การบูรณาการหลักธรรมาธิปไตยเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำทางการเมือง ของนักการเมืองในจังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
หลักธรรมาธิปไตย, ผู้นำ, การเมืองบทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปปัญหาและอุปสรรคการส่งเสริมภาวะผู้นำของนักการเมืองในจังหวัดนครราชสีมา 2) เพื่อศึกษาหลักธรรมาธิปไตยสำหรับส่งเสริมภาวะผู้นำของนักการเมืองในจังหวัดนครราชสีมา 3) เพื่อนำเสนอการบูรณาการหลักธรรมาธิปไตยสำหรับส่งเสริมภาวะผู้นำของนักการเมืองในจังหวัดนครราชสีมา ผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ ได้แก่ นักการเมืองระดับชาติ นักการเมืองท้องถิ่น หน่วยงานภาครัฐ พระสงฆ์นักวิชาการ ประชาชนที่เป็นฐานเสียงของนักการเมือง นักวิชาการทางด้านรัฐศาสตร์ จำนวน 25 รูปหรือคน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสัมภาษณ์
วิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา
ผลการวิจัยพบว่า
- สภาพทั่วไปปัญหาและอุปสรรคการส่งเสริมภาวะผู้นำของนักการเมืองในจังหวัดนครราชสีมา ด้านจุดเด่นของการส่งเสริมภาวะผู้นำ ผู้นำมีวิสัยทัศน์ มีภาวะผู้นำ และมีความมุ่งมั่นสูงที่จะพัฒนาองค์ให้มีความเจริญก้าวหน้าในทุกด้าน สามารถดำเนินงานได้อย่างต่อเนื่องและมีเสถียรภาพ จุดด้อยของการส่งเสริมภาวะผู้นำ บุคลากรบางส่วนจะต้องรับการพัฒนาให้เข้าใจในบทบาทหน้าที่การปฏิบัติงาน การจัดการความรู้และเทคโนโลยีไม่เป็นระบบ การดำเนินงานโครงการ มีการบูรณาการร่วมกันน้อย โอกาสของการส่งเสริมภาวะผู้นำ ได้รับการสนับสนุนและการได้รับความร่วมมือจากประชาชนในชุมชนเป็นอย่างดีและมีความต่อเนื่อง อุปสรรคของการส่งเสริมภาวะผู้นำ การสนับสนุนงบประมาณในโครงการขนาดใหญ่ที่เกินศักยภาพของเทศบาลที่จะดำเนินการได้ มีโอกาสได้รับการสนับสนุนน้อย ซึ่งส่งผลต่อการพัฒนาท้องถิ่น
- หลักธรรมาธิปไตยสำหรับส่งเสริมภาวะผู้นำของนักการเมืองในจังหวัดนครราชสีมา
ด้านอำนาจ-อิทธิพลของผู้นำ การเป็นผู้นำคือคนที่สามารถทำให้คนอื่นไปสู่จุดมุ่งหมายปลายทางได้ หน้าที่ผู้นำต้องมีความรับผิดชอบในการกำหนดนโยบายไปปฏิบัติให้เกิดผลได้ ด้านพฤติกรรมของผู้นำ การเป็นผู้นำที่ดีต้องมีความพยายามความเพียร และการมีระเบียบวินัยต่อตนเอง มุ่งเน้นหนักในเรื่องความเป็นผู้นำการเรียนรู้ ปลูกฝังให้ขยันหมั่นเพียร ด้านคุณลักษณะของผู้นำ ภาวะผู้นำมีความสามารถในการโน้มน้าวหรือจูงใจให้ผู้อื่นยอมรับและยินดีปฏิบัติตามด้วยความเต็มใจ ด้านสถานการณ์ของผู้นำ ภาวะผู้นำและขีดความสามารถที่ทุกคนพึงมี เป็นพื้นฐานจำเป็นที่จะต้องได้รับการส่งเสริมและพัฒนาให้มีมาก
- การบูรณาการหลักธรรมาธิปไตยสำหรับส่งเสริมภาวะผู้นำของนักการเมืองในจังหวัดนครราชสีมา ประกอบด้วย ทาน (การช่วยเหลือสังคม) สีล (การเคารพกฎกติกาตามระเบียบสังคม) ปริจฺจาค (การแบ่งปันบริจาค) อาชฺขว (ความซื่อตรงสุจริต) มทฺทว (ความโอบอ้อมอารี) ตปํ (ความเพียรพยายาม) อกฺโกธ (การให้อภัย) อวิหึสา (การไม่เอารัดเอาเปรียบ) ขนฺติ (ความอดทน) อวิโรธน (ความเที่ยงธรรม)
References
อำเภอพะโต๊ะ จังหวัดชุมพร. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต.
วิทยาลัยการบริหารรัฐกิจ มหาวิทยาลัยบูรพา.
นนทพรรณ์ ธนบุณยเกียรติ์. (2558). การศึกษาความคิดเห็นของประชาชนในเขตเทศบาลนคร
พิษณุโลก ในการนำหลักทศพิธราชธรรมมาใช้ ในการบริหารภาครัฐแนวใหม่.
พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม.
นพ นรนารถ. (2562). “ธรรมาธิปไตยไม่มาจึงหาประชาธิปไตยไม่เจอ”. ผู้จัดการรายวัน, (17 มีนาคม): 6.
สำนักวิชาการและนำนักกฎหมาย สำนักงานเลขาการสภาผู้แทนราษฎร. (2557). สาระสังเขปประเด็นการปฏิรูปประเทศด้านอื่นๆ : การเสริมสร้างมาตรฐานคุณธรรมและจริยธรรมของผู้บริหารประเทศและประชาชน. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.
วิชัย ตันศิริ. (2561). การศึกษาเพื่อสร้างผู้นำสู่สังคมธรรมาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร: บริษัท พ.เพรส จำกัด).
Thaiireorm, (2562). สำนักข่าวอิศรา, (23 พฤศจิกายน): 2.
ลิขิต ธีรเวคิน, ความเป็นผู้นำทางการเมือง, [ออนไลน์], แหล่งที่มา : https://mgronline.com/daily/detail/9500000029811 [11 มีนาคม 2563]