ปัญหาทางกฎหมายในการกำหนดโทษบุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้ขับขี่ขณะเมาสุรา ตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522

ผู้แต่ง

  • กัตติกา รอดเส็ง มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

การขับขี่ขณะเมาสุรา, บุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้ขับขี่, ความรับผิดของผู้ขับขี่

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงสภาพปัญหา ความเป็นมา แนวคิดทฤษฎี และมาตรการทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับความรับผิดของผู้ขับขี่ขณะเมาสุราและบุคคลที่เกี่ยวข้องกับผู้ขับขี่ อีกทั้งได้วิเคราะห์เปรียบเทียบความรับผิดทางอาญาของผู้เกี่ยวข้องกับการขับขี่ขณะเมาสุราตามกฎหมายของประเทศไทยกับกฎหมายต่างประเทศ เพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาการขับขี่ขณะเมาสุราที่มีจำนวนที่สูงมากของประเทศไทย จากการศึกษาพบว่า มาตรการทางกฎหมายและแนวคิดเกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานขับขี่ขณะเมาสุราของประเทศไทยยังไม่มีความเข้มงวดเพียงพอ กล่าวคือ บทกำหนดโทษไม่มีความรุนแรงเพียงพอที่จะก่อให้เกิดความเกรงกลัวในการกระทำความผิด ไม่มีการกำหนดความรับผิดกับบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับการขับขี่ขณะเมาสุรานอกจากผู้ขับขี่ ในขณะที่บางประเทศมีการกำหนดความรับผิดกับบุคคลที่เกี่ยวข้องกับการขับขี่ขณะเมาสุราอย่างครอบคลุมและเคร่งครัดกว่าประเทศไทย ดังนั้น ผู้วิจัยจึงเสนอแนวทางในการแก้ไขปัญหาโดยการเพิ่มมาตรการกำหนดความรับผิดกับบุคคลอื่นที่เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดฐานขับขี่ขณะเมาสุรา ไม่ว่าในฐานะผู้โดยสาร ผู้ที่ร้องขอหรือไหว้วานให้ผู้อื่นขับขี่ยานพาหนะไปส่งตนโดยรู้อยู่แล้วว่าผู้นั้นมีแอลกอฮอล์ในร่างกาย และผู้ให้ยืมยานพาหนะ ตลอดจนการกำหนดบทลงโทษที่เหมาะสมกับบุคคลดังกล่าว และการแก้ไขโทษสำหรับผู้ขับขี่ให้เหมาะสม เพื่อให้ผู้กระทำความผิดสำนึกในการกระทำและผู้อื่นไม่กล้ากระทำความผิดเช่นเดียวกันนี้เพราะเกรงกลัวต่อโทษที่จะได้รับอันจะนำไปสู่การลดจำนวนอุบัติเหตุที่เกิดจากการขับขี่ขณะเมาสุราลงได้

References

ปกครอง เปรมดิษฐกุล. (2558). ปัญหาการบังคับใช้กฎหมาย : ศึกษากรณีขับรถขณะเมาสุราเป็นเหตุให้ ผู้อื่นถึงแก่ความตาย. (งานเอกสารวิชาการหลักสูตรผู้พิพากษาผู้บริหารในศาลชั้นต้น รุ่น 14). สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม.

สุรชัย คำพานิช. (2557). มาตรการในการลงโทษความผิดฐานขับขี่ขณะเมาสุราตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

บังเอิญ เนียมศรี. (2558). การบังคับใช้กฎหมายกรณีขับรถขณะเมาสุราเปรียบเทียบของประเทศไทยกับญี่ปุ่น. (งานเอกสารวิชาการ หลักสูตร ผู้พิพากษาผู้บริหารในศาลชั้นต้น รุ่นที่ 14). สถาบันพัฒนาข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม สำนักงานศาลยุติธรรม.

มูลนิธิเมาไม่ขับ. (15 พฤศจิกายน 2562). ข่าวเสนอประยุทธ์-ประธานศาลฎีกา แก้กฎหมายเมาชนตาย คุกไม่รออาญา. สืบค้นเมื่อ 30 พฤศจิกายน 2562. จาก: http://www.ddd.or.th/Contents/view/6561.

มูลนิธิเมาไม่ขับ. (2 เมษายน 2562). ภาครัฐ ภาคเอกชน ลงนามประกาศเจตนารมณ์องค์กรธรรมาภิบาลทางการจราจร. สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2562, เข้าถึงได้จาก: http://www.ddd.or.th/Contents/view/6160.

สำนักงานกองทุนสนับสนุนการส่งเสริมสุขภาพ (สสส.). (2561). ประมาณการผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุมี แนวโน้มดีขึ้น. สืบค้นเมื่อ 18 พฤษภาคม 2562, เข้าถึงได้จาก: https://ddc.moph.go.th/th/site/newsview/view/2698.

คมชัดลึก. (3 มกราคม 2563). ศปถ.สรุป 7 วันอันตรายปีใหม่ ตาย 373 ศพ เจ็บ 3,499 คน. สืบค้นเมื่อ 6 มกราคม 2563, เข้าถึงได้จาก: https://www.komchadluek.net/news/breaking-news/408237.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-12-2020

ฉบับ

บท

บทความวิจัย