ทุนทางสังคมภายใต้การจัดการความรู้สู่ชุมชนของนักพัฒนากร

ผู้แต่ง

  • อรรถนันท์ คำยิ่ง เทศบาลตำบลแคมส์สน

คำสำคัญ:

ทุนทางสังคม, การจัดการความรู้, ชุมชน, พัฒนากร

บทคัดย่อ

บทความวิชาการนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากระบวนการจัดการความรู้สู่ชุมชนของพัฒนากรภายใต้ทุนทางสังคม พบว่า พัฒนากรนำกระบวนการจัดการความรู้ ซึ่งเป็นกระบวนการแบบหนึ่งที่จะช่วยให้องค์กรหรือ คือ รู้จักตนเอง เสาะหาความรู้ เรียบเรียงความรู้ ประมวลผลความรู้ การเผยแพร่ความรู้ การแลกเปลี่ยนความรู้ และการบูรณาการความรู้สู่การทำงาน: โดยมาเป็นขั้นตอนกระบวนการจัดการความรู้ของพัฒนากร ในการพัฒนาทุนทางสังคมภายใต้การจัดการความรู้สู่ชุมชน คือ  กระบวนการจัดการความรู้ของชุมชน ด้วยวิธีการสร้างความรู้ให้เพื่อนหรือสมาชิกได้รับรู้เป้าหมายที่สมาชิกในชุมชนจะนำไปใช้พึงพาอาศัยอย่าง สภาพทุนทางสังคมกับการจัดการความรู้สู่ชุมชน การนำทุนทางสังคมมาใช้เริ่มต้นด้วยการเจรจา รณรงค์โดยออกพบปะ ขอความร่วมมือ จัดเวทีสนทนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์  ทุนทางสังคมกับการจัดการความรู้สู่ชุมชน ใช้ทุนทางความรู้ที่มีอยู่ในชุมชนมาทบทวนสร้างกิจกรรม สร้างเงินสร้างรายได้กลับเข้าสู่ชุมชน สร้างเครือข่าย สร้างการยอมรับและไว้วางใจ และสร้างผลงานให้เกิดการยอมรับผลงานของชุมชนเป็นแหล่งเรียนรู้และการถ่ายทอดประสบการณ์

References

กลุ่มงานส่งเสริมการจัดการความรู้ของชุมชน. (2559). คู่มือการจัดการความรู้ของชุมชนพร้อมวิดีโอซีดี (Video CD). สำนักเสริมสร้างความเข้มแข็งชุมชน กรมการพัฒนาชุมชน.
บุญดี บุญญากิจ และคณะ. (2547). การจัดการความรู้จากทฤษฎีสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร : สถาบันเพิ่มผลผลิตแห่งชาติ.
ประพันธ์ นึกกระโทก. (2557). “ทุนทางสังคมกับการจัดการความรู้สู่องค์กรชุมชนพึ่งพาตนเองอย่างยั่งยืนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนล่าง”. ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต (สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). บัณฑิตวิทยาลัย : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
วรวุฒิ โรมรัตนพันธ์. (2548). ทุนทางสังคม. กรุงเทพมหานคร : โครงการเสริมสร้างการเรียนรู้เพื่อชุมชนเป็นสุข (สรส.).
วิจารณ์ พานิช. (2549). การจัดการความรู้ ฉบับนักปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.
สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ, ยุทธศาสตร์แผนฯ 11. [ออนไลน์], แหล่งที่มา : http://www.nesac.go.th/office/onesac_papers/papers_files/paper_21.php [8 กรกฎาคม 2563]
เสกสรร คำมูลดี และคณะ, (2547). “กระบวนการเรียนรู้เพื่อการพึงตนเองอย่างยังยืนของชุมชนบ้านแม่หวาน ตำบลป่าเมียง อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่”, รายงานวิจัย, ชุดโครงการการบริหารจัดการท้องถิ่น : สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.).
C. O’Dell, C. Jackson Grayson, Jr. and N.Essaides. (1998). “If Only We Knew What We Know : The Transfer of Internal Knowledge and Best Practice”. The Free Press, USA..

Downloads

เผยแพร่แล้ว

20-04-2020

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ