง หรือข้อระเบียบกฎหมาย ซึ่งไม่ได้เกิดจากการนำเอาสภาพปัญหาความเดือดร้อน ความต้องการของกลุ่มเป้าหมายมาเป็นหลักเกณฑ์ในการจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุเท่าที่ควร ยังไม่นำความต้องการและสภาพปัญหาของกลุ่มผู้สูงอายุมาเป็นตัวกำหนดทิศทางหรือแนวทางในการพัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ 3) แนวทางในการจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ พบว่า หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องทำการศึกษา ทบทวน บทบาท และภารกิจหน้าที่ในการจัดสวัสดิการของผู้สูงอายุควรมีการวิเคราะห์แผนงานด้านการจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุ เพื่อนำแผนงานมาบูรณาการในการทำงานภายใต้วัตถุประสงค์เดียวกัน สนับสนุนให้เกิดช่องทางการเข้าถึงบริการของหน่วยงานภาครัฐ และภาคเอกชนมากขึ้น เสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจ ในเรื่องสิทธิต่าง ๆ ที่ควรได้รับ ให้กับผู้สูงอายุได้รับรู้สิทธิได้อย่างถูกต้องและทั่วถึง

References

กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2555). สรุปรายงานการประชุมสมัชชาโลก ว่าด้วยเรื่องผู้สูงอายุครั้งที่ 2 แผนปฏิบัติการนานาชาติเกี่ยวกับผู้สูงอายุแมดรดิ 2002 (ฉบับย่อ) (MadridInternational Plan of Action on Ageing 2002-MIPAA) กองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (UNFPA).
Ministry of Social Development and Human Security. (2012). Summary of the Minutes of the World Assembly. On the Elderly, 2nd International Plan of Action on Aging 2002 (Madrid International Plan of Action on Aging 2002-MIPAA) United Nations Population Fund (UNFPA).
ขนิษฐา นนทบุตรและคณะ . (2550). กรณีศึกษานวัตกรรมการดูแลสุขภาพชุมชน (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ) การดูแลผู้สูงอายุในชุมชน.สถาบันวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพชุมชน.
Khanittha Nonthabutra, et al. (2007). Case study of community health care innovation (Northeastern region) community elderly care, community health system research and development institute.
รุจิราพร ศรีพัทยากร. (2554). แนวทางการจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลทุ่งไหม อำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี. (การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
Rujiraporn Sri Pattayakon (2011). Guidelines for social welfare management for the elderly of the Thung Mai Subdistrict Administrative Organization. Warin Chamrap District Ubon Ratchathani Province (Independent Study, Master of Public Administration, Ubon Ratchathani University). Ubon Ratchathani: Ubon Ratchathani University.
สุดารัตน์ สุดสมบูรณ์. (2557). สวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในประเทศไทย. (การศึกษาวิจัยปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, มหาวิทยาลัยทักษิณ). สงขลา: มหาวิทยาลัยทักษิณ.
Sudarat Sudsomboon. (2014). Social welfare of the elderly in Thailand. (Education, Research, Doctor of Philosophy, Thaksin University). Songkhla: Thaksin University.
เสมอ จัดพล. (2556). การจัดสวัสดิการสังคมเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุในองค์การบริหารส่วนตำบล อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี. (การค้นคว้าอิสระปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี). เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
Always organized Pol. (2013). Social welfare management to improve the quality of life of the elderly in the sub-district administrative organization, Ban Lat District, Phetchaburi Province. (Independent Study, Master of Public Administration, Phetchaburi Rajabhat University). Phetchaburi: Phetchaburi Rajabhat University.
แสงดาว อารีย์เกิดเพียร, (2559). การจัดบริการสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่ตำบลนิคมพัฒนา อำเภอเมือง จังหวัดลำปาง. การค้นคว้าอิสระทางรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต. บัณฑิตวิทยาลัย. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Saengdao Aree Kerdpian, (2016). Social welfare services for the elderly in Nikhom Phatthana Subdistrict, Muang District, Lampang Province. Independent research in the Master of Public Administration. Graduate School. Chiang Mai University.
องค์การบริหารส่วนตำบลทับคล้อ. (2563). แผนพัฒนาท้องถิ่น. องค์การบริหารส่วนตำบลทับคล้อ อำเภอทับคล้อ จังหวัดพิจิตร.
Thap Khlo Sub-district Administrative Organization (2020). Local development plan. Thap Khlo Sub-district Administrative Organization, Thap Khlo District, Phichit Province.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-09-2021

ฉบับ

บท

บทความวิจัย