สิทธิว่าด้วยความเป็นบิดามารดาในทัศนะพุทธจริยศาสตร์

ผู้แต่ง

  • พระเจริญพงษ์ วิชัย มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหาสาทร บุญชุยา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหาวีรธิษณ์ อินทโพธิ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระมหาศุภวัฒน์ บุญทอง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

สิทธิ, ความเป็นบิดามารดา, พุทธจริยศาสตร์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์   1) เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาทางสังคมที่มีสาเหตุมาจากการละเลยสิทธิความเป็นบิดามารดา 2) เพื่อศึกษาปัญหาความขัดความขัดแย้งของครอบครัว 3) เพื่อเสนอสิทธิความเป็นบิดามารดาตามหลักพุทธจริยศาสตร์ วิเคราะห์สังเคราะห์ข้อมูลภายใต้วิธีคิด 3 รูปแบบ คือ 1) การคิดแบบแยกแยะส่วนประกอบ หรือกระจายเนื้อหา 2) วิธีคิดแบบอรรถสัมพันธ์ หรือคิดตามหลักการและจุดมุ่งหมาย 3) วิธีคิดแบบคุณโทษและทางออก แล้วเขียนบรรยายเชิงพรรณนา

                ผลการศึกษา พบว่า ค่านิยมสิทธิทางเพศที่เปลี่ยนแปลงไปก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ทางสังคมที่มีสาเหตุมากจากการละเลยสิทธิความเป็นบิดามารดา แนวทางตามหลักพุทธจริศาสตร์ที่เป็นทางออกของปัญหาเหล่านี้ ได้แก่ หลักศีล เป็นข้อกำหนดเบื้องต้นว่าด้วยความพร้อมของผู้ที่จะเป็นบิดามารดา และหลักธรรมว่าด้วยสิทธิความเป็นบิดามารดา มุ่งชี้ให้ตระหนักเห็นความสำคัญของความเป็นบิดามารดา กำหนดหลักปฏิบัติที่พึงกระทำต่อกันระหว่างบุตรธิดากับบิดามาดา

References

กรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพ กระทรวงยุติธรรม. (2556). บทวิเคราะห์ข้อมูล สถานการณ์ และเชื่อมโยงเพื่อวางทิศทางแผนสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ ฉบับที่ 3 (พ.ศ. 2557–2561). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์คณะรัฐมนตรีและราชกิจจานุเบกษา.

คณะกรรการส่งเสริมและประสานงานสตรีแห่งชาติ. นโยบายและแผนงานในการพัฒนาสถาบันครอบครัว. สืบค้น 5 มีนาคม 2563. จาก http://www.owf.go.th/wofa/

ชาย โพธิสิตา. (2554). การเปลี่ยนแปลงครอบครัวและครัวเรือนไทย : เรา (ไม่) รู้อะไร. สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล.

นิเวศน์ วงศ์สุวรรณ. (2550). จริยศาสตร์. กรุงเทพฯ: ศูนย์ส่งเสริมวิชาการ.

พุทธทาสภิกขุ. (2542). สรรนิพนธ์พุทธทาส ว่าด้วย : สตรี ในฐานะมารดาของโลก. กรุงเทพฯ: กลุ่มพุทธทาสศึกษา มูลนิธิเมตตาธรรมรักษ์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2537). คุณบิดามารดาสุดพรรณนามหาศาล. (พิมพ์ครั้งที่ 17). กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สุขภาพใจ.

มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

วิไลลักษณ์ วงศ์อาษา. (2558). ปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศในวัยรุ่นหญิง : กรณีศึกษามหาวิทยาลัยแห่งหนึ่ง. วารสารสาธารณสุขศาสตร์, 3 (3), 285.

สถาบันครอบครัวไทย. การฝึกวินัยให้ลูก-การอบรมบ่มนิสัยอย่างจริงจังของพ่อแม่. สืบค้น 2กุมภาพันธ์ 2563. จาก http:// www.thisisfamily.org

Downloads

เผยแพร่แล้ว

26-12-2020

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ