พลวัตทางการเมืองกับการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมือง ในระบอบประชาธิปไตยของนักการเมืองท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • ไพรวรรณ ปุริมาตร วิทยาเขตนครราชสีมา

คำสำคัญ:

พลวัตทางการเมือง, วัฒนธรรมทางการเมือง, ระบอบประชาธิปไตย

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของนักการเมืองท้องถิ่น 2) เพื่อศึกษากระบวนการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของนักการเมืองท้องถิ่น 3) เพื่อนำเสนอรูปแบบพลวัตทางการเมืองกับการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของนักการเมืองท้องถิ่น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริหารท้องถิ่นและสมาชิกสภาท้องถิ่น ที่สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด  เทศบาล  และองค์การบริหารส่วนตำบล ในจังหวัดนครราชสีมา จำนวน  375 คน และผู้ให้ข้อมูลในการสัมภาษณ์ ได้แก่ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองเมืองท้องถิ่น ผู้ทรงคุณวุฒิในสังคมการเมือง นักวิชาการทางด้านรัฐศาสตร์ และพระสงฆ์นักวิชาการ  จำนวน 17 รูปหรือคน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ

ค่าเฉลี่ยส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา

  ผลการวิจัยพบว่า 

  1. การเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของนักการเมืองท้องถิ่น ประกอบด้วย 1) การมีความรู้ความเข้าใจและความตระหนักในสิทธิหน้าที่ความรับผิดชอบของตน 2) เคารพกฎหมายและกติกาในการอยู่ร่วมกันในสังคม 3) รู้จักยอมรับในความเห็นทางการเมืองโดยสุจริต  4) มีจิตสาธารณะ 5) มีความสนใจและเข้าไปมีส่วนร่วมในทางการเมือง
  2. กระบวนการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของนักการเมืองท้องถิ่น ประกอบด้วย 1) การมีความเชื่อมั่นศรัทธาต่อหลักการปกครองระบอบประชาธิปไตย 2) การยึดมั่นและเชื่อถือในหลักความสำคัญและศักดิ์ศรีของบุคคล 3) การเคารพกติกาของการปกครองแบบประชาธิปไตย 4) การมีส่วนร่วมในกิจกรรมทางการเมืองและการปกครอง 5) การมีสำนึกในหน้าที่พลเมืองของตนและมีความเชื่อมั่นในตนเอง 6) การมองโลกในแง่ดีมีความไว้วางใจเพื่อนมนุษย์ 7) การรู้จักวิพากษ์วิจารณ์อย่างมีเหตุผลและเป็นไปในทางสร้างสรรค์ 8) การไม่มีจิตใจแบบเผด็จการ
  3. นำเสนอรูปแบบพลวัตทางการเมืองกับการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมือง ในระบอบประชาธิปไตยของนักการเมืองท้องถิ่น ประกอบด้วย 1) กายกรรม (การทำดีกัน) 2) วจีกรรม (การพูดดีต่อกัน)  3) มโนกรรมอัน (การคิดดีต่อกัน) 4) สาธารณโภคี (การจัดสรรผลประโยชน์ต่อส่วนรวม) 5) สีลสามัญญตา (ไม่เบียดเบียนผู้อื่น) 6) ทิฏฐิสามัญญตา (รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น)

References

คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ. (2561). รายงานผลการตรวจสอบผลการปฏิบัติหน้าที่ประจำปี 2561. นนทบุรี: สยามคัลเลอร์พริน จำกัด.
ทวีศักดิ์ ตั้งวัฒนธรรม พรนภา เตียสุธิกุล และบุญเลิศ ไพรินทร์, ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณลักษณะข้าราชการพลเรือนที่พึงประสงค์ด้านมาตรฐานจริยธรรม. วารสารสังคมศาสตร์ วิชาการมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 8(2), 1.
ปรีชา อุยตระกูล และคณะ. (2561). โครงการ ประชาสังคมกับการเสริมสร้างธรรมาภิบาลท้องถิ่น เพื่อพัฒนาระบบและกลไกในการป้องกันการทุจริตคอร์รัปชัน กรณีศึกษาจังหวัดนครราชสีมา. รายงานวิจัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
พระครูพิบูลย์ธรรมสถิต ฐิตสุโข. (2561). การนำหลักสาราณียธรรม 6 ไปใช้ในการปฏิบัติงาน ของบุคลากรเทศบาลตำบลร่อนพิบูลย์ อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช.วารสารวิทยาลัยนครราชสีมา. 12(1), 111.
วิสุทธิ์ โพธิ์แท่น. (2547). การบริหารราชการแผ่นดินกับจิตวิญาณประชาธิปไตย. นนทบุรี : มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สถาบันพระปกเกล้า. (2550). วัฒนธรรมการเมือง จริยธรรมและการปกครอง, ในเอกสารประกอบการประชุมวิชาการ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพระปกเกล้า.
สมปอง รักษาธรรม. (2552). ความตื่นตัวทางการเมืองของเยาวชนในพื้นที่กับการพัฒนาวัฒนธรรมทางการเมืองแบบประชาธิปไตยในประเทศไทยช่วงปี พ.ศ. 2549-2552 : ศึกษากรณีเปรียบเทียบนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา. กรุงเทพมหานคร: วิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก.
อานันท์ ปนยารชุน. (2551). ประชาธิปไตยที่ยั่งยืน, การบรรยายสาธารณะ ณ กรุงบรัสเซลส์ ชุดการบรรยาย อมาตยา เซน เกี่ยวกับพัฒนาอย่างยั่งยืน สมาคม เคมบริดจ สมาคมออกซ์ฟอร์ดและกลามฮารวารดแห่งเบลเยี่ยม. กรุงเทพมหานคร: ศูนย์สาธารณประโยชน และประชาสังคมสถาบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร. Daniel, Wit. (1993). Comparative Political Institutes. New York: Holt Rhinehart
and Winston.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

19-04-2021

ฉบับ

บท

บทความวิจัย