การพัฒนารูปแบบบรรจุผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าชุมชนยายชา อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • องใบฏีกาณภัทร เพื๊อกหึ่ว วิทยาลัยสงฆ์พุทธปัญญาศรีทวารวดี
  • ภูริวัจน์ ปุณยวุฒิปรีดา
  • อุบล วุฒิพรโสภณ

คำสำคัญ:

การพัฒนารูปแบบ, บรรจุผลิตภัณฑ์, การสร้างมูลค่าเพิ่ม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม โดยศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับ อัตลักษณ์ชุมชน ผลิตภัณฑ์ และการออกแบบบรรจุภัณฑ์ เป็นกรอบการวิจัย ทำการเก็บรวบร่วมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์   เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ ๑๕ คน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน ๘ รูป/คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคแบบสามเส้า นำเสนอเนื้อหาและเขียนบรรยายเชิงพรรณนา

            ผลการวิจัยพบว่า

            ๑. รูปแบบบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์ในชุมชนยายชา ชุมชนที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เลี้ยงเป็ดไก่ในชุมชน อีกทั้งมีศูนย์เรียนรู้ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและเกษตรทฤษฎีใหม่ ทำให้มีทั้งพืชผักอินทรีย์ ไข่เป็ดและสมุนไพรในชุมชน เป็นภูมิปัญญาองค์ความรู้ที่สืบทอดกันมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน ซึ่งปัจจุบันชุมชนยายชามีการส่งเสริมอาชีพให้แก่ชาวบ้านในชุมชน โดยการใช้ประโยชน์จากทรัพยากร พืชผลการผลิตภายในชุมชน นำมาสร้างสรรค์ และแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่หลากหลาย อาทิเช่น ผักอินทรีย์ ไข่เค็มอินทรีย์ ข้าวอินทรีย์ ฯลฯ โดยตั้งกลุ่มว่า “สัมมาชีพ”จุดนี้จึงทำให้พอสรุปได้ว่า ตราผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ในชุมชนไม่สะท้อนอัตลักษณ์ของตน บรรจุภัณฑ์ยังไม่เป็นที่โดดเด่นสะดุดตา ไม่สร้างการจดจำกับผู้บริโภคชาวบ้านยังขาดความเข้าใจในการพัฒนาส่งเสริมรูปแบบบรรจุ ผลิตภัณฑ์สินค้าที่ชัดเจนโดยใช้อัตลักษณ์ที่มีในชุมชนคือ ยายใส่หมวกโบราณให้ออกมาเป็นรูปธรรมและน่าจดจำ

๒. การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ชุมชนยายชานั้นแต่เดิมมีการใช้วัสดุที่ไม่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและมีตราสัญญาลักษณ์ที่ยังไม่บอกถึงเอกลักษณ์ ในชุมชนจึงทำให้ไม่เป็นที่น่าสนใจและน่าจดจำ โดยการออกแบบคำนึกถึงการใช้งานที่แข็งแรงทนทาน และยังจูงใจต่อผู้บริโภคให้เกิดการต่อยอดทางเศรษฐกิจในชุมชนได้มากยิ่งขึ้น โดยผู้ประกอบการได้ให้ข้อเสนอ อยู่ ๓ ประเด็นหลักๆ คือ ๑) ด้านการพัฒนาความโดดเด่นของผลิตภัณฑ์ ๒) ด้านการพัฒนาคุณภาพของบรรจุหีบห่อ ผลิตภัณฑ์ ๓) ด้านการพัฒนาการหีบห่อบรรจุผลิตภัณฑ์เพื่อความสะดวกในการขนส่ง

๓. นำเสนอรูปแบบบรรจุภัณฑ์ที่เหมาะสมกับผลิตภัณฑ์ชุมชนยายชาโดยการจัดสัมมนาให้มีกระบวนการมีส่วนร่วม รวบรวมข้อมูลเบื้องต้นวิเคราะห์ข้อมูล วิธีการ แนวคิดการออกแบบพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ชุมชให้ร่วมกันสร้างสรรค์ และคัดเลือกแบบที่มีความเหมาะสมและเป็นที่พึงพอใจ ผู้วิจัยได้นำเสนอรูปแบบผลิตภัณฑ์ด้วย ๓ แบบ ให้กับผู้เข้าร่วมประชุมและมีมติเห็นชอบร่วมกันและใช้สัญญาลักษณ์ที่บ่งบอกถึงอัตลักษณ์ชุมชนคือ รูปคุณยายใส่หมวกโบราณแต่ยังมีข้อจำกัดเรื่องราคาของบรรจุภัณฑ์ที่จะส่งผลให้ผลผลิตต้องปรับราคาสินค้าให้สูงขึ้น อีกทั้งกลุ่มผู้จำหน่ายยังขาดเงินทุนเหตุผลเหล่านี้ผู้วิจัยขอเสนอว่า ควรมีหน่วยงานภาครัฐหรือเอกชน เข้ามามีส่วนร่วมในการสนับสนุนงบประมาณในการลงทุนจัดทำ รวมถึงมีการติดตามผล ต่อยอด ออกแบบหีบห่อบรรจุภัณฑ์ ให้พัฒนาอยู่อย่างต่อเนื่อง

 

คำสำคัญ : การพัฒนารูปแบบ, บรรจุผลิตภัณฑ์, การสร้างมูลค่าเพิ่ม

References

จิตพนธ์ ชุมเกต. (๒๕๖๐). “การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพทางการจัดการชุมชนอย่างยั่งยืนของชุมชนไทยมุสลิม อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี” รายงานการวิจัย, คณะวิทยาการจัดการ: มหาวิทยาลัยศิลปากร.
จุฑาพรรธ์ ผดุงชีวิต. (๒๕๕๑). วัฒนธรรม การสื่อสารและอัตลักษณ์, พิมพ์ครั้งที่ ๒. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชลธิศ ดาราวงษ์. (๒๕๕๘). การจัดการผลิตภัณฑ์และการพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพมหานคร: ธนาเพรส.
ธงชัย สันติวงษ์. (๒๕๔๐). พฤติกรรมผู้บริโภคทางการตลาด. กรุงเทพมหานคร: ไทยวัฒนาพานิช.
ประสิทธิ์ ลีปรีชา. (๒๕๔๗). การสร้างและสืบทอดอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธ์ม้งในวาทกรรมอัตลักษณ์.กรุงเทพมหานคร : โอ.เอส.พริ้นติ้งเฮ้าส์.
รัชนี เจริญ และคณะ. (๒๕๕๙). “การเพิ่มมูลค่าและเอกลักษณ์ของ ผลิตภัฌฑ์ล้านนาด้วยการออกแบบโดยใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นล้านนา” รายงานการวิจัย คณะวิจิตรศิลป์: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สุกฤตา หิรัณยชวลิต. (๒๕๕๒). กว่าจะเป็นบรรจุภัณฑ์ Background of Package. กรุงเทพมหานคร: มหาวิทยาลัยกรุงเทพ.
พิชยาดา จุลธีระ (๒๕๕๕). “การพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ของขนมบดิน ของวิสาหกิจชุมชนกลุ่มขนมบดิน แขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร” วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, วิทยาลัยพาณิชยศาสตร์: มหาวิทยาลัยบูรพา.
ปวีณา ผาแสง และคณะ. (๒๕๖๐). “การศึกษาการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผ้าทอพื้นเมืองน่าน กรณีศึกษา : กลุ่มวิสาหกิจชุมชนบ้านเฮี้ย ตำบลศิลาแลง อำเภอปัว จังหวัดน่าน”. รายการวิจัย,น่าน: วิทยาลัยชุมชนน่าน.
สมพงษ์ เฟื่องอารมย์. (๒๕๕๐). บรรจุภัณฑ์กับการส่งออก. กรุงเทพมหานคร: จามจุรี โปรดักท์.
สุมาลี ทองรุ่งโรจน์. (๒๕๕๕). ออกแบบบรรจุภัณฑ์. กรุงเทพมหานคร : วาดศิลป์.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-09-2021

ฉบับ

บท

บทความวิจัย