ปัญหาทางกฎหมายในการนำพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์มาใช้ ในการดำเนินคดีของพนักงานสอบสวน

ผู้แต่ง

  • อัญชิสา จิตราภิรมย์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม

คำสำคัญ:

พยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์, การดำเนินคดีของพนักงานสอบสวน, ปัญหาทางกฎหมาย

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเป็นมา แนวคิด ทฤษฎี ที่เกี่ยวข้องกับการนำพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์มาใช้ในการดำเนินคดีของพนักงานสอบสวน และมาตรการตรวจเก็บพยานหลักฐานโดยวิธีทางวิทยาศาสตร์ตามกฎหมายไทยและกฎหมายต่างประเทศ เพื่อวิเคราะห์ปัญหาทางกฎหมายในการนำพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์มาใช้ในการดำเนินคดีของพนักงานสอบสวน และหาแนวทางในการปรับปรุงพัฒนากฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการรวบรวมพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์

ผลการศึกษาพบว่า การใช้ดุลพินิจในการเลือกพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์เข้ามาในสำนวนสอบสวนนั้น ได้กำหนดให้เป็นอำนาจของพนักงานสอบสวนผู้รับผิดชอบ โดยเฉพาะแต่พนักงานสอบสวน ซึ่งมิใช่ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติวิทยาศาสตร์ อาจทำให้เกิดความคลาดเคลื่อนในการใช้ดุลพินิจรวบรวมพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ได้ ก็ย่อมส่งผลเสียต่อการอำนวยความยุติธรรม อีกทั้งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 131/1 วรรคสอง กำหนดให้ความผิดอาญาที่มีอัตราโทษจำคุกอย่างสูงเกินสามปีต้องชันสูตรพลิกศพเท่านั้น ดังนั้นจะเห็นได้ว่ากฎหมายเกี่ยวกับการนำพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์มาใช้ในการดำเนินคดีของพนักงานสอบสวนมีปัญหาการรวบรวมพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์อยู่หลายประการจึงต้องศึกษาเพื่อหาแนวทางในการปรับปรุงพัฒนาต่อไป 

ข้อเสนอแนะ จากการศึกษาจึงได้เสนอแนวทางในการปรับปรุงแก้ไขประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 131/1 วรรคสอง ตลอดจนระเบียบเกี่ยวกับคดีของสำนักงานตำรวจแห่งชาติในส่วนที่เกี่ยวกับการใช้ดุลพินิจของพนักงานสอบสวนในการรวบรวมพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์เข้าไว้ในสำนวนการสอบสวน เพื่อที่จะให้มาตรการค้นหาความจริงในการอำนวยความยุติธรรมทางอาญาเป็นไปอย่างเหมาะสมและมีประสิทธิภาพ

References

กมลชัย รัตนสกาวงศ์. (2537). พื้นฐานความรู้กฎหมายปกครองเยอรมัน. กรุงเทพฯ: นิติธรรม.

เกรียงไกร เจริญวัฒนาวัฒน์. (2547). หลักกฎหมายว่าด้วยสิทธิและเสรีภาพ. กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

เกียรติขจร วัจนะสวัสดิ์. (2549). กฎหมายอาญา ภาค 1 บทบัญญัติทั่วไป. (พิมพ์ครั้งที่ 9). กรุงเทพฯ: จิรรัชการพิมพ์.

เข็มชัย ชุติวงศ์. (2557). คำอธิบายกฎหมายลักษณะพยาน. (พิมพ์คร้ังที่ 9). กรุงเทพฯ: สำนักอบรมศึกษาแห่งเนติบัณฑิตยสภา.

คณะวิทยาศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์เสนอต่อสถาบันวิจัยรพีพัฒนศักดิ์. (2559). การพัฒนาแนวทางการรับฟังพยานหลักฐานทางนิติวิทยาศาสตร์เพื่อพิสูจน์ความจริงในคดี. รายงานการวิจัย. สำนักงานศาลยุติธรรม.

จักรพงษ์ วิวัฒน์วานิช. (2551). หลักและทฤษฎีการสอบสวน. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: พิมพ์อักษร.

จิตติ ติงศภัทิย์. (2552). ข้อสังเกตในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานและการเขียนคำพิพากษา . (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ: วิญญูชน.

ฉาดฉาน แต่งประณีต. (2557). การใช้อำนาจแสวงหาพยานหลักฐานจากร่างกายของผู้ถูกกล่าวหา: ศึกษาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 131/1. (วิทยานิพนธ์นิติศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ณัฐ ตันศรีสวัสดิ์ และชินวัต สุวรรณทิพย์. (2552). การรับฟังพยานหลักฐานทางวิทยาศาสตร์. เข้าถึงได้จาก: http://thailis-db.car.chula.ac.th/CU_DC/Journal/JournalDec2006/nov1.pdf.

มติชนออนไลน์. (2562). คดีฆาตกรรม 2 นักท่องเที่ยวชาวอังกฤษที่เกาะ. เข้าถึงได้จาก: https://www.matichon.co.th/local/crime/news_1646620.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-12-2020

ฉบับ

บท

บทความวิจัย