การยับยั้งชั่งใจโดยใช้หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา กรณีศึกษา: การใช้ความรุนแรงต่อเด็ก คดีน้องชมพู่เด็กหญิงบ้านกกกอก

ผู้แต่ง

  • พระครูสิทธิวชิรโสภิต
  • นิกร ศรีราช

คำสำคัญ:

การยับยั้งชั่งใจ, หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา

บทคัดย่อ

การยับยั้งชั่งใจ (Delaying gratification) เป็นกระบวนการทางความคิด ความรู้สึกและพฤติกรรมของบุคคลที่สามารถระงับความต้องการของตนเองได้ มีความอดทนอดกลั้น ไม่ถึงขั้นทำให้ตนเองลำบาก เพียงแต่เป็นการฝึกจิตใจให้วุฒิภาวะเป็นปกติเท่านั้น สามารถกำหนดอารมณ์ของตนเมื่อกระทบต่อสิ่งเร้าที่ไม่พึงปรารถนาได้ อันเป็นเหตุซึ่งก่อให้เกิดพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม หรือเป็นความสามารถในการอดทนรอคอยความสำเร็จในอนาคต ถ้าจะบูรณาการในสมัยพุทธกาลที่พระพุทธเจ้าสอนไว้ก็มีอยู่มาก เช่น “อตฺตนา โจทยตฺตานํ”ตนของตนเตือนตนให้พ้นผิดเพราะใจของคนมีมนุษย์มีปกติจะโน้มน้อมไปทางต่ำ จะพัฒนาในด้านใดต้องพัฒนาใจตนเองเสียก่อน// กรณีข่าวน้องชมพู่ เด็กหญิงที่เสียชีวิตที่ภูเหล็กไฟ บ้านกกกอก จังหวัดมุกดาหาร ที่เป็นข่าวโด่งดัง อาจจะมีผู้ก่อเหตุ เพราะตำรวจเชื่อว่าเด็กอายุสามขวบไม่น่าจะเดินขึ้นไปเสียชีวิตบนเขาได้ จากเหตุการณ์นี้ ถ้ามีผู้ก่อเหตุจริงคงมองไปถึงสติหรือความยับยั้งชั่งใจที่ขาดหายไปชั่วขณะหรือ อยู่ในจิตสันดาน จึงเผลอทำกับเด็กหญิงผู้นั้นได้ ผู้เขียนมองไปถึงรากเหง้าของการก่อเหตุก็คือ อาจจะมีผู้ก่อเหตุ การไม่รู้จักยับยั้งชั่งใจ เพราะขาดสติหรืออกุศลฝังอยู่ในจิตสันดานแม้กระทั่งแม้กระทั่งกรณีโรงเรียนสารศาสตร์ราชคฤห์ ที่เกิดเหตุการณ์ที่ครู“ครูจุ๋ม”  ที่ทำร้ายนักเรียนอนุบาลที่เป็นข่าวปรากฏในสังคม และจำเป็นต้องอาศัยหลักทางพระพุทธศาสนาเข้ามาช่วยในการฝึกจิตให้มีมนุษยธรรมและมีคุณธรรมจริยธรรมจึงจะสามารถใช้ชีวิตที่เป็นปกติสุขได้

References

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกฉบับภาษาบาลี ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระธรรมโกศาจารย์. (2549). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต). (2554). พจนานุกรมพุทธศาสน์ ฉบับประมวลศัพท์. พิมพ์ครั้งที่ 16. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสหธรรมิกจำกัด.
____________. (2541). พุทธธรรม. พิมพ์ครั้งที่ 7. กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
____________. (2554). พจนานุกรมพุทธศาสตร์ ฉบับประมวลธรรม. พิมพ์ครั้งที่ ๒๑. กรุงเทพมหานคร: บริษัทสหธรรมิกจำกัด.
____________. (2556). พจนานุกรมพุทธศาสตร์. . กรุงเทพมหานคร: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
____________. (2549). พุทธธรรม ฉบับปรับปรุงขยายความ. พิมพ์ครั้งที่ 11. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์บริษัท สหธรรมิกจำกัด. น.804.
พุทธทาสภิกขุ. (2528). สติ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร : จักรานุกุลการพิมพ์.
มาลีวัล เลิศสาครศิริ. (2559). “ประสิทธิผลของโปรแกรมการฝึกสมาธิ ต่อพหุปัญญาของนักศึกษาชั้นปีที่ 1วิทยาลัยเซนต์หลุยส์. วารสารพยาบาลทหารบก”. Journal of The Royal Thai Army Nurses. ปีที่ 17 ฉบับที่ 13 (ก.ย.-ธ.ค. 2006).
ศูนย์พัฒนาสมองและศักยภาพ. (2563). https://www.brainandlifecenter.com/inhibition-attention-selfcontrol. 3 ตุลาคม 2563.
เสกสิทธิ์ สวรรยาธิปัติ. (2554). การกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ยาเสพติด และชีวิตร่างกาย (คดีร้ายแรง) ของเด็กและเยาวชนในเขตกรุงเทพมหานคร และปริมณฑล: การศึกษาวิจัยโดยใช้ทฤษฎีการควบคุมตนเอง (วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต, อาชญาวิทยา การบริหารงานยุติธรรมและสังคม). บัณฑิตวิทยาลัย, มหาวิทยาลัยมหิดล.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

19-04-2021

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ