บทบาทของพระสงฆ์ในการส่งเสริมงานประเพณีการแข่งขันเรือยาวเชิงสร้างสรรค์ วัดสวนหงส์ อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี

ผู้แต่ง

  • พระครูโกศลธรรมานุสิฐ 094-5535366
  • พระครูโสภณวีรานุวัตร
  • พระมหาจตุพล ญาณธีโร
  • พงษ์ศักดิ์ ทองละมูล

คำสำคัญ:

บทบาทของพระสงฆ์, งานประเพณี, การแข่งขันเรือยาว, เชิงสร้างสรรค์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) ศึกษาระดับบทบาทของพระสงฆ์ในการส่งเสริมงานประเพณีแข่งขันเรือยาว ๒) เปรียบเทียบบทบาทของพระสงฆ์ในการส่งเสริมงานประเพณีการแข่งขันเรือยาวเชิงสร้างสรรค์ และ ๓) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของพระสงฆ์ในการส่งเสริมงานประเพณีการแข่งขันเรือยาวกับวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ วัดสวนหงส์ อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี กลุ่มตัวอย่างได้แก่ กลุ่มผู้ให้ข้อมูสำคัญ จำนวน ๓๒ รูป/คน และประชาชนที่มาชม มาเชียร์งานแข่งขันหรือยาวที่วัดสวนหงส์ จำนวน ๒๗๒ คน โดยใช้แบบสัมภาษณ์และแบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติขั้นพื้นฐาน ส่วนการวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อทดสอบสมมุติฐาน ใช้ค่าสถิติ t – test/Anova และ Multiple Regression Analysis กำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ผลการวิจัยพบว่า

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชาย มีอายุระหว่าง อายุ ๒๑-๓๐ ปี จบการศึกษาต่ำกว่าระดับระดับปริญญาตรี มีอาชีพค้าขาย มีสถานภาพโสด และมีรายได้เฉลี่ยต่อเดือนน้อยกว่า ๑๐,๐๐๐ บาท ระดับบทบาทของพระสงฆ์ในการส่งเสริมงานประเพณีแข่งขันเรือยาว มีบทบาทอยู่ในระดับมากทุกด้านเฉลี่ย ๔.๑๙ เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านการพัฒนาสังคมและวัฒนธรรม เฉลี่ย ๔.๒๕ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีค่าเฉลี่ย ๔.๑๔ และผลการศึกษาบทบาทของพระสงฆ์ในการส่งเสริมประเพณีการแข่งขันเรือยาว เชิงสร้างสรรค์ มีบทบาทอยู่ในระดับมากทุกด้านเฉลี่ย ๓.๖๒ เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ด้านสังคมและวัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ๓.๗๐ ด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ ด้านการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเชิงสร้างสรรค์ มีค่าเฉลี่ย ๓.๕๔

ผลการเปรียบเทียบบทบาทของพระสงฆ์ในการส่งเสริมงานประเพณีการแข่งขันเรือยาวเชิงสร้างสรรค์ ด้วยค่าสถิติ t – test/Anova พบว่า เพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ อาชีพ รายได้เฉลี่ยต่อเดือน แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อบทบาทของพระสงฆ์ในการส่งเสริมงานประเพณีการแข่งขันเรือยาว เชิงสร้างสรรค์ ไม่แตกต่างกัน มีนัยสำคัญทางสถิติ >๐.๐๕ แสดงว่ามีความแปรปรวนเท่ากัน ส่วนระดับการศึกษาสูงสุด กับ ด้านการพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีความคิดเห็นแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕

ผลการวิเคราะห์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรทำนายทั้ง ๔ ตัวแปร กับตัวแปรตาม จำนวน ๑ ตัวแปรด้วยค่าสถิติ Multiple Regression Analysis พบว่า ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรที่มีค่าสูงสุด คือค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรด้านเศรษฐกิจ (X๔) และด้านสังคมและวัฒนธรรม (X๒) กับ วัฒนธรรมเชิงสร้างสรรค์ มีความสัมพันธ์ทางบวก ขนาดความสัมพันธ์สูงมาก และมีอยู่จริงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ ๐.๐๕ ดังนั้น ตัวแปรด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคมและวัฒนธรรม ที่น่าจะเป็นตัวแปรทำนายที่ดีที่สุด และน่าจะมีอิทธิพลทางบวกต่อบทบาทของพระสงฆ์ในการส่งเสริมงานประเพณีแข่งขันเรือยาวเชิงสร้างสรรค์ วัดสวนหงส์ อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี สมการมีอำนาจพยากรณ์เท่ากับร้อยละ ๒.๒๕ (R๒ = ๐.๐๒๒๕) และสามารถเขียนสมการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุได้ดังนี้  Ŷ = ๓.๐๑ + ๐.๑๗ (X) + (-๐.๑๓) (X)

References

กรมการศาสนา, กระทรวงวัฒนธรรม, แนวทางการดำเนินงานชุมชนคุณธรรมและขับเคลื่อนด้วยพลัง “บวร”, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๖๐).
กรมศิลปากร, วัฒนธรรม อารยธรรม ภูมิปัญญา และเทคโนโลยี, พิมพ์ครั้งแรก, (กรุงเทพมหานคร: บริษัทมีดีเนตเวิร์ก จำกัด, ๒๕๔๒), หน้า ๘๐-๘๙.
กองพุทธศาสนาสถาน สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, วัดพัฒนา’ ๕๒, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ, ๒๕๕๓), หน้า ๕.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต), สถาบันสงฆ์กับสังคมไทย, (กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง, ๒๕๒๗), หน้า ๒๐๙.
สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์, (ป.อ. ปยุตฺโต), สถานการณ์พุทธศาสนา พลิกสถานะเป็นพัฒนา พิมพ์ครั้งที่ ๒, (กรุงเทพมหานคร: สหธรรมิก, ๒๕๓๘), หน้า ๑๕.
วัฒนธรรมและประเพณี, [ออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.meemodo.com/THculture.html, [๕ พ.ย. ๒๕๖๒].
สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ, วัฒนธรรมท้องถิ่น ประเภทศาสนา : ความหมายและขอบข่ายวัฒนธรรม, (กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภา ๒๕๓๔), หน้า ๕-๖.
กรมศิลปากร, วัฒนธรรม อารยธรรม ภูมิปัญญา และเทคโนโลยี, พิมพ์ครั้งแรก, (กรุงเทพมหานคร: บริษัทมีดีเนตเวิร์ก จำกัด, ๒๕๔๒), หน้า ๘๐-๘๙.
สัมภาษณ์ นายธรรมนูญ มณีอินทร์, อายุ ๘๐ ปี บ้านเลขที่ ๖๘ หมู่ ๑๐ ตำบลโคกคราม, นายคะนึง ศรีประจันทร์ อายุ ๖๕ ปี บ้านโคกคราม หมู่ ๑๐, นายปรเมศฐ์ ปัญจสังวร อายุ ๕๕ ปี ปราชญ์ขุมชนโรงสีวังตาเพชร อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี, [๙ พฤศจิกายน ๒๕๖๒].
พระมหาจตุพล ญาณวีโร, การบริหารกิจการคณะสงฆ์วัดสวนหงส์, ๒๕๕๖, หน้า ๕.
อำเภอบางปลาม้า, รายงานสรุปผลการจัดงานประเพณีการแข่งขันเรือยาว ปี ๒๕๖๑, ม.ป.ท.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

19-04-2021

ฉบับ

บท

บทความวิจัย