รัฐ ราษฎร์ บนฐานการสร้างความพึงพอใจและความไว้ใจ

ผู้แต่ง

  • พระปลัดวัชรพงษ์ วชิรปญฺโญ วิทยาลัยสงฆ์นครน่าน เฉลิมพระเกียรติฯ

คำสำคัญ:

รัฐบาล, ราษฎร, ความพึงพอใจ, ความไว้ใจ.

บทคัดย่อ

รัฐประชาธิปไตยที่มีฝ่ายผู้ปกครองกับผู้ถูกปกครองเป็นสิ่งที่คู่ขนานตามความคาดหวังซึ่งกันและกัน ทั้งสองฝ่ายต่างก็ต้องปฏิบัติงานและปฏิบัติตนตามครรลองครองธรรมตามขอบเขตอำนาจตามกฎหมายรัฐธรรมนูญของประเทศนั้นๆ สังคมไทยปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข ที่มีหัวหน้ารัฐบาลการปกครอง คือ นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีเป็นผู้ทำหน้าที่ในการบริหารและปกครองประเทศอันเป็นตัวแทนตามความคาดหวังของประชาชนที่ได้คัดเลือกให้ไปทำหน้าที่แทนประชาชนชาวไทยทั้งประเทศย่อมต้องสำเหนียกและสร้างความพึงพอใจให้กับประชาชนให้มากที่สุด รวมทั้งการสร้างพลังแห่งความไว้ใจทั้งมวลเพื่อยกระดับความไว้ในการใช้อำนาจรัฐอย่างเท่าเทียม ยุติธรรม เสมอภาคกันทั้งหมด ด้วยการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพอย่างสูงสุด เปิดโอกาสการมีส่วนร่วมในกิจกรรมของรัฐ การส่งเสริมการแสดงออกอย่างถูกต้องเหมาะสมของประชาชน การสร้างระบบข้อมูลข่าวที่ไม่บิดเบือนจากข้อเท็จจริง แสดงออกทางพฤติกรรมการยอมรับในความผิดพลาดที่เกิดขึ้น และพิจารณากฎหมายต่างๆ อย่างเป็นธรรมเพื่อคนส่วนใหญ่และส่วนน้อย ฝ่ายประชาชนผู้ถูกปกครองจะต้องมีค่านิยมที่ดีงาม เชื่อถือ เชื่อมั่น ไว้วางใจและส่งเสริมเข้ามาส่วนร่วมในทุกๆ กิจกรรมของรัฐด้วยการปฏิบัติตามข้อกฎหมายต่างๆ การเสนอความคิดเห็นผ่านช่องทางต่างๆ สะท้อนความเดือนร้อนอย่างบริสุทธิ์ใจ รับรู้ข่าวสารบ้านเมืองอย่างมีเหตุผล และเคารพการตัดสินใจของรัฐบาล

References

กลุ่มงานผลิตเอกสาร สำนักประชาสัมพันธ์. (2555). พลเมืองในระบอบประชาธิปไตย. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

ธนโรจน์ หล่อธนะไพศาล. (2558). “ความชอบธรรมทางประชาธิปไตยของอำานาจฝ่ายนิติบัญญัติ : กรณีพิจารณาในเชิงกระบวนการประชาธิปไตย (Procedural approaches)”. รัฐสภาสาร. ปีที่ 63. เล่มที่ 7. (กรกฎาคม 2558) : 31.

พงศธร ไชยเสน. (มปป.). การพัฒนาระบอบประชาธิปไตยให้มั่นคงและยั่งยืน. หลักสูตรหลักนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย รุ่นที่ 3. สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

พงศ์ศักติฐ์ เสมสันต์. (มปป.). การเป็นพลเมืองที่ดีตามวิถีประชาธิปไตย. วิทยาลัยรัฐธรรมนูญ สถาบันรัฐธรรมนูญศึกษา สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

สมชาย แสวงการ. (มปป.). สร้างความเป็นพลเมืองไทยในระบอบประชาธิปไตย. หลักสูตรหลักนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย รุ่นที่ 3. วิทยาลัยรัฐธรรมนูญ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

สมัคร เชาวภานันท์. (มปป.). ระบอบประชาธิปไตย. หลักสูตรหลักนิติธรรมเพื่อประชาธิปไตย รุ่นที่ 4.วิทยาลัยรัฐธรรมนูญ สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ.

สำนักวิชาการ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2560). สาระสำคัญรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560. สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

สำนักประชาสัมพันธ์สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร. (2555). พลเมืองในระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพมหานคร : สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

วิไลพร อุ่นเจ้าบ้าน, พระปลัดสมชาย ปโยโค, พระมหาทวี มหาปญฺโญ และ จำนงค์ อดิวัฒนสิทธิ์. (2562). การเสริมสร้างสุขภาวะชุมชนด้วยอปัณณกปฏิปทา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 7(1), 57-69.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

18-09-2020

ฉบับ

บท

บทความวิชาการ