การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงรักษาสุขภาพด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนยายชาอำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • กันตนา ภัทรโพธิวงศ์
  • ภูริวัจน์ ปุณยวุฒิปรีดา
  • พระปลัดประพจน์ สุปภาโต

คำสำคัญ:

การส่งเสริมการท่องเที่ยว, การท่องเที่ยวเชิงรักษาสุขภาพ, ภูมิปัญญาท้องถิ่น

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้ศึกษาแนวคิดเกี่ยวกับการท่องเที่ยว การท่องเที่ยวเพื่อรักษาสุขภาพ ภูมิปัญญาท้องถิ่น เพื่อใช้เป็นกรอบในการวิจัย ทำการเก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์กับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 15 คน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 10 คน ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้เทคนิคแบบสามเส้า และนำเสนอข้อมูลแบบอรรถาธิบายพรรณาความ

ผลการวิจัยพบว่า

            แหล่งท่องเที่ยวในชุมชนยายชามีทุ่งธรรมนาเป็นศูนย์การเรียนรู้ มีแหล่งเรียนรู้วิถีเกษตรแบบพึ่งพาตนเอง เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรที่เชื่อมโยงภูมิปัญญา ใช้ภูมิปัญญาเกี่ยวกับการรักษาสุขภาพโดยการนำเอาสมุนไพรไทยมาทำเครื่องดื่ม ส่งเสริมภูมิปัญญาการนวดแผนไทย การประยุกต์ใช้ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่ร่วมกับภูมิปัญญาที่ถ่ายทอดจากบรรพบุรุษในการรักษาสุขภาพและป้องกันโรค

การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงรักษาสุขภาพด้วยภูมิปัญญาท้องถิ่นของชุมชนยายชา โดยมีการจัดการท่องเที่ยวเชิงเกษตรควบคู่เชิงรักษาสุขภาพ มีการเปิดเส้นทางปั่นจักรยานท่องเที่ยวแบบวิถีอินทรีย์เพื่อสุขภาพ นำภูมิปัญญาท้องถิ่น อัตลักษณ์วิถีชีวิต และแหล่งท่องเที่ยวในชุมชนมาดึงดูดนักท่องเที่ยวเข้าสู่ชุมชน เพื่อให้เกิดการใช้จ่ายเป็นการสร้างและกระจายรายได้ในชุมชน ใช้จุดเด่นในด้านแหล่งท่องเที่ยวธรรมชาติและวัฒนธรรมไทยสอดคล้องกับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงคือ การทำเกษตรอินทรีย์นำมาใช้ในการให้บริการอาหารไทยขนม เครื่องดื่มออแกนิก           

            ข้อเสนอแนะจากการวิจัย ควรมีการสนับสนุนให้มีการจัดตั้งกลุ่มหรือเครือข่ายอย่างเป็นรูปธรรม มีการเชื่อมโยงเครือข่ายของธุรกิจชุมชน เน้นการมีส่วนร่วมของประชาชนในการบริหารจัดการ ควรมีการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ พัฒนาชุมชนให้เข้มแข็งโดยใช้ปัจจัยที่เป็นจุดแข็งและใช้โอกาสที่มีอยู่มาวางแผนกลยุทธ์และบริหารจัดการให้เป็นระบบ และมีประสิทธิภาพ

References

กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2554). แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ. 2555-2559.กรุงเทพมหานคร: กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา.
กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. สถิตินักท่องเที่ยวในประเทศ (รายจังหวัด). [ออนไลน์]. แหล่งที่มา : http://www.marketingdatabase.tat.or.th. [12 มิถุนายน 2563].
ปฐม นิคมานนท์. (2538). การค้นคว้าความรู้และระบบการถ่ายทอดความรู้ในชุมชนบทไทย. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มติชน.
ประพนธ์ เล็กสุมา และคณะ. (2562). แนวทางการพัฒนากิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในภูมิภาคตะวันตก. วารสารวิจัยและพัฒนา. มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 14(49), 20-30.
มโน เมตตานันโท เลาหวณิช. (2555). ยุทธศาสตร์การพัฒนาธุรกิจสุขภาพองค์รวมของไทยเพื่อเป็นศูนย์กลางรองรับการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในกลุ่มประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. โครงการวิจัยอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวและบริการ (193 โครงการ ). รายงานการวิจัย. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย.
วรรณา วงษ์วานิช. (2546). ภูมิศาสตร์การท่องเที่ยว. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร:มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
สุพัฒน์ ศรีสวัสดิ์ และคณะ. พืชสมุนไพรประจำถิ่นและภูมิปัญญาการประยุกต์ใช้สำหรับการแพทย์พื้นบ้านในจังหวัดชายแดนภาคใต้. วารสารมหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์. Vol 5. No 4. (2013).
อารัญ บุญชัย และ จินดา ตันศราวิพธุ. ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Health Tourism) จุดขายของการท่องเที่ยว. วารสารเศรษฐกิจและสังคม. 40(4). (พฤศจิกายน- ธันวาคม). 2546.
Smith. M. and Puczko. L. Health. (2009). Tourism and Hospitality: Spas. Wellness and Medical Travel. Burlington. MA: Elsevier.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-09-2021

ฉบับ

บท

บทความวิจัย