การนำนโยบายการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุของหน่วยงานภาครัฐสู่ภาคปฏิบัติขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดเพชรบูรณ์

ผู้แต่ง

  • ไพบูลย์ ช่างเรียน รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สถาบันรัชต์ภาคย์

คำสำคัญ:

นโยบายภาครัฐ, การจัดสวัสดิการผู้สูงอายุ, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา1) ระดับการนำนโยบายการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุของหน่วยงานภาครัฐสู่ภาคปฏิบัติ 2) ความสัมพันธ์ระหว่างนโยบายการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุของหน่วยงานภาครัฐกับความต้องการจัดสวัสดิการของผู้สูงอายุขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดเพชรบูรณ์เป็นการศึกษาเชิงสำรวจ (Survey Research) โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 500 คนแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลสถิติค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย การทดสอบค่า T- test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One Way ANOVA Analysis) และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression)

              ผลการศึกษาพบว่า

             1.ระดับการนำนโยบายการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุของหน่วยงานภาครัฐสู่ภาคปฏิบัติภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางโดยเห็นว่าการจัดสวัสดิการเบี้ยยังชีพรายเดือนแก่ผู้สูงอายุตามความจำเป็นและการสงเคราะห์ในการจัดงานศพตามประเพณี อยู่ในระดับมากที่สุดรองลงมาคือการบริการทางการแพทย์และการสาธารณสุขที่จัดไว้โดยให้ความสะดวกรวดเร็วแก่ผู้สูงอายุเป็นพิเศษและในระดับน้อยสุดคือการจัดหาที่พักอาศัยอาหารเครื่องดื่มตามความจำเป็น ความคิดเห็นต่อความต้องการการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุได้แก่ด้านบริการสาธารณสุขด้านบริการสังคมด้านบริการสันทนาการการท่องเที่ยวด้านการประกันรายได้และที่อยู่อาศัยด้านบริการการศึกษาภาพรวมอยู่ในระดับมากระดับปานกลาง   

             2.ความสัมพันธ์การจัดสวัสดิการผู้สูงอายุของหน่วยงานภาครัฐและความต้องการการจัดสวัสดิการผู้สูงอายุคือ ด้านการบริการสาธารณสุขด้านการบริการทางการศึกษาด้านบริการประกันรายได้และที่อยู่อาศัยด้านบริการสันทนาการและการท่องเที่ยวด้านบริการสังคม

References

โกวิทย์ พวงงาม. (2549). มิติใหม่การปกครองท้องถิ่น วิสัยทัศน์ กระจายอำนาจ และการบริหารงานท้องถิ่น. กรุงเทพฯ : คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
Kowit Puangngam. (2006). New dimension, local government, decentralized vision and local administration. Bangkok: Faculty of Social Work Thammasat University.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (2546). การคาดงบประมาณประชากร
ของประเทศไทย. (ม.ป.ท.), 2543 – 2563.
Office of the National Economic and Social Development Board (2003). Population budgeting
Of Thailand. (Sor.PorThor.), 2000 - 2020.
สมจิต แดนสีแก้ว และคณะ. รายงานวิจัยเรื่องชุมชนช่วยชุมชนเพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุในเขตชนบทภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. ขอนแก่น : คณะพยาบาลศาสตร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น, 2543.
Somchit Danseikaew and colleagues. Community research report helping communities to improve the quality of life for the elderly in rural areas in the northeastern region. Khon Kaen: Faculty of Nursing, Khon Kaen University, 2000.
บรรลุ ศิริพานิช. ปัญหาสุขภาพของผู้สูงอายุ. กรุงเทพฯ : คบไฟ, 2542.
Brrlu Siriphanich. Health Problems of the Elderly. Bangkok: Torch, 1999.
รพีพรรณ คำหอมและคณะ. รายงานวิจัยเรื่องการประเมินโครงการบริการสวัสดิการสังคมเพื่อ
พัฒนาคุณภาพชีวิตผู้สูงอายุไทย. สถาบันวิจัยระบบสาธารณสุขและคณะกรรมการและ
ผู้ประสานงานผู้สูงอายุแห่งชาติ. เอกสารอัดสำเนา, 2542.
Raphiphan Khamhom and colleagues. Research Report on Assessment of Social Welfare Services forImprove the quality of life for Thai elderly. Health Systems Research Institute and the committee andNational Coordinator for the Elderly Copy documents, 1999.
สำนักงานพัฒนาและความมั่นคงของมนุษย์จังหวัดเพชรบูรณ์. แผนปฏิบัติการจัดสวัสดิการสังคม
จังหวัด 5 ปี ( พ.ศ. 2551-2555 ). เอกสารอัดสำเนา, 2552.
Phetchabun Provincial Human Development and Security Office Social Welfare Action Plan
Province, 5 years (2008-2012). Copy documents, 2009.
Van Meter Donald S. and Van Horn Carl E. “The Policy Implementation Process: A Coneptual
Framework”. Administration and Society. Vol. 6, No. 4, 1975.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

20-04-2020

ฉบับ

บท

บทความวิจัย