ความรับผิดทางละเมิดอันเกิดจากสัตว์ : ศึกษากรณีสุนัขเลี้ยง
คำสำคัญ:
ความรับผิด, ละเมิด, สุนัขเลี้ยงบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) วิธีการหาตัวเจ้าของสุนัขหรือบุคคลผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของสุนัข 2) วิธีการหาตัวผู้ดูแลสุนัขชั่วคราวเพื่อหาเจ้าของรายใหม่ 3) แนวทางเยียวยาหากสุนัขเลี้ยงก่อให้เกิดความเสียหายจำนวนมาก 4) การจัดเก็บค่าธรรมเนียมจากเจ้าของสุนัขหรือบุคคลผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของสุนัข 5) ความรับผิดอาญาของเจ้าของสุนัข จากการศึกษาพบว่า ในสหราชอาณาจักร เครือรัฐออสเตรเลีย สาธารณรัฐสิงคโปร์ ราชอาณาจักรเนเธอร์แลนด์ สาธารณรัฐเกาหลีและสหภาพยุโรปต่างก็มีกฎหมายเกี่ยวกับสุนัขไว้โดยเฉพาะและค่าสินไหมทดแทนเชิงลงโทษเพื่อป้องปรามและยับยั้งการทำความผิดของบุคคล ดังนั้น ประเทศไทยจึงควรจัดให้มีกฎหมายและกฎระเบียบต่าง ๆ ในเรื่องดังกล่าว โดยประการแรก กำหนดให้มีการลงทะเบียนเจ้าของสุนัข บุคคลผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของสุนัขและผู้ดูแลสุนัขชั่วคราวเพื่อจัดการหาเจ้าของสุนัขรายใหม่ รวมถึงประกาศเปิดเผยรายละเอียดไว้ ประการที่สอง นำระบบระบุตำแหน่งบนพื้นโลก (GPS) มาใช้กับสุนัขเลี้ยงในรูปแบบปลอกคออิเล็กทรอนิกส์ ประการที่สาม จัดตั้งองค์กรเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับผู้ดูแลสุนัขชั่วคราวเพื่อหาเจ้าของรายใหม่ ประการที่สี่ นำค่าสินไหมทดแทนเชิงลงโทษมาใช้บังคับแก่กรณีที่มีความเสียหายเป็นจำนวนมาก รวมถึงกำหนดอัตราค่าสินไหมทดแทนเชิงลงโทษไว้ให้ชัดเจน ประการที่ห้า กำหนดให้มีการทำประกันภัยสุนัขเลี้ยง ประการที่หก จัดเก็บค่าธรรมเนียมจากเจ้าของสุนัขหรือบุคคลผู้รับเลี้ยงรับรักษาไว้แทนเจ้าของสุนัข แต่ยกเว้นสำหรับสุนัขของผู้พิการทางสายตาและทางการได้ยิน สุนัขที่ไม่ได้ถูกเลี้ยงเพื่อการค้าและสุนัขที่ถูกเลี้ยงก่อนกฎหมายจัดเก็บค่าธรรมเนียมใช้บังคับและประการสุดท้าย กำหนดความผิดอาญาในกรณีสุนัขเลี้ยงก่อให้เกิดความเสียหายโดยไม่ต้องเป็นสัตว์ดุหรือสัตว์ร้ายและให้อำนาจเจ้าหน้าที่ในการกักกันสุนัขเลี้ยง
References
ปริญญาวัน ชมเสวก. (2550). ค่าเสียหายเชิงลงโทษในคดีละเมิด. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
มาณพ ประวาลลัญฉกร. (2562). กฎหมายว่าด้วยการขึ้นทะเบียนและเสียภาษีสุนัข. วารสารวิจัยและพัฒนามหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 14(47). 13-24.
ศักดา ธนิตกุล. (2555). การนำหลักค่าเสียหายเชิงลงโทษมาใช้ในกฎหมายไทย. (รายงานการวิจัย). จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา. (2556). ความเห็นฉบับเต็ม บันทึกสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเรื่อง ข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... (ปรับปรุงกฎหมายลักษณะละเมิด) เรื่องเสร็จที่ 928/2556. สืบค้นเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2562,จากhttp://app-thca.krisdika.go.th/Naturesig/CheckSig?whichLaw
=cmd&year=2556&lawPath=c2_0928_2556
EUR-Lex. Regulation (EU) No 576/2013 of The European Parliament and of The Council of 12 June 2013 on the non-commercial movement of pet animals and repealing Regulation (EC) No 998/2003. (Text with EEA relevance). Retrieved March 18,2019, from https://eur-lex.europa.eu/eli/reg/2013/576/oj
Government of Western Australia Department of Justice Parliamentary Counsel’s Office. Dog Act 1976. Retrieved May 22,2019, from https://www.legislation.wa.gov
.au/legislation/statutes.nsf/law_a230.html
Government of Western Australia Department of Justice Parliamentary Counsel’s Office. Dog Regulations 2013. Retrieved May 22,2019, from https://www.legislation.wa.gov.au/
legislation/statutes.nsf/main_mrtitle_13105_homepage.html
Legislation.gov.uk. Dangerous Dogs Act 1991. Retrieved February 22,2019, from http://www.legislation.gov.uk/ukpga/1991/65/contents
Legislation.gov.uk. The Animal Welfare (licensing of activities involving animals) (England) Regulation 2018. Retrieved February 22,2019, from https://www.legislation
.gov.uk/ukdsi/2018/9780111165485
National Law Information Center. Animal Protection Act. Retrieved April 10,2020, from http://www.law.go.kr/LSW/eng/engLsSc.do?menuId=2§ion=lawNm&query=Animal+Protection+Act&x=0&y=0#liBgcolor0
Singapore Statutes Online. Animals and Birds (Dog Licensing and Control) Rules. Retrieved March 1, 2019, from https://sso.agc.gov.sg/SL/ABA1965-R1?DocDate=20170131&Valid
Date=20180201
Singapore Statutes Online. Miscellaneous Offences (Public Order and Nuisance) Act. Retrieved March 1, 2019, from https://sso.agc.gov.sg/Act/MOPONA1906