การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโสตทักษะทางดนตรีด้วยชุดกิจกรรม เพื่อเสริมสร้างโสตทักษะทางดนตรีตามแนวคิดของโคดาย สำหรับนักเรียนขับร้องประสานเสียง โรงเรียนเปรมประชาวัฒนา

ผู้แต่ง

  • จิรภัทร์ ถิ่นทะเล คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
  • สิชฌน์เศก ย่านเดิม

คำสำคัญ:

โสตทักษะทางดนตรี, ชุดกิจกรรมเพื่อเสริมสร้างโสตทักษะทางดนตรี, แนวคิดของโคดาย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อสร้างชุดกิจกรรมเสริมสร้างโสตทักษะทางดนตรีตามแนวคิดของโคดาย สำหรับนักเรียนขับร้องประสานเสียงโรงเรียนเปรมประชาวัฒนา 2) เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโสตทักษะทางดนตรีด้วยชุดกิจกรรมเสริมสร้างโสตทักษะทางดนตรีตามแนวคิดของโคดาย สำหรับนักเรียนขับร้องประสานเสียงโรงเรียนเปรมประชาวัฒนา 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมเสริมสร้างโสตทักษะทางดนตรีตามแนวคิดของโคดาย นักเรียนขับร้องประสานเสียงโรงเรียนเปรมประชาวัฒนา มีรูปแบบการวิจัยเป็นวิจัย เชิงทดลอง ภายใต้กรอบแนวคิดของแนวคิดของโคดาย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนขับร้องประสานเสียง โรงเรียนเปรมประชาวัฒนา ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2563 ซึ่งได้มาจากสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบง่าย จำนวน 10 คน ซึ่งมาจากเกณฑ์การเลือกโดยการทำรายชื่อประชากรทั้งหมด จำนวน 20 คน และมีการให้เลขกำกับใช้วิธีจับฉลาก จากกลุ่มตัวอย่างที่ต้องการศึกษา (1-10 คน) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยมี 3 ชนิด คือ 1) ชุดกิจกรรมเสริมสร้างโสตทักษะทางดนตรีตามแนวคิดของโคดาย 2) แบบทดสอบโสตทักษะทางดนตรี 3) แบบสอบถามความพึงพอใจต่อการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมเสริมสร้างโสตทักษะทางดนตรีตามแนวคิดของโคดาย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่าที

          ผลการวิจัยพบว่า 1) การสร้างชุดกิจกรรม นักเรียนมีโสตทักษะทางดนตรีการขับร้องโดยและแยกแยะระดับเสียงตัวโน้ตได้ดียิ่งขึ้น 2) นักเรียนที่เรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมมีผลสัมฤทธิ์ทางการ เรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามที่สมมติฐานที่ตั้งไว้ 3) นักเรียนที่เรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรม มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมากที่สุด

          ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ คือ ผลจากการศึกษาการใช้ชุดกิจกรรมเสริมสร้างโสตทักษะทางดนตรี ตามแนวคิดของโคดาย ช่วยให้นักเรียนมีทักษะเรียนรู้ในการแยกแยะระดับเสียง รวมไปถึงการขับร้องเพลงโดยใช้การอ่านโน้ตตามระดับเสียงทดแทนการท่องจำได้ดียิ่งขึ้นและยังได้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เหมาะสมในการจัดการเรียนการสอนทางด้านโสตทักษะทางดนตรี

References

Kodaly Zoltan. (1960). 333 Olvasogyakorlat : bevezeto a Magyar nepzenebe / Kodaly Zoltan. Budapest: Editio Musica Budapest.
Kodaly Zoltan. (1974). The Selected Writhing of Zoltan Kodaly: Budapest Corvine.
ชัยวัฒน์ สุทธิรัตน์. (2554). 80 นวัตกรรมการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: แดเน็กซ์อินเตอร์คอร์ปอเรชั่น จำกัด.
นลินี อินดีคำ. (2551). ชุดกิจกรรมพัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารรอบตัว สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, กรุงเทพฯ.
นิอร เตรัตนชัย. (2562). การศึกษาการสอนโสตทักษะตามแนวสุดา พนมยงค์. วารสารมนุษยศาสตร์ (26), 139.ประพันธ์ศักดิ์ พุ่มอินทร์. (2547). ความสำคัญของการฝึกโสตประสาททางดนตรี. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ คณะศิลปกรรมศาสตร์, 12 (2), 47. สืบค้นจาก http://thesis.swu.ac.th/swuarticle/Fi_Art/Fi_Artsv12n2(24)p45.pdf
อภิญญา เคนบุปผา. (2546). การพัฒนาชุดกิจกรรมการทดลองวิทยาศาสตร์ เรื่อง สารและสมบัติของสาร สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6. (ปริญญานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต).มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒประสานมิตร, กรุงเทพฯ.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

01-09-2021

ฉบับ

บท

บทความวิจัย