การแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาทด้วยพุทธวิธี

ผู้แต่ง

  • พระศรีรัชมงคลบัณฑิต อรุณ มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การแก้ไขปัญหา, การทะเลาะวิวาท, พุทธวิธี

บทคัดย่อ

บทความนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา “การแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาทด้วยพุทธวิธี” จากผลการศึกษาพบว่า ถ้าสังคมไทยแก้ไขปัญหาความทะเลาะวิวาทกันด้วยพุทธวิธีคือการนำพุทธวิธีมาประยุกต์ใช้แก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาทกันโดยแก้ให้ตรงสาเหตุของปัญหา วิธีแก้ไขนั้นต้องมีคนกลางที่มีคุณสมบัติเป็นที่น่าเคารพเชื่อถือของคนทั้ง 2 ฝ่าย เช่น ปราศจากอคติต่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง มีเมตตา กรุณา มุทิตา อุเบกขาอย่างแท้จริง ออกมาช่วยประนีประนอมไกล่เกลี่ยแก้ไขปัญหา และที่สำคัญอีกประการก็คือกลุ่มคนที่มีปัญหาทั้ง 2 ฝ่ายต้องยอมรับและพร้อมจะช่วยกันแก้ไขปัญหา โดยเฉพาะการแก้ไขทัศนคติของแต่ละฝ่ายที่มีต่อกันที่เป็นลบต้องปรับทัศนคติทั้ง 2 ฝ่ายให้เป็นบวกได้ การแก้ไขปัญหาการทะเลาะวิวาทก็คงจะไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป พระพุทธศาสนามองว่า ปัญหาทั้งปวงย่อมเกิดจากเหตุ ดังนั้นเมื่อจะแก้ไขก็ต้องแก้ที่สาเหตุเหตุนั้น และสาเหตุที่สำคัญที่สุดที่เป็นเหตุก่อการทะเลาะวิวาท คือ ทิฏฐิ มานะ

References

เบรนด์อาร์.เนลสัน. (2548). ความคิดทางการเมืองตะวันตก แปลโดยสมนึก ชูวิเชียร. กรุงเทพมหานคร: เอ็มแอลครีเอชั่น.
มหามกุฏราชวิทยาลัย, มูลนิธิ. (2538). พระไตรปิฎกภาษาบาลี ฉบับสยามรัฐ, เล่มที่ 13, 22, กรุงเทพมหานคร : มหามกุฏราชวิทยาลัย
________. (2548). ธัมมปทัฏฐกถา แปล ภาค 1. พิมพ์ครั้ง 19. กรุงเทพมหานคร : มหามกุฏราชวิทยาลัย
________. (2547). ธัมมปทัฏฐกถา แปล ภาค 6. พิมพ์ครั้ง 14. กรุงเทพมหานคร : มหามกุฏราชวิทยาลัย
พระศรีรัชมงคลบัณฑิต, (2551). ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาความยากจนให้กับประชาชนของคณะสงฆ์ จังหวัดร้อยเอ็ด. รายงานการวิจัย สถาบันวิจัยญาณสังวร มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

Downloads

เผยแพร่แล้ว

19-04-2021

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ