การจัดการท่องเที่ยวโดยใช้ชุมชนเป็นฐานตำบลวังทอง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก

ผู้แต่ง

  • สุดารัตน์ รัตนพงษ์ วิทยาลัยการจัดการและพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม
  • หนึ่งฤทัย ศรีสุกใส
  • กฤติมา อินทะกูล
  • จุฑาธิป ประดิพัทธ์นฤมล
  • นันทพันธ์ คดคง

คำสำคัญ:

ท่องเที่ยว การจัดการท่องเที่ยว ท่องเที่ยวโดยชุมชน

บทคัดย่อ

         การวิจัย เรื่อง  การจัดการท่องเที่ยวโดยใช้ชุมชนเป็นฐานตำบลวังทอง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก พิษณุโลก มีวัตถุประสงค์การวิจัยเพื่อศึกษาการจัดการท่องเที่ยวโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ตำบลวังทอง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลกและเพื่อเสนอแนะแนวทางในการจัดการท่องเที่ยวโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน ตำบลวังทอง อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก ซึ่งใช้วิธีการวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม 

          ผลการวิจัย พบว่า พื้นที่บ้านโรงบ่ม หมู่ 11 ตำบลวังทอง มีศักยภาพชุมชนในการพัฒนาและต่อยอดด้านการท่องเที่ยว เนื่องจากพื้นที่ตำบลวังทองอยู่ใกล้กับสี่แยกอินโดจีน ซึ่งเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญในการพัฒนาเศรษฐกิจใหม่กลุ่มภาคเหนือตอนล่าง จากการสำรวจแหล่งท่องเที่ยวทั้งเชิงธรรมชาติและเชิงประวัติศาสตร์ พบว่า มีการกระจัดกระจายของข้อมูลแหล่งท่องเที่ยวในพื้นที่ และไม่มีสื่อในการให้ความรู้และประชาสัมพันธ์แบบองค์รวม จะเป็นลักษณะของการแยกกันจัดทำของแต่ละภาคส่วน นักวิจัยได้รวบรวมชุดข้อมูลของแหล่งท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและพัฒนาจัดทำแผนที่แหล่งท่องเที่ยวชุมชนบ้านโรงบ่ม ข้อมูลประวัติของแหล่งท่องเที่ยวสำคัญในพื้นที่ พร้อมรูปภาพปัจจุบัน ระบุลงในระบบการบ่งชี้พิกัดทางภูมิศาสตร์ (GPS) และแสดงผลโดยการสแกนในรูปแบบ QR Code สำหรับสภาพปัญหาการจัดการท่องเที่ยวโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน อำเภอวังทอง จังหวัดพิษณุโลก พบว่า ขาดงบประมาณสนับสนุนในส่วนต่างๆ และยังคงมีการทำงานแบบแยกส่วนการประสานงานระหว่างหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ขาดการประชาสัมพันธ์ ขาดระบบการบริหารจัดการที่ดีรวมไปถึงระบบความปลอดภัยทางการท่องเที่ยว ขาดที่พักในพื้นที่และขาดแคลนสิ่งอำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยว จากสภาพปัญหาดังกล่าว นำไปสู่การพัฒนาผู้ประกอบการที่มีความสามารถในการประกอบการพื้นที่โฮมสเตย์ โดยใช้ข้อมูลบริบทชุมชนบ้านโรงบ่มเป็นฐานการพัฒนาการจัดการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน

References

ไกรฤกษ์ ปิ่นแก้ว. (2544). เศรษฐกิจสร้างสรรค์ ทุนวัฒนธรรมและโอกาสทางธุรกิจ. วารสารนักบริหาร, 31(1), 32-37.
พิมพ์ลภัส พงศกรรังศิลป์. (2557). การพัฒนาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวอย่างยั่งยืนกรณีศึกษา หมู่เกาะลันตา จังหวัดกระบี่. นครศรีธรรมราช : มหาวิทยาลัย วลัยลักษณ์.
สินธุ์ สโรบล. (2557) การพัฒนาขีดความสามารถของชุมชนในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวชุมชน ตามแนวพระราชดำริ พื้นที่ตำบลเทพเสด็จ อำเภอดอย สะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่ : มหาวิทยาลัยแม่โจ้.
Kemmis, S & McTaggart, R. (1988). The Action Research Planer (3rd ed.).Victoria: Deakin. University. Johnson, A. P.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-04-2021

ฉบับ

บท

บทความวิจัย