แนวทางการจัดสวัสดิการของผู้สูงอายุองค์การบริหารส่วนตำบลวังด้ง อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

ผู้แต่ง

  • แสงเดือน แซ่ล้อ มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์
  • ราเชนทร์ นพณัฐวงศกร
  • รวิวงศ์ ศรีทองรุ่ง

คำสำคัญ:

แนวทางการจัดสวัสดิการ, ผู้สูงอายุ, อองค์การบริหารส่วนตำบลวังด้ง

บทคัดย่อ

แนวทางการจัดสวัสดิการของผู้สูงอายุองค์การบริหารส่วนตำบลวังด้ง อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี

Guidelines for Welfare for the Elderly by the Administrative Organization of Wang Dong Sub-district, Mueang District, Kanchanaburi Province

 

แสงเดือน แซ่ล้อ, ราเชนทร์ นพณัฐวงศกร และรวิวงศ์ ศรีทองรุ่ง

                                Saengduean Saelor, Rachen Noppanatwongsakorn and  
                                Rawiwong Srithongroong

                                                             มหาวิทยาลัยเอเชียอาคเนย์

Email : [email protected]

 

บทคัดย่อ 

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ1) ศึกษาแนวทางการจัดสวัสดิการของผู้สูงอายุองค์การบริหารส่วนตำบลวังด้ง และ (2) ศึกษาปัญหาอุปสรรคและแนวทางในการพัฒนาการจัดสวัสดิการของผู้สูงอายุในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังด้ง อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ในส่วนของการวิจัยเชิงปริมาณ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือ ผู้สูงอายุองค์การบริหารส่วนตำบลวังด้ง โดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 308 ชุด การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์ ผู้นำชุมชน หัวหน้าส่วนราชการที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ในองค์การบริหารส่วนตำบลวังด้งและผู้สูงอายุที่อยู่ในเขตพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลวังด้ง จำนวน 22 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ จำนวน ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานด้วย t-test F-test และ Correlation ในส่วนของการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการตรวจสอบข้อมูลแบบสามเส้าและบรรยายตีความหมายจากข้อมูลการสัมภาษณ์ ผลการศึกษาพบว่า

(1) แนวทางการจัดสวัสดิการของผู้สูงอายุ องค์การบริหารส่วนตำบลวังด้ง อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี พบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นต่อแนวทางการจัดสวัสดิการของผู้สูงอายุโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.12 แนวทางการจัดสวัสดิการของผู้สูงอายุ องค์การบริหารส่วนตำบลวังด้ง อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี พบว่า เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา อาชีพประจำ และรายได้เฉลี่ยต่อเดือน                ที่แตกต่างกัน มีผลต่อแนวทางการจัดสวัสดิการของผู้สูงอายุ องค์การบริหารส่วนตำบลวังด้ง อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี  ไม่แตกต่างกัน

(2) ปัญหาอุปสรรคในการจัดสวัสดิการของผู้สูงอายุ องค์การบริหารส่วนตำบลวังด้ง ได้แก่ ปัญหาในด้านการศึกษาและการส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ แนวทางในการพัฒนาการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ ได้แก่ การส่งเสริมทางด้านการศึกษาและด้านสุขภาพของผู้สูงอายุให้ทั่วถึงทุกหมู่บ้านในองค์การบริหารส่วนตำบลวังด้ง

 

คำสำคัญ :  แนวทางการจัดสวัสดิการ, ผู้สูงอายุ, องค์การบริหารส่วนตำบลวังด้ง

 

Abstract

               The objectives of this study are 1) to study the welfare guidelines for the elderly of Wang Dong Sub-district Administrative Organization, and (2) study the problems, obstacles, and guidelines for the development of welfare management of the elderly by the Administrative Organization of Wang Dong Sub-district of Mueang District, Kanchanaburi Province. The quantitative method was applied to the sample group which was consisted of the elderlies who were provided with 308 copies of questionnaires; while for the qualitative method, 22 people were interviewed which were consisted of a community leader, a government officer performing his/her duty as the chief of the Administrative Organization in Wang Dong of Sub-district, and elderlies in the same venue. The statistical methods used in the quantitative analysis were number, percentage, mean, standard deviation; while for the hypothesis testing t-test, f-test and correlation were employed. In qualitative research, the data triangulation method and the data interpretation of the interview were used, respectively.

               The research findings revealed that (1) the guidelines for the welfare of the elderly by the Administrative Organization of Wang Dong Sub-district, Muang District, Kanchanaburi Province exhibited that the overall evaluations was at a high level based from the respondents’ questionnaires (mean= 4.12) the guidelines for the welfare of the elderly by the Administrative Organization of Wang Dong Sub-district, Muang District, Kanchanaburi Province showed that difference in the gender, age, status, education level, occupation, and average monthly income caused no difference in the guidelines for welfare for the elderly (2) Problems and obstacles in the provision of welfare for the elderly Wang Dong Subdistrict Administrative Organization, including problems in education and health promotion of the elderly. Guidelines for the development of the elderly welfare include promoting education and health of the elderly to all villages in Wang Dong Subdistrict Administrative Organization.

Keywords: guidelines for welfare, elderly, Wang Dong Sub-district

References

จิริยา อินทนา. (2560).ความสุขของผู้สูงอายุตำบลดอนตะโก ตำบลคูบัว อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี. วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีราชบุรี.
ชัชวาลย์ ทาไร. (2557).แนวทางการพัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลคลองขลุง อำเภอคลองขลุง จังหวัดกำแพงเพชร. มหาวิทยาลัยราชภัฎกำแพงเพชร.
ณัฏฐ์ชยธร เดชสิทธิ์บุลพร. (2557).คุณภาพชีวิตและความต้องการสนับสนุนสวัสดิการด้านสุขภาพของผู้สูงอายุในชุมชนสามตำบล จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ณัฐธยาน์ บุญเหม. (2558).ยุทธศาสตร์การจัดสวัสดิการสังคมของผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลห้วยไร่ อำเภอเด่นชัย จังหวัดแพร่. มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง.
ณัฐนิช พรหมทวี. (2557).แนวทางพัฒนาการจัดสวัสดิการสังคมสำหรับผู้สูงอายุของเทศบาลเมืองแม่โจ้ อำเภอสันทราย จังหวัดเชียงใหม่. มหาวิทยาลัยราชภัฎภูเก็ต.
ธนากร โพธิ์ไข. (2555).ความคิดเห็นของประชาชนต่อการดำเนินงานของเทศบาลตำบลถาวรอำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดบุรีรัมย์. มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์.
บุญมาก มากสุข. (2561).การบริหารจัดการสวัสดิการผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลบัวลอย อำเภอหนองแค จังหวัดสระบุรี. มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยลงกรณ์ฯ.
บุษยา พาสุกรี. (2563).การบริหารจัดการงานสวัสดิการของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลเมืองอโยธยาอำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. มหาวิทยาลัยราชภัฎวไลยลงกรณ์ฯ.
ลัดดา บุญเกิด. (2557).ความต้องการด้านสวัสดิการของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลเกาะจันทร์ อำเภอเกาะจันทร์ จังหวัดชลบุรี. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารทั่วไป วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
ลาวรรณ มณีรัตน์. (2561).ประเมินการบริหารและการจัดการระบบสวัสดิการผู้สูงอายุในพื้นที่เทศบาลตำบลอุโมงค์ อำเภอเมืองลำพูน จังหวัดลำพูน. มหาวิทยาลัยราชภัฎลำปาง.
ศราวุฒิ จันทรังษี. (2557). การจัดสวัสดิการสังคมผู้สูงอายุขององค์การบริหารส่วนตำบลนาเจริญอำเภอเดชอุดม จังหวัดอุบลราชธานี. มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี.
สมศักดิ์ เจริญพูล, เขมภัทท์ เย็นเปี่ยมและกุลธิดา ภูฆัง. (2560).บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อการพัฒนารูปแบบการจัดสวัสดิการของผู้สูงอายุ การศึกษาเรื่องบทบาท ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่อการพัฒนารูปแบบการจัดสวัสดิการของผู้สูงอายุ. มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต.
สามารถ รุ่งโรจน์. (2560).ความต้องการสวัสดิการของผู้สูงอายุในเขตเทศบาลตำบลเสม็ด อำเภอเมืองชลบุรี จังหวัดชลบุรี. มหาวิทยาลัยบูรพา.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

19-04-2021

ฉบับ

บท

บทความวิจัย