ขบวนการพัฒนากฎหมายวิชาชีพด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และ สภาพแวดล้อมในการทำงานของไทย

ผู้แต่ง

  • มนตรี วรภัทรทรัพย์ วิทยาลัยสงฆ์ราชบุรี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกร
  • วรวุฒิ มูลตรีอุตร์
  • บุญจิระ บุญปัญญา

คำสำคัญ:

กฎหมายวิชาชีพ, ความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีรูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพใช้ แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับขบวนการทาง สังคม แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการพัฒนา แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับวิชาชีพ กฎหมายพระราชบัญญัติความ ปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.2554 กฎกระทรวงที่เกี่ยวข้อง กฎหมาย การเข้าชื่อเสนอกฎหมายของไทย กรณีตัวอย่างการจัดตั้งองค์กรวิชาชีพ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้องเป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัยคือ จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดนครปฐม และจังหวัดราชบุรี กลุ่มตัวอย่างในการสัมภาษณ์เชิงลึก ผู้ให้ข้อมูลหลักในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วยผู้ทรงคุณวุฒิสาขากฎหมาย รัฐศาสตร์ หรือรัฐประศาสนศาสตร์ เจ้าหน้าที่ภาครัฐที่รับผิดชอบงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน นายก/ประธาน ของสมาคม/ชมรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน และเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับวิชาชีพ ในจังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดนครปฐม และจังหวัดราชบุรี จำนวน 18 คน ใช้วิธีคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 2 ชนิด คือ 1) แบบสัมภาษณ์เพื่อการวิจัย 2) แบบสนทนากลุ่มเฉพาะการวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิเคราะห์เนื้อหาแล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา ผลการวิจัยพบว่า

          การรวมตัวของเครือข่ายเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน ระดับวิชาชีพ ชมรมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน สมาคมเจ้าหน้าที่ความปลอดภัยในการทำงาน และสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนด้านอาชีวอนามัยฯ ร่วมกันดำเนินการการจัดตั้งเป็นองค์กรวิชาชีพ  การจัดทำร่างกฎหมาย จัดตั้งเป็นองค์กรวิชาชีพ การเสนอกฎหมายจัดตั้งเป็นองค์กรวิชาชีพ มีหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องในการจัดตั้งเป็นองค์กรวิชาชีพตามกฎหมาย

          ข้อเสนอแนะแนวทางในการปรับปรุงพัฒนากฎหมายให้มีการออกกฎหมายวิชาชีพเป็น “ร่างพระราชบัญญัติวิชาชีพความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน พ.ศ.......” เพื่อรองรับการปฏิบัติงานให้เป็นองค์กรวิชาชีพในรูปแบบของ   “สภาวิชาชีพความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน” โดยมีหน่วยงาน “กระทรวงแรงงาน” ร่วมกันดำเนินการในการผลักดันการออกกฎหมายร่วมกับเครือข่ายวิชาชีพความปลอดภัย หน่วยงานราชการ และวิชาชีพอื่นที่เกี่ยวข้อง

References

กลุ่มงานประธานรัฐสภา สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2559). ความแตกต่าง
ของรัฐธรรมนูญ ปี ๒๕๕๐ ร่างรัฐธรรมนูญเบื้องต้น และร่างรัฐธรรมนูญฉบับลง
ประชามติ (ปี ๕๙), กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์ สำนักเลขาธิการสภา
ผู้แทนราษฎร.
กองความปลอดภัยแรงงาน กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน. (2560). ระเบียบวาระ
แห่งชาติ “แรงงานปลอดภัยและสุขภาพอนามัยดี” ระยะที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ –
๒๕๖๙) และ แผนแม่บทความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมใน
การทำงานแห่งชาติ ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๖๐ – ๒๕๖๔). กรุงเทพมหานคร: บริษัท
เรียงสาม กราฟฟค ดีไซน จํากัด.
เฉลิมชัย ชัยกิตติภรณ์และคณะ. (2548). การศึกษาวิเคราะห์รูปแบบโครงสร้างระบบการ
บริหารจัดการองค์กร การบังคับใช้กฎหมายและระบบข้อมูลความปลอดภัยใน
การทำงานและอาชีวอนามัย. กรุงเทพมหานคร: รายงานการวิจัย.
เฉลิมชัย ชัยกิติภรณ์ และคณะ. (2522). อาชีวอนามัยและความปลอดภัยเบื้องต้น.
กรุงเทพมหานคร.
ชลิดา ลิ้นจี่ และคณะ. (2562). ความรู้และทักษะวิชาชีพของนักบัญชีสำนักงานบัญชี
คุณภาพในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: คณะบัญชี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ
ธนบุรี.
พระมหาสุทิตย์ อาภากโร (อบอุ่น). (2547). เครือข่าย: ธรรมชาติ ความรู้ และการจัดการ.
(กรุงเทพฯ โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.).
วิฑูรย์ สิมะโชคดี. และคณะ. (2548). วิศวกรรมและการบริหารความปลอดภัยในโรงงาน.
กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์ ส.ส.ท.สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
วิทยา อยู่สุข. (2549). สาระการเรียนรู้วิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย.
กรุงเทพมหานคร : ภาควิชาอาชีวอนามัยและความปลอดภัย คณะสาธารณสุข
ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
ราชกิจจานุเบกษา. (2556). พระราชบัญญัติว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย พ.ศ.
๒๕๕๖. เล่ม ๑๓๐ ตอน ๑๑๙ ก. วันที่ ๑๗ ธันวาคม ๒๕๕๖.
สติธร ธนานิธิโชติ. (2562). การปรึกษาหารือสาธารณะ (Public Consultation):
แนวคิด ประสบการณ์และข้อเสนอรูปแบบสำหรับการรับฟังความคิดเห็นตาม
มาตรา ๗๗ ของรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.
สำนักความปลอดภัยแรงงาน. (2561). สถานการณ์การดำเนินงานด้านความปลอดภัยและ
อาชีวอนามัยของประเทศไทย. กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวง
แรงงาน.
หยุด แสงอุทัย. (2559). ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับกฎหมายทั่วไป. กรุงเทพมหานคร:
สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน. (2556). คู่มือการฝึกอบรมหลักสูตร
คณะกรรมความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงาน.
กรุงเทพมหานคร: บริษัท ดอกเบี้ย จำกัด.
เสาวลักษณ์ จันทร์ประสิทธิ์. (2559). ความคาดหวังและความพร้อมของนักบัญชีในทัศนะ
ของผู้ประกอบการเมื่อเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. คณะเศรษฐศาสตร์และ
บริหารธุรกิจ. มหาวิทยาลัยทักษิณ.
Alan Walter Steiss. (2003). Strategic Management for Public and Nonprofit
Organization. New York : Marcel Dekker, Inc.
Bedian, A. G. & Zammuto, R.F. (1991). Organizations: Theory and design.
Chicago: Dryden Press.
Chaney, L., & Lyden, J. (2000). Making U.S. teams work. Supervision.
Cohen, J.M., & Uphoff, N.T. (1980). Participation place in rural development:
Seeking clearity through specificity. World Development.

Cronbach, Lee J. (1971) Aptitudes and Instructional Methods. A Handbook
for Research on Interactions. Wiley & Sons New York.
Cramer, S.F. (1998). Collaboration: A success strategy for special educators.
Boston: Allyn and Bacon.
Denison, D.R. (1990). Corperate culture and organizational effectiveness.
New York: John Willy & Son.
Hodge, B.J., & Anthony, W.P. (1990).Organization theory (4th ed.).
Boston:Allyn and Bacon.
House, R.J., Filley, A.C., & Kerr, S. (1976). Managerial process and
organizational behaveor. Scott, IL: Foreesman.
Likert, R. (1971). New patterns of Management. New York: McGraw-Hill.
Luthans, F. (1998). Organizational behavior (9th ed.). New York: McGraw-Hill.
Management Decision.
O.E. Hughes. (1994) Public Management and Administration: An
Introduction. New York: ST Martin’s Press. Inc.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-09-2021

ฉบับ

บท

บทความวิจัย