ประวัติศาสตร์ชุมชนยุคการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม กรณีศึกษาอำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช

ผู้แต่ง

  • เดโช แขน้ำแก้ว มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช
  • พงศ์ประสิทธิ์ อ่อนจันทร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช
  • จิตติมา ดำรงวัฒนะ มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช
  • บุญยิ่ง ประทุม มหาวิทยาลัยราชภัฎนครศรีธรรมราช

คำสำคัญ:

ประวัติศาสตร์ชุมชน, การฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม, อำเภอพิปูน

บทคัดย่อ

บทความการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประวัติศาสตร์ชุมชนยุคการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคม กรณีศึกษาอำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช ศึกษาเชิงคุณภาพโดยพิจารณาข้อมูลจากบทความทางวิชาการ รายงานการวิจัย เอกสารของหน่วยงานในชุมชน เอกสารส่วนบุคคล ข่าวท้องถิ่น และศึกษาภาคสนามโดยการสังเกต และสัมภาษณ์เชิงลึกกับกลุ่มเป้าหมาย คือ กลุ่มแกนนำและผู้สูงอายุในชุมชนที่มีความรู้ด้านประวัติศาสตร์ชุมชน จำนวน 16 คน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยพรรณนาวิเคราะห์ ผลการศึกษาพบว่า การริเริ่มโครงการเซรามิกในอำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช เนื่องจากพื้นที่เป็นดินทราย ทำเหมืองแร่มาก่อน ไม่สามารถปลูกพืช และพื้นที่ใกล้เคียงมีแหล่งวัตถุดิบที่นำมามาทำเซรามิกได้ ทำให้เกิดการสร้างงาน รายได้ และให้ความรู้เกี่ยวกับเซรามิกแก่นักเรียน นักศึกษา และประชาชน ขณะเดียวกันมีการพัฒนาอาชีพการทำสวนยางพารา ด้วยการศึกษาค้นคว้าจากชาวบ้านหาเพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจในครัวเรือนที่สอดคล้องกับวิถีชาวบ้านในลักษณะกลุ่มเกษตรกร เริ่มตั้งโรงงานแปรรูปยางพาราเพื่อพัฒนาคุณภาพยางพาราและมีหน่วยงานต่าง ๆ เข้าไปให้ความรู้ และส่งเสริมผลิตภัณฑ์ในพื้นที่

References

การยางแห่งประเทศไทยจังหวัดนครศรีธรรมราช. (2562). การยางแห่งประเทศไทยสาขาฉวาง ลงพื้นที่สำรวจความเสียหายจากอัคคีภัย ในตำบลยางค้อม อำเภอพิปูน. สืบค้น 13 พฤษภาคม 2563, จาก https://web.facebook.com/984957101691378/photos/pcb.1043811139139307/1043810802472674/?type=3&theater

ณปภัช จันทร์เมือง, ชัชวาลย์ รัตนพันธุ์ และเปมิกา แซ่เตียว. (2561). ผลิตภัณฑ์ชุมชนจากวัสดุยางพาราแปรรูป อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิจัยเพื่อการพัฒนาเชิงพื้นที่, 10(5), 351-364.

ธนกฤต ใจสุดา, ภัทรา ศรีสุโข และณภัค แสงจันทร์. (2562). เครื่องประดับเซรามิก : เอกลักษณ์ภูมิปัญญาสู่การพัฒนาผลิตภัณฑ์เชิงพาณิชย์. วารสารศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, 23(1), 73-84.

วินิจ ผาเจริญ และคณะ. (2563). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่นระดับชุมชน: กรณีศึกษาพื้นที่เทศบาล ตำบลแม่โป่ง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 5(1), 1-10.

นุชนารถ กฤษณรมย์ และคณะ. (2561). การเรียนรู้แนวทางการจัดจำหน่ายและการส่งเสริมการตลาดของผลผลิตทางการเกษตรตามแนวคิดเกษตรทฤษฎีใหม่: กรณีศึกษาอำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์, 10(1), 181-193.

โรงงานเซรามิก สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์. (2563). โรงงานเซรามิก สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์. สืบค้น 14 พฤษภาคม 2563, จาก https://web.facebook.com/pages/โรงงานเซรามิก -สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์/433755686708761?_rdc=1&_rdr

สำนักข่าวไทย TNAMCOT. (2559). ข่าวดังข้ามเวลา : พิปูนมหันตภัยโคลนถล่ม [คลิปเต็มรายการ]. สืบค้น 13 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.youtube.com/

watch?v=hB7NH2eVBmI&t=200s

สำนักข่าวนครโพสต์. (2560). กยท.นครศรีธรรมราช สรุปผลการดำเนินงานตามโครงการแก้ไขปัญหายางพาราทั้งระบบ ตามนโยบายของรัฐบาล. สืบค้น 13 พฤษภาคม 2563, จาก http://www.nakhonpost.com/index.php?lay=show&ac=

article&Id=2147544656&Ntype=1

สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอพิปูน. (2563). ประวัติอำเภอพิปูน. สืบค้น 14 พฤษภาคม 2563, จาก istrict.cdd.go.th/phipun/about-us/ประวัติความเป็นมา/

สุธิรา ชัยรักษา เงินถาวร. (2554). การปรับตัวและการจัดการวิถีการเกษตรแบบยั่งยืนตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง : กรณีศึกษาตำบลกะทูน อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช. วิชชา วารสารวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 30(2), 1-8.

อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช. (2560). เซรามิก สถาบันวิจัยจุฬาภรณ์ สุดยอดงาน หัตถกรรมพิปูน. สืบค้น 14 พฤษภาคม 2563, จาก http://lovephipun.blogspot.com/2017/11/blog-post_83.html

อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช. (2563). ศักยภาพของอำเภอพิปูน. สืบค้น 14 พฤษภาคม 2563, จาก https://

www.tungsong.com/NakhonSri/amphur_new/piphun/piphun08_n.html

อำเภอพิปูน จังหวัดนครศรีธรรมราช. (2563). อำเภอพิปูน. สืบค้น 14 พฤษภาคม 2563, จาก https://www.tung song. com/NakhonSri/amphur_new/piphun/piphun1_n.html

ไอลดา แพงดี, วิชิต สุรัตน์เรืองชัย และปริญญา ทองสอน. (2562). วิธีสอน, กระบวนการ, เจตคติ การเสริมสร้างเจตคติที่ดีต่ออาชีพในท้องถิ่น ของนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดโขดหินมิตรภาพที่ 42 โดยใช้วิธีสอนแบบกระบวนการสร้างเจตคติ. วารสาร มจร มนุษยศาสตร์ปริทรรศน์, 5(2), 75-86.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-12-2020

ฉบับ

บท

บทความวิจัย